1

JusThat

ลูกค้าเอาของไปแล้วไม่จ่ายเงิน ผิดสัญญาทางแพ่งหรือฉ้อโกง

ยุคนี้ใคร ๆ ก็ต้องขยันให้มากขึ้น และสำหรับร้านค้าแล้วนอกจากจะมีการซื้อขายกันแบบปกติแล้ว ก็อาจมีการให้เอาของไปก่อนแล้วจ่ายทีหลัง ถึงจะกลัวลูกค้าเอาของไปแล้วไม่จ่ายเงินก็ตาม หรือทางฝั่งลูกค้าเองก็อาจมีเงินไม่พอ จึงตกลงกับร้านค้าว่าจะซื้อก่อนแล้วจ่ายทีหลัง เดี๋ยวกลับบ้านไปเอาเงินมาให้ หรือจะโอนให้นะ ตกลงกันเสร็จก็ขนของออกจากร้านไป  พ่อค้าแม่ค้าก็มีเพียงคำสัญญาที่ลูกค้าทิ้งไว้ให้ หรือโชคดีหน่อยก็มีมัดจำที่เก็บจากลูกค้าได้ส่วนหนึ่ง

ปรากฎว่าลูกค้าก็เอาเงินมาจ่ายแต่จ่ายไม่ครบ เพราะมีเงินไม่พอต้องเอาไปใช้อย่างอื่นก่อน จึงตกลงให้เลื่อนจ่ายไปก่อน แต่ลูกค้าก็ยังหามาจ่ายตามที่ตกลงไม่ได้อยู่ดี กรณีนี้จะเป็นการทำผิดสัญญาซื้อขาย

ซึ่งเป็นเรื่องของการรับผิดทางแพ่ง ผู้ขายจะต้องฟ้องคดีแพ่งต่อศาลด้วยตัวเอง โดยมีอายุความ 10 ปี เริ่มนับตั้งแต่วันที่มีการผิดสัญญาเกิดขึ้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 453 ที่ระบุว่า “การซื้อขาย คือ สัญญาซึ่งบุคคลฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ขายโอนกรรมสิทธิ์แห่งทรัพย์สินให้แก่บุคคลอีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่าผู้ซื้อ และผู้ซื้อตกลงว่าจะใช้ราคาทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ขาย”

ลูกค้าเอาของไปแล้วไม่จ่ายเงินถือว่าลูกค้าผิดสัญญาซื้อขาย

เมื่อลูกค้าเอาของไปแล้วไม่จ่ายเงิน ลูกค้าจึงเป็นฝ่ายผิดสัญญา ผู้ขายก็มีสิทธิฟ้องเรียกค่าสินค้าได้ และคดีมโนสาเร่ที่มีจำนวนทุนทรัพย์ไม่เกิน 300,000 บาท ผู้ขายสามารถนำคดีไปฟ้องต่อศาลแขวงในเขตพื้นที่ที่มีการทำสัญญาซื้อขายกันได้ หากในพื้นที่ที่ทำสัญญากันไม่มีศาลแขวงก็สามารถนำคดีไปฟ้องต่อศาลจังหวัดได้ โดยต้องฟ้องภายในอายุความ ไม่อย่างนั้นลูกค้าก็จะมีสิทธิยกข้อต่อสู้เรื่องอายุความขึ้นมาเพื่อปฎิเสธการชำระหนี้ได้

แต่ถ้าลูกค้าไม่นำเงินมาจ่ายตามที่ตกลงกัน แถมเงียบหายไปเลย โทรไปตามเบอร์ที่ให้ไว้ก็ปิดเครื่องหนี รอแล้วรอเล่าก็ไม่มีการติดต่อกลับมา หากเป็นกรณีแบบนี้ก็เป็นไปได้ว่าลูกค้ามีเจตนาฉ้อโกง ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ลูกค้าฉ้อโกง เอาของไปไม่จ่ายเงิน แจ้งความได้

