1

JusThat

หมิ่นประมาท
แบบไหนถึงเข้าข่ายว่าทำผิด

“ไม่จริงตรงไหนเอาปากกามาวง” แม้จะวงความจริงจนไม่เหลือพื้นที่ว่าง แต่คนถูกกล่าวถึงเสียหายก็เข้าข่ายหมิ่นประมาท การแสดงความคิดเห็น พูดคุยกันเป็นกิจกรรมปกติของมนุษย์และเป็นเสรีภาพที่มนุษย์ทุกคนสามารถทำได้ ไม่ว่าจะผ่านการพูด เขียน ภาพวาด หรือในรูปแบบใดก็ตาม แต่บางครั้งคุณอาจกำลัง “ทำให้ผู้อื่นเสียหาย”

คุณอาจคิดว่าเม้ามอยกันในกลุ่มไลน์เฉย ๆ แต่หารู้ไม่ว่าการคุยพาดพิงถึงคนอื่น อาจทำให้ถูกดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทได้

  • ชัดเจนว่ากำลังพูดถึงใคร
  • มีบุคคลที่ 3 เสียหาย ไม่ว่าจะเป็น เสื่อมเสียชื่อเสียง ทำให้ถูกเกลียดชัง หรือถูกดูหมิ่น
  • บุคคลที่ 3 รับรู้ ไม่ว่าจะอยู่ต่อหน้า ผ่านแชท โทรคุย ติดประกาศ หรือโพสต์ไว้ตามสื่อต่าง ๆ 
  • พาดพิงถึงบุคคลที่ 3 ไม่ว่าจะเป็นการใส่ความตรงๆ หรือพาดพิงแบบอ้อมๆ

และหากโพสต์ในสื่อออนไลน์ แปะประกาศหรือโฆษณาที่ทำให้คนส่วนมากในสังคมเข้าถึงได้ และมีโอกาสที่จะถูกเผยแพร่ออกไปอย่างรวดเร็ว จะเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาและอาจมีความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการกระทำความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 และที่แก้ไขเพิ่มเติมอีกด้วย

หมิ่นประมาท
พูดเรื่องจริงผิดหรือไม่

หลายคนอาจเคยได้รับการบอกเล่ามาว่าพูดเรื่องจริง โพสต์เพื่อเตือนภัยคนอื่น เช่น โดนโกง แย่งแฟนคนอื่น หรือ “ตามน้ำ ตามกระแส” ตามที่ทุกคนก็พูดกัน น่าจะไม่เป็นไรทำได้ไม่มีความผิด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิดและทำให้หลายคนถูกดำเนินคดีเพราะแบบนี้

อาจจะไม่เข้าข่ายว่าผิด หากมีครบทั้ง 4 ข้อนี้

  1. ที่กล่าวหาเป็นเรื่องจริง มีหลักฐานพิสูจน์ได้
  2. เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
  3. ไม่ใช่การใส่ความเรื่องส่วนตัว เช่น ชู้สาว ทุจริต รับสินบน
  4. ต้องไม่ผิดกฎหมายข้ออื่น
 
ตัวอย่างเช่น ไปบอกชาวบ้านว่า นาง B เป็นเมียน้อย หรือ นาย Z โพสต์คลิปนาย Y กำลังทำงานแล้วใส่ข้อความว่า “ทุจริต เด้งไปดิ” ไม่ว่านาง B จะเป็นเมียน้อย หรือนาย Z จะทุจริตหรือไม่ แต่ยังถือเป็นการกล่าวหาบุคคลที่สาม สร้างความเสียหาย และถือเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัวที่ไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน
คดีหมิ่นประมาท

นอกจากโทษทางอาญาแล้ว ผู้ถูกกล่าวยังเรียกค่าเสียหายทางแพ่งได้ ซึ่งจะต้องสามารถเกิดขึ้นจริงได้แต่ยังไม่เกิดขึ้น เช่นกล่าวหาว่า “อี A ขโมยโทรศัพท์คนอื่นมา” แต่นางสาว A ไม่ได้ขโมยมา ทำให้มีค่าเสียหายที่นางสาว A อาจจะต้องเสีย (ค่าโทรศัพท์ที่ถูกหาว่าไปขโมยมา)

แต่ไม่ว่าการกล่าวหานั้นจะเป็นความจริงหรือไม่มีทางเป็นจริงในโลกนี้ได้เลย ไม่ได้แปลว่าคนกล่าวหาจะหลุดจากการต้องจ่ายค่าเสียหาย เช่น โพสต์คลิปคนอื่นที่กำลังมีเพศสัมพันธ์กัน ถึงไม่ผิดหมิ่นประมาททางแพ่ง แต่มีความผิดฐานละเมิดทำให้ผู้อื่นเสื่อมเสียชื่อเสียงตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ต้องจ่ายค่าเสียหาย หรือ ด่าคนอื่นว่า “อีควาย” “อีเหี้ย” แบบนี้ไม่เป็นหมิ่นประมาททางแพ่ง เพราะคนไม่สามารถเป็นสัตว์ได้ แต่มีความผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 420 ต้องจ่ายค่าเสียหายและมีความผิดอาญาข้อหาดูหมิ่นซึ่งหน้าตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 393

ดังนั้นก่อนจะด่าหรือประจานใคร ควรใจเย็น ๆ ก่อน ถ้าข้อมูลที่มีอยู่เกี่ยวข้องกับการทำความผิดให้นำไปเป็นหลักฐานในการดำเนินคดีดีกว่านำออกมาประจาน เพราะนอกจากกฎหมายจะไม่ช่วยแล้วอาจถูกคู่กรณีฟ้องทั้งทางแพ่งและอาญาอีกด้วย

หมิ่นประมาท
โดนด่าเสียหายต้องทำยังไง

คดีหมิ่นประมาทมีอายุความ 3 เดือน นับจากวันที่รู้ตัวว่าเสียหาย ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความได้ หากต้องการเอาผิดต้องรีบดำเนินการ สำคัญที่สุดคือต้องรู้ว่าเราจะดำเนินคดีกับใคร

วิธีที่ 1 : แจ้งความดำเนินคดี

ถ้าไม่มีหลักฐานทางแชท อาจใช้บุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์มาเป็นพยานแทนได้ แล้วรีบแจ้งความดำเนินคดีก่อนหมดอายุความ เมื่ออัยการสั่งฟ้องก็สามารถยื่นขอเข้าเป็นโจทก์ร่วมและร้องขอให้มีการจ่ายค่าเสียหายได้  แต่ถ้าแจ้งความแล้วเรื่องเดินช้า ไม่ได้ฟ้องซะที ยังสามารถฟ้องความอาญาตรงไปที่ศาลได้ภายใน 10 ปี

วิธีที่ 2 : ฟ้องอาญาตรงไปที่ศาล พร้อมเรียกค่าเสียหายทางแพ่งเพิ่ม

จะเป็นการประหยัดเวลาและมีความครอบคลุมในการจัดเก็บหลักฐาน และควรได้รับคำแนะนำจากทนายความที่มีความเชี่ยวชาญ เนื่องจากการเก็บพยาน หลักฐานคดีหมิ่นประมาทมีความละเอียดอ่อน โดยเฉพาะจากสื่อโซเชี่ยลที่มีรายละเอียดค่อนข้างเยอะ และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448 กำหนดอายุความไว้ 1 ปี นับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวผู้ทำละเมิด หรือ 10 ปี นับแต่วันทำละเมิด เช่น รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำเมื่อ 3 วันที่ผ่านมา แต่การประจานเกิดขึ้นเมื่อ 11 ปีที่แล้วจะฟ้องไม่ได้ หรือ รู้เรื่องและตัวคนทำมานาน 2 ปี และถูกด่าลง Facebook เมื่อ 3 ปีที่แล้วก็ฟ้องไม่ได้  ดังนั้นถ้ารอจนคดีขาดอายุความก็จะเป็นการเสียโอกาส

รู้หรือไม่?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อนหลายขั้นตอน
เราแนะนำให้ใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
บริการจัดหาทนายมืออาชีพ โดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งสรุปเหตุการณ์ให้แอดมิน
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่าย ฟรี!
Line-Chat-Portrait

