1

JusThat

ขั้นตอนการฟ้องคดีอาญา
ยื่นฟ้อง

การดำเนินคดีอาญาทำได้ทั้งฟ้องเอง และแจ้งความกับตำรวจเพื่อให้อัยการเป็นผู้ฟ้องให้ก็ได้ แต่การแจ้งความดำเนินคดีจะมีขั้นตอนระหว่างรอฟ้องที่นานกว่า เพราะพนักงานสอบสวนจะต้องดำเนินการตามขั้นตอนและรัดกุม เพื่อรวบรวม พยาน หลักฐานต่าง ๆ รวมถึงอาจต้องมีการทำงานร่วมกับหน่วยงานอื่นเพื่อให้ได้หลักฐานมาดำเนินคดีด้วย

อัยการเป็นโจทก์ฟ้องแทน คดีที่อัยการฟ้องศาลไม่จำเป็นต้องใต่สวนมูลฟ้อง เพราะผ่านการกลั่นกรอง รวบรวมพยาน หลักฐานต่าง ๆ มาจากชั้นสอบสวนและพนักงานอัยการแล้ว แต่ก่อนที่อัยการจะทำการฟ้องได้ จะต้องมีการแจ้งความก่อนสำหรับความผิดอันยอมความได้ แต่ถ้าเป็นความผิดอาญาแผ่นดินไม่จำเป็นต้องมีคนแจ้งความ ตำรวจสามารถดำเนินคดีเพื่อส่งให้อัยการฟ้องได้เลย โดยต้อง

  • ออกหมายเรียก เพื่อสอบสวน ให้การเป็นพยาน จะโทรตาม บอกปากเปล่า หรืออุ้มไปไม่ได้นะ
  • ออกหมายจับ ถ้าออกหมายเรียกไปแล้ว ผู้ต้องหาไม่มารับทราบข้อกล่าวหาครบ 2 ครั้ง อาจถูกออกหมายจับจากศาลเพื่อพาตัวมาดำเนินคดีได้

ขั้นตอนนี้ผู้ต้องหาสามารถพาทนายความ หรือคนที่ไว้ใจเข้าฟังการสอบปากคำได้ด้วย หรือถ้าไม่มีเงินจ้างทนายความก็แจ้งพนักงานสอบสวนให้หาทนายความให้ และรัฐจะดูแลค่าใช้จ่ายให้ เนื่องจากเป็นสิทธิตามกฎหมายที่ประชาชนต้องได้รับ     

แต่ถ้าเป็นความผิดที่มีโทษประหารชีวิตหรือเป็นเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ถ้าผู้ต้องหาไม่มีทนายความ ตำรวจต้องจัดหาทนายความให้โดยไม่มีข้อยกเว้นนะ เพราะเป็นสิ่งที่กฎหมายบังคับให้ทำเพื่อให้เกิดความยุติธรรมมากที่สุด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 134/1 วรรค 2

ฟ้องคดีอาญาเอง คดีที่ประชาชนฟ้องเองศาลต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนถึงจะประทับรับฟ้อง ในขั้นตอนนี้จะมีการออกหมายเรียกพยานมาให้การ เรียกว่า พยานหมาย แต่ถ้าเป็นพยานนำก็คือคนที่เราพาไปเป็นพยานเองโดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายเรียกพยานให้

ขั้นตอนการฟ้องคดีอาญา
นัดไต่สวนมูลฟ้อง

สำหรับคดีที่ประชาชนฟ้องเองเท่านั้นที่ต้องเริ่มด้วยการไต่สวนมูลฟ้อง โจทก์ต้องนำพยานมาสืบ ให้ศาลเห็นว่าคดีที่ฟ้องมีมูลที่ศาลสมควรรับฟ้องไว้พิจารณา  และจำเลยจะมาฟังการไต่สวนมูลฟ้องหรือไม่มาก็ได้ ถ้าศาลสั่งรับฟ้องศาลก็จะออกหมายเรียกจำเลยให้มาสู้คดี

และจะเป็นโจทก์และจำเลย ก็ต่อเมื่อมีการฟ้องต่อศาลแล้วเท่านั้นนะ ถ้ายังไม่ได้ฟ้องหรืออยู่ระหว่างขั้นตอนสอบสวนของตำรวจ จะเรียกว่าผู้เสียหายและผู้ต้องหา

ขั้นตอนการฟ้องคดีอาญา
นัดสอบคำให้การจำเลย

เมื่อศาลประทับฟ้องแล้ว ศาลอาจมีคำสั่งขังจำเลย แต่ในขั้นตอนนี้จำเลยสามารถยื่นขอประกันตัวต่อศาลได้นะ ซึ่งศาลอาจอนุญาตหรือไม่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับพฤติการณ์และความรุนแรงของความผิด นอกจากการใช้สิทธิ์ขอประกันตัวออกมาสู้คดีแล้ว ยังต้อง…

ตรวจดูสำนวนการไต่สวนมูลฟ้องและสิ่งที่โจทก์ยื่นเป็นพยานหลักฐาน

  • ศาลที่ฟ้อง วัน เดือน ปี ที่ฟ้อง
  • ชื่อโจทก์และจำเลย  จำนวนโจทก์และจำเลย
  • ข้อหาหรือฐานความผิด
  • ข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับการทำความผิด

หาทนายความเพื่อแก้ต่างในชั้นศาล แต่ถ้าไม่มีเงินจ้างทนายความศาลจะจัดทนายขอแรงให้ว่าความให้ เพื่อช่วยเหลือจำเลยให้ได้รับความเป็นธรรมมากที่สุด

เมื่อถึงวันนัดศาลจะอ่านและอธิบายคำฟ้องให้จำเลยฟังและฟังคำให้การของจำเลย ถ้าจำเลยปฎิเสธไม่ยอมรับความผิดก็จะนัดสืบพยานกันต่อไป แต่ถ้าจำเลยรับสารภาพศาลจะพิพากษาคดีโดยไม่ต้องสืบพยานต่อไปก็ได้ ยกเว้นคดีที่มีโทษจำคุกตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไปหรือมีโทษที่หนักกว่านั้น กรณีนี้จำเป็นต้องมีการนัดสืบพยานต่อไป

ขั้นตอนการฟ้องคดีอาญา
นัดตรวจพยานหลักฐาน

ถ้ามีพยานหลักฐานเยอะและคู่ความร้องขอให้มีการตรวจสอบพยานหลักฐาน หรือศาลอาจเห็นว่าสมควรให้มีการตรวจสอบพยานหลักฐานก่อน ก็จะมีการนัดวันตรวจพยานหลักฐาน และคู่ความต้องยื่นหลักฐานตัวจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173/1 และมาตรา 173/2

การกำหนดให้มีวันตรวจพยานหลักฐานก่อนการสืบพยาน มีจุดมุ่งหมายเพื่อให้การพิจารณา และสืบพยานในชั้นศาลเป็นไปเพื่อการค้นหาความจริงว่าจำเลยทำผิดจริงหรือบริสุทธิ์ เป็นการคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดี เพราะถ้าเห็นพยาน หลักฐานของฝ่ายตรงข้ามในวันสืบพยานทีเดียว ก็อาจทำให้ไม่สามารถหาหลักฐานมาหักล้างหรือยืนยันความบริสุทธิ์ได้

ขั้นตอนการฟ้องคดีอาญา
นัดสืบพยาน

ในคดีอาญาโจทก์มีหน้าที่ต้องนำพยานเข้าสืบก่อนเสมอ ว่าจำเลยทำความผิดยังไงบ้าง ส่วนจำเลยจะเป็นผู้นำพยานเข้าสืบแก้ทีหลัง เพื่อแก้ต่างสิ่งที่ถูกกล่าวหา และในระหว่างพิจารณาคดีถ้าศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องสืบพยานอีก ศาลจะสั่งให้งดการสืบพยานก็ได้ เมื่อสืบพยานเสร็จแล้วศาลจะนัดฟังคำพิพากษา ซึ่งศาลอาจพิพากษายกฟ้อง หรือพิพากษาลงโทษก็ได้ต้องรอฟังคำพิพากษาในวันที่ศาลนัด

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา
นัดฟังคำพิพากษา

วันนัดฟังคำพิพากษาจำเลยจะต้องมาฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งตามวัน เวลาที่ศาลนัด เพราะถ้าไม่มาและศาลมีเหตุสงสัยว่าจะหลบหนีหรือจงใจไม่มา อาจถูกออกหมายจับจำเลยได้

แต่ถ้าหนีไปแล้วและเจ้าหน้าที่ยังตามจับไม่ได้ภายใน 1 เดือนนับจากวันที่ออกหมายจับ ศาลอาจอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นลับหลังจำเลยก็ได้ โดยถือว่าจำเลยได้ฟังคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นแล้ว และคำพิพากษาของศาลจะต้องทำเป็นหนังสือ แต่จะทำด้วยวาจาแล้วบันทึกใจความสำคัญไว้ก็ได้ ในกรณีที่เป็นการพิจารณาในศาลแขวง หลังนัดฟังคำพิพากษาแล้ว ถ้ามีข้อโต้แย้งก็สามารถขออุทธรณ์ได้ตามระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

ขั้นตอนการดำเนินคดีอาญา
ฉ้อโกง เช็คเด้ง หมิ่นประมาท ฟ้องเองเร็วกว่า

การฟ้องคดีเองจะลดขั้นตอนระหว่างที่พนักงานสอบสวนดำเนินการได้เลย เพราะตำรวจ 1 คนต้องดูแลคดีจำนวนมาก ทำให้อาจเกิดความล่าช้า และคดีแต่ละคดีก็มีรายละเอียดที่แตกต่างกันไป ถ้าอยากให้มีการฟ้องให้เร็วที่สุด การฟ้องศาลเองก็เป็นทางเลือกที่ดี และสามารถแต่งตั้งทนายความให้ว่าความให้ได้

คดีฉ้อโกง เช็คเด้ง หมิ่นประมาท อาจสร้างความเสียหายให้กับเราได้มากกว่าที่คิด ดังนั้นการฟ้องเรียกร้องค่าเสียหายทางแพ่งก็สามารถทำได้เช่นกัน ในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการทำผิดอาญาของคนอื่น ซึ่งจะฟ้องรวมไปกับคดีอาญาเลยก็ได้ เรียกว่า “คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา” หรือฟ้องแยกระหว่างคดีอาญาและคดีแพ่งก็ได้ 

JusThat – รู้โอกาสแพ้ชนะ
ฟ้องแล้วคุ้ม? ภายใน 5 นาที

1

Bangkok, Thailand 
Line @justhatapp