1

JusThat

นายหน้า รับจ้างทั่วไป
แบบไหนเข้าข่ายผิดกฎหมาย

อยู่ในยุคที่เศรษฐกิจไม่เอื้อต่อการใช้ชีวิต รายรับไม่พอรายจ่ายก็ต้องหาอาชีพเสริมกันหน่อย ซึ่งอาชีพที่มาแรงสุด ๆ และสามารถทำได้แบบฟรีแลนซ์ ก็คือ “นายหน้า” หรือ “เอเจนซี่” ไม่ว่าจะเป็นนายหน้าอสังหาริมทรัพย์ เอเจนซี่ศัลยกรรม โมเดลลิ่ง โฆษณา หรือแม้แต่เอเจนซี่หา Influencer ซึ่งนายหน้าแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกันไป แต่ที่เหมือนกันคือเป็นตัวกลางติดต่อให้สองฝ่ายทำสัญญากันและนายหน้าได้ค่าจ้าง โดยอาจเรียกค่าดำเนินการที่ใช้จ่ายไปได้ในกรณีที่ตกลงกันไว้

มีนายหน้าก็มีคนใช้บริการ ไม่ว่าจะเป็นผู้ที่ต้องการซื้อหรือขายบ้าน ที่ดิน ผู้ที่ต้องการหาโรงพยาบาลศัลยกรรมที่มีหมอฝีมือดี หรือแม้แต่นางแบบ นายแบบ นักออกแบบฟรีแลนซ์ Influencer ที่ต้องหางานผ่านเอเจนซี่เพื่อให้ได้รับโอกาสในการพบเจอผู้ว่าจ้างมากยิ่งขึ้น แต่เรื่องเงินเป็นเรื่องที่ไม่เข้าใครออกใคร

  • ขายบ้านได้แล้วโกงค่านายหน้า
  • นายหน้าโกงค่าที่ดิน
  • เอเจนซี่เบี้ยวค่าจ้าง
  • เอเจนซี่เรียกคอมมิชชั่นสูงกว่าที่ตกลงกัน

นายหน้ารับจ้างทั่วไป

นายหน้า รับจ้างทั่วไป
ไม่ได้รับค่าจ้างทำยังไงดี

เงินส่วนที่นายหน้าจะต้องได้รับคือค่าจ้างตามที่ตกลงกัน เมื่อตกลงกันแล้วนายหน้าจัดหาคู่สัญญาให้จนมีการเซ็นสัญญากัน แต่บางครั้งก็เจอเหตุการณ์ผู้จ้างไม่จ่ายเงินค่านายหน้า หรือแม้แต่ตัวนายหน้าเองที่รับเงินแทนแล้วเก็บไว้เอง

หากคุณไม่ได้รับค่าตอบแทนให้เตรียมหลักฐานพร้อมต่อสู้ เช่น
  • สัญญาว่าจ้าง 
  • หลักฐานการพูดคุยผ่านแชท (ถ้ามี) 
นายหน้า รับจ้าง

นายหน้า รับจ้างทั่วไป
โดนโกงต้องฟ้องยังไง

เมื่อไม่ได้รับสิ่งที่ตกลงกันไว้ตามสัญญาการดำเนินคดีตามกฎหมาย เพื่อขอให้ศาลบังคับให้อีกฝ่ายรับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นเป็นสิ่งที่ควรทำมากที่สุด ซึ่งแต่ละคดีก็มีอายุความแตกต่างกันไป

  • เรียกค่านายหน้า อายุความ 10 ปี
  • รับงานผ่านตัวกลาง อายุความ 5 ปี
  • ไม่ได้รับเงินค่าจ้าง อายุความ 2 ปี
 

และก่อนฟ้องต้องทำหนังสือบอกกล่าวให้แจ้งชำระหนี้ก่อนเสมอ โดยมีดอกเบี้ยผิดนัดตามป.พ.พ.มาตรา 224 อยู่ที่ 5% ต่อปี

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท ประหยัดค่าจ้างทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp 
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

นายหน้า รับจ้างทั่วไป
กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

มีกฎหมายข้อไหนที่ใช้คุ้มครองนายหน้าฟรีแลนซ์ หรือฟรีแลนซ์รับงานทั่วไปได้บ้าง อย่างไรมาดูกัน

1. ไม่ได้รับค่านายหน้าเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง

สามารถฟ้องศาลได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 845 ระบุไว้ว่า บุคคลใดตกลงจะให้ค่าบำเหน็จแก่นายหน้าเพื่อที่ชี้ช่องให้ได้เข้าทำสัญญา จัดการให้ได้ทำสัญญากัน บุคคลนั้นจะต้องจ่ายค่าบำเหน็จก็ต่อเมื่อสัญญานั้นได้ทำกันสำเร็จเนื่องจากการที่นายหน้าได้ชี้ช่องหรือจัดการ ถ้าสัญญาที่ทำกันไว้นั้นมีเงื่อนไขที่ต้องทำให้สำเร็จก่อน จะเรียกร้องบำเหน็จค่านายหน้าไม่ได้จนกว่าเงื่อนไขนั้นสำเร็จ