เมื่อพบว่าพฤติกรรมของลูกค้าที่เอาของไปเป็นการหลอกลวง มาทำให้หลงผิดจนเชื่อแล้วยอมให้ของไปและหนีหายไปเลย คนขายสามารถแจ้งความดำเนินคดีอาญาได้ภายใน 3 เดือน หรือไม่อยากแจ้งความก็จะต้องฟ้องศาลด้วยตัวเองภายใน 3 เดือนเช่นกันนะ เพราะความผิดฐานฉ้อโกง เป็นความผิดที่ยอมความกันได้ 

หากไม่รีบดำเนินการตามระยะเวลาที่กำหนดจะถือว่าคดีขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 ที่ระบุว่า “ภายใต้บังคับมาตรา 95 ในกรณีความผิดอันยอมความได้ ถ้าผู้เสียหายมิได้ร้องทุกข์ภายในสามเดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ”

แต่ถ้าเคยแจ้งความไว้นานแล้วแต่คดีไม่คืบหน้า ติดต่อพนักงานสอบสวนไปทีไรก็ได้คำตอบว่ากำลังดำเนินการทุกที ยังทำไม่เสร็จเพราะคดีล้นมือ หรือยังตามตัวอีกฝ่ายมาไม่ได้ หรือส่งสำนวนให้อัยการพิจารณาสั่งฟ้องแล้ว แต่ถูกตีกลับมาทำให้ต้องเริ่มทำสำนวนใหม่อีกรอบ เมื่อมีการแจ้งความคดีฉ้อโกงแล้ว อายุความจะเปลี่ยนจาก 3 เดือน เป็น 10 ปี แปลว่าพนักงานอัยการจะสามารถฟ้องคดีต่อศาลได้ภายใน 10 ปีนั่นเอง

คดีฉ้อโกง ต้องแจ้งความหรือฟ้องศาลภายใน 3 เดือน

หรือแจ้งความแล้วรอนานเกินไปจนไม่อยากรอแล้ว ไปฟ้องศาลด้วยตัวเองดีกว่า โดยนำเรื่องไปยื่นฟ้องต่อศาลได้ภายใน 10 ปีเช่นกัน แต่จะมีขั้นตอนการฟ้องคดีอาญาที่แตกต่างกันกับอัยการเป็นผู้สั่งฟ้องเล็กน้อย นั่นก็คือ คดีที่ประชาชนเป็นผู้ยื่นฟ้องศาลเองจะต้องมีการใต่สวนมูลฟ้องก่อนประทับรับฟ้อง แต่หากเป็นคดีที่อัยการยื่นฟ้อง ศาลไม่จำเป็นต้องใต่สวนมูลฟ้องก่อน เพราะคดีที่อัยการเป็นโจทก์นั้นได้ผ่านการสอบปากคำ ค้นหาพยานหลักฐาน รวบรวมรายละเอียดต่าง ๆ มาจากชั้นพนักงานสอบสวนและอัยการแล้ว

มาตรา 95 ในคดีอาญา ถ้ามิได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลภายในกำหนดดังต่อไปนี้ นับแต่วันกระทำความผิด เป็นอันขาดอายุความ

(1) 20 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุก 20 ปี

(2) 15 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 7 ปี แต่ยังไม่ถึง 20 ปี

(3) 10 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า 1 ปี ถึง 7 ปี

(4) 5 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกกว่า1 เดือน ถึง 1 ปี

(5) 1 ปี สำหรับความผิดต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 1 เดือนลงมาหรือต้องระวางโทษอย่างอื่น

ถ้าได้ฟ้องและได้ตัวผู้กระทำความผิดมายังศาลแล้ว ผู้กระทำความผิดหลบหนีหรือวิกลจริต และศาลสั่งงดการพิจารณาไว้จนเกินกำหนดดังกล่าวแล้วนับแต่วันที่หลบหนีหรือวันที่ศาลสั่งงดการพิจารณา ก็ให้ถือว่าเป็นอันขาดอายุความเช่นเดียวกัน

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »