1

JusThat

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์สินของตัวเอง 

กองทรัพย์สิน ประกอบด้วย ทรัพย์สิน สิทธิและหนี้ ซึ่งจะมีอยู่ตลอดการดำรงชีวิตของบุคคลคนหนึ่ง แปลว่า บุคคลจะไม่สามารถแยกกองทรัพย์สินออกจากตัวเจ้าของได้ เพราะกองทรัพย์สินจะผูกพันกับบุคคลนั้นไปจนตาย แต่เจ้าของสามารถโอนทรัพย์สิน สิทธิหรือหนี้ที่อยู่ในกองทรัพย์สินไปให้บุคคลอื่นได้ และเมื่อตายไปแล้วกองทรัพย์สินก็จะกลายเป็นกองมรดกตกทอดสู่ทายาทต่อไป

แต่สำหรับเงินประกันชีวิต หรือที่เรียกว่า สินไหมทดแทนจากสัญญาประกันชีวิต ไม่ใช่มรดกที่จะต้องตกทอดสู่ทายาท เพราะอะไร เดี๋ยว JusThat จะเล่าให้อ่าน

ทำไม เงินประกันชีวิต ไม่ใช่มรดก

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1600 บัญญัติไว้ว่า

     ภายใต้บังคับของบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ กองมรดกของผู้ตายได้แก่ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิหน้าที่และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือว่าโดยสภาพแล้ว เป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้

กองมรดกของผู้ตายที่จะตกทอดสู่ทายาทไม่ว่าจะเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรมที่เจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมยกมรดกให้ก็ตาม จะต้องเป็นทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดที่เจ้ามรดกมีอยู่ขณะถึงแก่ความตาย 

แต่สิทธิได้รับเงินสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันชีวิตที่ทำขึ้นระหว่างผู้ตายกับบริษัทประกันชีวิตซึ่งเป็นผู้รับประกันภัย เป็นสิทธิที่เกิดขึ้นเนื่องจากความตายของเจ้ามรดก ดังนั้น เงินสินไหมทดแทน หรือ เงินประกันชีวิต จึงไม่ใช่มรดกนั่นเอง

เมื่อไม่ใช่มรดก ผู้ที่จะได้เงินส่วนนี้ไปจึงเป็นผู้รับผลประโยชน์ที่ผู้เอาประกันภัย(ผู้ตาย)ระบุไว้ในกรมธรรม์นั่นเอง แต่ถ้าผู้รับผลประโยชน์ตายก่อนผู้เอาประกันภัย กรณีนี้ทายาทของผู้รับผลประโยชน์จะเข้ามารับเงินประกันชีวิตส่วนนี้แทนไม่ได้นะ เพราะสิทธิรับเงินประกันชีวิตไม่ได้เกิดขึ้นมีอยู่ในขณะที่ผู้รับผลประโยชน์ถึงแก่ความตายนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ถ้าผู้เอาประกันชีวิตไม่ได้ระบุตัวผู้รับผลประโยชน์ไว้ในกรรมธรรม์ หรือระบุไว้แต่ผู้รับผลประโยชน์ตายก่อนผู้เอาประกันภัย และไม่มีผู้รับผลประโยชน์คนใดเหลืออยู่เลย กรณีนี้เงินสินไหมทดแทนจากสัญญาประกันชีวิตจะตกแก่กองมรดก ซึ่งเจ้าหนี้สามารถบังคับชำระหนี้จากเงินประกันชีวิตส่วนนี้ได้ แต่ถ้าเจ้ามรดกไม่มีหนี้ให้ต้องชดใช้เลย ทายาทก็จะต้องนำกองมรดกไปแบ่งกันตามส่วนแบ่งมรดกที่กฎหมายกำหนดต่อไป 

Facebook
Twitter
LinkedIn

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »

3 สิ่งต้องรู้ ก่อนหมดตัวเพราะค้ำประกันให้คนอื่น

3 สิ่งต้องรู้ ก่อนหมดตัวเพราะไปค้ำประกันให้คนอื่น ว่าด้วยเรื่องการค้ำประกัน เป็นปกติที่เจ้าหนี้ต้องการให้มีคนค้ำประกัน กรณีลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่มีม

Read More »