1

JusThat

ถูกเลิกจ้าง จะฟ้องศาลหรือร้องพนักงานตรวจแรงงานดี

การเลิกจ้างลูกจ้าง คือ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานและไม่จ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างต่อไป โดยที่การเลิกจ้างลูกจ้างอาจเป็นการเลิกไม่เป็นธรรม หรือเลิกจ้างอย่างเป็นธรรมก็ได้ขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น ถ้านายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างโดยมีเหตุผลที่สมควร ลูกจ้างกระทำความผิด ขัดคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม แบบนี้การเลิกจ้างนั้นก็ไม่ใช่การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างตามอำเภอใจ แค่ไม่พอใจก็บอกเลิกจ้างเลยโดยที่ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิด และไม่มีเหตุผลอันสมควรมากพอที่จะเลิกจ้างลูกจ้างได้ การกระทำแบบนี้ก็จะเข้าข่ายการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมนั่นเอง

เมื่อถูกเลิกจ้างแล้วจะมีเงินที่ลูกจ้างอาจมีสิทธิ์ได้รับเข้ามาเกี่ยวข้องตามนี้ 

  1. ค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
  2. ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
  3. ค่าชดเชย
  4. ค่าชดเชยพิเศษ
  5. เงินประกันความเสียหายหรือเงินประกันการทำงาน
  6. ค่าจ้างในวันหยุดพักผ่อนประจำปี

โดยลูกจ้างที่ถูกเลิกจ้างจะมีสิทธิ์ได้รับเงินดังกล่าวหรือไม่ ได้รับมากน้อยแค่ไหน ก็ต้องพิจารณาตามข้อเท็จจริงของแต่ละกรณีไป เช่น ลูกจ้างทดลองงานที่ถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและนายจ้างไม่ได้มีการบอกกล่าวการเลิกจ้างล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง จะต้องได้รับค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า เป็นต้น 

ซึ่งลูกจ้างสามารถเรียกร้องเงินตามสิทธิ์ที่ตนเองได้รับ 2 ทาง คือ ยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแรงงาน หรือยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน โดยเลือกใช้สิทธิ์เรียกร้องทางใดทางหนึ่งเท่านั้น เพราะลูกจ้างจะใช้สิทธิ์เรียกร้องทั้ง 2 ทางพร้อมกันไม่ได้

และในบทความนี้ JusThat จะมาเปรียบเทียบข้อดีของการฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแรงงาน และการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน กรณีลูกจ้างถูกเลิกจ้างจะไปใช้สิทธิ์เรียกร้องทางไหนดีกว่ากัน และลูกจ้างสามารถยื่นฟ้องศาลด้วยตัวเองได้เลยไหม อ่านบทความนี้แล้วคุณจะได้คำตอบ

ฟ้องศาลแรงงาน VS ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน แบบไหนดีกว่ากัน

ฟ้องศาลแรงงาน

  • เรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้
  • เรียกร้องเงินตามสิทธิ์ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้
  • ดำเนินการด้วยตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องมีทนายความ
  • ระยะเวลาดำเนินคดีขึ้นอยู่กับศาล อาจได้นัดไกล่เกลี่ยภายใน 1 – 3 เดือน
  • หากจำเลย(นายจ้าง)ขาดนัด ศาลจะนัดสืบพยานและตัดสินชี้ขาดคดีฝ่ายเดียว
  • หากนายจ้างไม่จ่ายเงินตามคำพิพากษา โจทก์(ลูกจ้าง)ต้องดำเนินการบังคับคดีเอง
  • โจทก์หรือจำเลยยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ได้ภายใน 15 วันนับแต่วันที่ศาลอ่านคำพิพากษา อาจขอขยายระยะเวลายื่นอุทธรณ์ได้ 

ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน

  • เรียกร้องค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ได้
  • เรียกร้องเงินตามสิทธิ์ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้
  • ดำเนินการด้วยตัวเองได้ ไม่จำเป็นต้องมีทนายความ
  • ระยะเวลาดำเนินการนับตั้งแต่รับคำร้องจนมีคำสั่งไม่เกิน 60 วัน หรือขยายระยะเวลาออกไปได้อีกไม่เกิน 30 วัน รวมระยะเวลาดำเนินการสูงสุดไม่เกิน 90 วัน
  • ลูกจ้างสามารถยื่นคำร้องขอรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างได้ภายใน 2 ปี นับแต่วันที่คำสั่งพนักงานตรวจแรงงานเป็นที่สุด โดยไม่ต้องไปบังคับคดีเอง หากนายจ้างไม่จ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและไม่มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงาน
  • นายจ้างโดนพนักงานตรวจแรงงานดำเนินคดีอาญาฐานขัดคำสั่งพนักงานตรวจแรงงาน และไม่จ่ายเงินให้ลูกจ้าง หากนายจ้างไม่จ่ายเงินตามคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานและไม่มีการนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงาน
  • ลูกจ้างหรือนายจ้างสามารถนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงานได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบคำสั่ง และเมื่อมีการนำคดีขึ้นสู่ศาลแรงงาน สิทธิรับเงินจากกองทุนสงเคราะห์ลูกจ้างก็จะหมดไป 
Facebook
Twitter
LinkedIn

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »