1

JusThat

เช็คเด้ง
แบบไหนเข้าข่ายว่าทำผิด

“แจ้งความเช็คเด้งแน่ถ้าไม่ยอมหาเงินมาจ่าย” หลาย ๆ คนเคยได้รับเช็คมาไม่ว่าจะจากคนรู้จักให้ยืมเงิน ลูกค้าออกเช็คเพื่อจ่ายค่าสินค้าหรือบริการ แล้วต้องนำไปขึ้นเงินที่ธนาคารเพื่อเบิกจ่ายเงินตามจำนวนที่ระบุไว้ในเช็ค แต่พอขึ้นเงินแล้วธนาคารสั่งจ่ายให้ไม่ได้ คุณกำลังเจอ “เช็คเด้ง” เข้าแล้ว เจอแบบนี้ โมโหก็โมโห อยากจะแจ้งความดำเนินคดีเช็คเด้งซะให้เข็ด แต่ต้องเช็คให้แน่ใจก่อนว่าจะสามารถแจ้งความคดีอาญาได้ เพราะคนออกเช็คจะมีความผิดอาญาตามพ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 จะต้องเข้าข่าย 4 ข้อนี้

  • ออกเช็คเพื่อชำระหนี้
  • ซึ่งหนี้นั้นมีอยู่จริง
  • และบังคับเรียกได้ตามกฎหมาย
  • ผู้ออกเช็คมีเจตนาไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็ค

 

ถ้าไม่ครบทั้ง 4 ข้อจะไม่มีความผิดอาญา เช่น ออกเช็คเพื่อค้ำประกันเงินกู้แล้วเช็คเด้ง ออกเช็คเพื่อจ่ายหนี้แต่ยังไม่ขึ้นเงินเลยเอาเงินสดจ่ายแทนไปแล้วเช็คเด้ง ออกเช็คเพื่อจ่ายหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่เกิน 15% ต่อปีแล้วเช็คเด้ง ออกเช็คเพื่อจ่ายหนี้พนันแล้วเช็คเด้ง เป็นต้น

อ่านถึงตรงนี้หลายคนก็อาจสงสัยว่า พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 ถูกยกเลิกไปแล้ว ทำไม JusThat ยังคงแนะนำหลักกฎหมายเดิมอยู่

จากข่าว ครม.มีมติยกเลิก พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค เมื่อเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2565 ที่ผ่านมา อาจทำให้ใครหลายคนเกิดความสับสนว่า พ.ร.บ.เช็ค ถูกยกเลิกใช้ไปเรียบร้อยแล้ว แต่ความจริงนั้น ณ ปัจจุบันยังไม่มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่องยกเลิกพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 

เมื่อยังไม่การประกาศก็เท่ากับว่ายังไม่มีกฎหมายออกมาบังคับใช้ นั่นก็แปลว่าหากมีการทำความผิดเกี่ยวกับการใช้เช็ค ในระหว่างการเสนอร่าง พ.ร.บ.เช็ค คนทำความผิดก็จะต้องรับโทษตามกฎหมายฉบับเดิมนั่นเอง (อัปเดตข้อมูล วันที่ 6 ธันวาคม พ.ศ.2565)

คดีเช็คเด้ง

เช็คเด้ง
รับมาแล้วต้องทำยังไง

ติดต่อขอรับเช็คมาสด ๆ ร้อน ๆ ระบุจำนวนหนี้เรียบร้อย แต่กลับขึ้นเงินไม่ได้ เจอแบบนี้ให้รีบไปแจ้งความดำเนินคดีต่อพนักงานสอบสวน เพราะมีอายุความ 3 เดือน นับตั้งแต่วันที่เช็คเด้ง โดยไปที่สถานีตำรวจท้องที่ที่สาขาเช็คตั้งอยู่ภายใน 3 เดือน เช่น นาย B สั่งจ่ายเช็คธนาคารกสิกรไทย สาขาเซนทรัล ภูเก็ตให้นาย A นาย A นำเช็คมาขึ้นเงินที่ธนาคารกสิกรไทย สาขาเซนทรัล ลาดพร้าวและเช็คเด้ง นาย A จะต้องแจ้งความดำเนินคดีเช็คเด้งที่จังหวัดภูเก็ต

ตัวอย่าง “เช็คเด้งแน่นอน” เช่น

  • ไม่มีเงินในบัญชี ขณะที่ออกเช็คให้เรา
  • เงินในบัญชีไม่พอ เขียนเช็ค 2 ล้าน แต่ในบัญชีมีอยู่ 2 พัน
  • ถอนเงินทำให้เงินในบัญชีไม่พอ เขียนเช็คมาให้ แต่รีบไปถอนเงินออกจนหมด
  • ใช้เช็คโดยมีเจตนาทุจริต ซื้อสิ่งผิดกฎหมาย หรือธุรกรรมที่ผิดกฎหมาย
คดีเช็คเด้ง