นายหน้ามีสิทธิจะได้รับค่าใช้จ่ายที่ได้เสียไปก็ต่อเมื่อได้ตกลงกันไว้ แม้ว่าสัญญาจะไม่ได้ทำกันสำเร็จ

มาตรา 846 ระบุไว้ว่า ถ้ามีการมอบหมายแก่นายหน้า โดยพฤติการณ์เป็นที่คาดหมายได้ว่าจะทำให้แต่เพื่อจะเอาค่าบำเหน็จ ให้ถือว่าได้ตกลงกันโดยปริยายว่ามีค่าบำเหน็จนายหน้า

ค่าบำเหน็จนั้นถ้าไม่ได้กำหนดจำนวนกันไว้ ให้ถือว่าได้ตกลงกันเป็นจำนวนตามธรรมเนียม

มาตรา 847 ถ้าเป็นนายหน้าให้ทั้ง 2 ฝ่าย จะถือว่าไม่สุจริตจึงไม่มีสิทธิได้รับบำเหน็จ แต่ถ้าเป็น ธุรกิจตามปกติเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าเป็นนายหน้าทั้ง 2 ฝ่าย เช่น นายหน้าจัดหางาน เป็นนายหน้าให้ทั้งผู้หางานและผู้จัดหางานก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จ 

มาตรา 848 ตัวนายหน้าไม่ต้องรับผิดไปถึงการชำระหนี้ตามสัญญาซึ่งได้ทำต่อกันเพราะตนเป็นสื่อ เว้นแต่จะไม่ได้บอกชื่อของฝ่ายหนึ่งให้อีกฝ่ายหนึ่งรู้

มาตรา 849 การรับเงินหรือรับชำระหนี้ตามสัญญานั้น ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่านายหน้าย่อมไม่มีอำนาจที่จะรับแทนผู้เป็นคู่สัญญา

2. นายหน้าจัดหางานเบี้ยวค่าจ้างมีความผิด

ตามพระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528 มาตรา 26 ระบุไว้ว่า ห้ามไม่ให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศเรียกหรือรับเงิน หรือทรัพยสินอื่นใดจากคนหางานนอกจากค่าบริการหรือค่าใช้จ่าย 

ค่าบริการหรือค่าใช้จ่ายตามวรรคหนึ่ง ให้เรียกหรือรับได้ไม่เกินอัตราที่รัฐมนตรีกําหนด 

มาตรา 27 ห้ามไม่ให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศเรียกหรือรับค่าบริการ หรือค่าใช้จ่ายก่อนที่นายจ้างรับคนหางานเข้าทํางานและจ่ายค่าจ้างเป็นครั้งแรกแล้ว เมื่อรับค่าบริการและหรือค่าใช้จ่าย ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศต้องออกใบรับตามแบบที่อธิบดีกําหนดให้แก่คนหางาน

หากไม่ปฎิบัติตามมีความผิดตามมาตรา 79 ผู้ใดฝ่าฝืนมาตรา 26 มาตรา 27 ซึ่งได้นํามาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 47 หรือฝ่าฝืนมาตรา 38 ต้องระวางโทษจําคุกไม่เกิน 1 ปีและปรับ 5 เท่าของค่าบริการและหรือค่าใช้จ่ายที่เรียกเกินหรือเรียกล่วงหน้า หรือ 3 เท่าของเงินหรือทรัพยสินอย่างอื่นที่รับไว้เป็นประกันค่าบริการ และหรือค่าใช้จ่ายดังกล่าว

3. รับงานต่อจากคนอื่นส่งมอบงานแล้วแต่ไม่ได้รับค่าจ้าง ต้องฟ้องผิดสัญญาทางแพ่ง

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 607 ระบุไว้ว่า ผู้รับจ้างจะเอาการที่รับจ้างทั้งหมดหรือแบ่งการแต่บางส่วนไปให้ผู้รับจ้างช่วงทำอีกทอดหนึ่งก็ได้ เว้นแต่สาระสำคัญแห่งสัญญานั้นจะอยู่ที่ความรู้ความสามารถของตัวผู้รับจ้าง แต่ผู้รับจ้างคงต้องรับผิดเพื่อความประพฤติหรือความผิดอย่างใด ๆ ของผู้รับจ้างช่วง

JusThat – รู้โอกาสแพ้ชนะ
ฟ้องแล้วคุ้ม? ภายใน 5 นาที

1

Bangkok, Thailand 
Line @justhatapp