หมิ่นประมาท
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

คดีหมิ่นประมาทเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา พูดก่อนคิด หรือคิดไม่รอบคอบ อ้างรู้เท่าไม่ถึงการณ์ทำให้คนอื่นเสียหาย ผิดกฎหมายข้อไหนบ้าง มาดูกัน

1. ผิดกฎหมายอาญา 

ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326 กำหนดว่า ผู้ใดใส่ความผู้อื่นต่อบุคคลที่ 3 โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้อื่นนั้นเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง ผู้นั้นกระทำความผิด ฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

มาตรา 327  กำหนดโทษผู้ที่ใส่ความผู้ตายต่อบุคคลที่ 3 และการใส่ความนั้นน่าจะเป็นเหตุให้บิดา มารดา คู่สมรส หรือบุตรของผู้ตายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง มีผิดฐานหมิ่นประมาท ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 20,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ 

มาตรา 328 ถ้าหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาด้วยเอกสาร ภาพวาด ภาพระบายสี ภาพยนตร์ ภาพหรือตัวอักษรที่ทำให้ปรากฎไม่ว่าด้วยวิธีใด ๆ แผ่นเสียง หรือสิ่งบันทึกเสียง บันทึกภาพ หรือบันทึกอักษร ทำโดยการกระจายเสียง หรือการกระจายภาพ หรือโดยกระทำการป่าวประกาศด้วยวิธีอื่น ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี และปรับไม่เกิน 200,000 บาท

มาตรา 330  ในกรณีหมิ่นประมาท ถ้าผู้ถูกหาว่ากระทำความผิด พิสูจน์ได้ว่าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นความจริง ผู้นั้นไม่ต้องรับโทษ

แต่ห้ามไม่ให้พิสูจน์ ถ้าข้อที่หาว่าเป็นหมิ่นประมาทนั้นเป็นการใส่ความในเรื่องส่วนตัว และการพิสูจน์จะไม่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน

2. ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายทางแพ่งจากการละเมิดผู้อื่น

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 423  กำหนดให้ผู้ที่กล่าวหา พาดพิงบุคคลอื่น ในสิ่งที่ไม่เป็นความจริง  ทำให้เกิดความเสียหาย แก่ชื่อเสียงหรือเกียรติคุณของบุคคลอื่น ทางทำมาหากิน ทางเจริญของเขา แม้ไม่รู้ว่าไม่จริงแต่ควรจะรู้ได้  จะต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดจากการหมิ่นประมาทนั้น

และมาตรา 420 กำหนดให้ผู้ที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมาย จนเสียหายถึงแก่ชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด ถือเป็นการละเมิดผู้อื่น จะต้องต้องชดใช้ค่าเสียหายทดแทน

3. ข้อยกเว้นสำหรับการหมิ่นประมาท

มีบทลงโทษต้องมีข้อยกเว้น เพื่อให้การแสดงความคิดเห็น พูดคุยในบางเรื่องเป็นไปอย่างถูกต้อง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329 ผู้ที่แสดงความคิดเห็นหรือข้อความที่สุจริต

  1. เพื่อความชอบธรรม ป้องกันตนเองหรือป้องกันส่วนได้ส่วนเสียเกี่ยวกับตนเอง
  2. ในฐานะพนักงานปฏิบัติการตามหน้าที่
  3. ติชมด้วยความเป็นธรรมต่อบุคคลหรือสิ่งใดที่เป็นวิสัยปกติของประชาชน
  4. ในการแจ้งข่าวด้วยความเป็นธรรมเรื่องการดำเนินการที่เปิดเผยในศาลหรือในการประชุม

ผู้นั้นไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

หรือในมาตรา 331 กำหนดไว้ว่า คู่ความ หรือทนายความของคู่ความ ที่แสดงความคิดเห็น หรือข้อความในกระบวนพิจารณาคดีในศาลเพื่อประโยชน์แก่คดีของตนเอง ไม่มีความผิดฐานหมิ่นประมาท

JusThat – รู้โอกาสแพ้ชนะ
ฟ้องแล้วคุ้ม? ภายใน 5 นาที

1

Bangkok, Thailand 
Line @justhatapp