เช็คเด้ง
ฟ้องศาลอาจได้เงินคืนเร็วกว่า

แจ้งความดำเนินคดีเช็คเด้งไปแล้วแต่คดีไม่คืบหน้า อาจเป็นเพราะพนักงานสอบสวนมีคดีลำดับก่อนหน้าที่ต้องทำก่อนไปตามลำดับ รวมทั้งขั้นตอนการดำเนินคดีอาญาที่ต้องใช้เวลาในการรวบรวมพยาน หลักฐานที่ซับซ้อนและละเอียดอ่อน เพราะหากไม่ดำเนินการอย่างรอบคอบอาจถูกตีกลับสำนวนคดี ทำให้ต้องเริ่มทำใหม่ทั้งหมดคดีที่ทำอยู่ทั้งหมดก็จะมีความล่าช้ามากขึ้นไปอีก

หากคดีขาดอายุความไปแล้วก็ยังฟ้องคดีแพ่งได้ โดยฟ้องแพ่งผิดสัญญาตั๋วเงิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 900  ซึ่งมีอายุความ 1 ปีนับแต่วันที่ลงในเช็ค ถ้าเกิน 1 ปีคดีแพ่งขาดอายุความ ต้องเปลี่ยนไปฟ้องคดีตามมูลหนี้จริง เช่น ตามสัญญาซื้อขาย สัญญากู้ยืมเงิน ซึ่งมีอายุความ 10 ปีนับแต่วันผิดสัญญา

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

เช็คเด้ง
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

หากมั่นใจแล้วว่าคนเซ็นเช็คตั้งใจไม่ให้มีการใช้เงินเพื่อจ่ายหนี้จริง ๆ สามารถดำเนินคดีได้เลย ซึ่งผิดกฎหมายข้อไหน อย่างไรมาดูกัน

1. ผิดกฎหมายแพ่งว่าด้วยตั๋วเงิน

โดยในประมวลกฎหมายแพ่งและพานิชย์ มาตรา 900 ได้ระบุไว้ว่า “บุคคลผู้ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินย่อมจะต้องรับผิดตามเนื้อความในตั๋วเงินนั้น ถ้าลงเพียงแต่เครื่องหมายอย่างหนึ่งอย่างใด เช่น แกงไดหรือลายพิมพ์นิ้วมืออ้างเอาเป็นลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไซร้ แม้ถึงว่าจะมีพยานลงชื่อรับรองก็ตาม ท่านว่าหาให้ผลเป็นลงลายมือชื่อในตั๋วเงินนั้นไม่”

เพราะฉะนั้นสามารถยื่นฟ้องจากลายมือชื่อผู้ที่เซ็นจ่ายเช็คได้เลย เรียกว่าการฟ้องผู้รับรองตั๋วแลกเงิน ผู้ออกตั๋วสัญญาใช้เงิน ซึ่งมีกำหนด 3 ปีนับแต่วันตั๋วถึงกำหนด

2. ผิดกฎหมายอาญาตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 

ในมาตรา 4 ระบุไว้ว่า ผู้ใดออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริงและบังคับได้ตามกฎหมายโดยมีลักษณะหรือมีการกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. เจตนาที่จะไม่ให้มีการใช้เงินตามเช็คนั้น
  2. ในขณะที่ออกเช็คนั้นไม่มีเงินอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้
  3. ให้ใช้เงินจำนวนสูงกว่าจำนวนเงินที่มีอยู่ในบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินได้ในขณะที่ออกเช็คนั้น
  4. ถอนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนออกจากบัญชีอันจะพึงให้ใช้เงินตามเช็คจนจำนวนเงินเหลือไม่เพียงพอที่จะใช้เงินตามเช็คนั้นได้
  5. ห้ามธนาคารไม่ให้ใช้เงินตามเช็คนั้นโดยเจตนาทุจริต

เมื่อได้มีการยื่นเช็คเพื่อให้ใช้เงินอันชอบด้วยกฎหมาย ถ้าธนาคารปฎิเสธไม่ให้ใช้เงินตามเช็คนั้น ผู้ออกเช็คมีความผิดต้องระวางโทษปรับไม่เกิน 60,000บาท หรือจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือทั้งปรับทั้งจำ    

แต่คดีเช็คเด้งที่มีความผิดทางอาญาตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค ฯ เป็นความผิดที่สามารถยอมความได้ หรือถ้าผู้จ่ายเช็คนำเงินมาชำระครบถ้วน ก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ถือว่าคดีสิ้นสุดกันก็ไม่ต้องรับโทษทางอาญา

JusThat – รู้โอกาสแพ้ชนะ
ฟ้องแล้วคุ้ม? ภายใน 5 นาที

1

Bangkok, Thailand 
Line @justhatapp