1

JusThat

ลูกจ้างทดลองงาน มีสิทธิตามกฎหมายอย่างไรบ้าง

มีใครกำลังเจอหรือเคยเจอปัญหาเป็นลูกจ้างใหม่ อยู่ในช่วงลูกจ้างทดลองงาน ยังไม่ผ่านโปรแล้วขอให้สิทธิลาป่วย ลากิจ ลาคลอดไม่ได้บ้าง หรือขอลาได้แต่ก็ถูกหักเงินด้วยเหตุผลที่ว่ายังไม่ผ่านโปร หรือนายจ้างไม่ยอมแจ้งเข้าประกันสังคมให้ โดยอ้างว่าเป็นลูกจ้างทดลองงาน ยังไม่ใช่ลูกจ้างประจำจึงไม่มีสิทธิได้รับประกันสังคม ซึ่งทั้งหมดที่ JusThat ยกตัวอย่างมานั้นล้วนเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมายทั้งหมด เพราะอะไร อ่านต่อได้ในบทความนี้เลย

สิทธิแรงงานของลูกจ้างทดลองงาน มีอะไรบ้าง

การจ้างทดลองงานนั้นเป็นเรื่องของการบริหารทรัพยากรบุคคลในองค์กร เพื่อดูว่าลูกจ้างที่รับเข้ามาใหม่นั้นมีความรู้ ความสามารถเพียงพอหรือไม่ มีทักษะต่าง ๆ มากแค่ไหน ปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กรได้มากเพียงใด ประสิทธิภาพการทำงานถึงเกณฑ์ที่กำหนดไว้หรือไม่ โดยเราจะเรียกระยะเวลาช่วงนี้ว่า ช่วงทดลองงาน หรือ Probation หรือ Probationary Period ซึ่งโดยทั่วไปจะกำหนดระยะเวลาไว้ 90 วัน 119 วัน 120 วัน หรือ 3 เดือน เป็นต้น 

ถ้าลูกจ้างคนดังกล่าวไม่ผ่านการทดลองงาน แต่นายจ้างยังต้องการจ้างให้ทำงานต่อไป นายจ้างก็สามารถขยายระยะเวลาทดลองงาน หรือที่เรียกว่าต่อโปรออกไปนานเท่าไหร่ก็ได้ เช่น A ไม่ผ่านทดลองงานภายในระยะเวลา 119 วัน นายจ้างจึงต่อโปรให้ A ทดลองงานต่อไปอีก 30 วัน เป็นต้น 

และไม่ว่านายจ้างจะวางสถานะของลูกจ้างทดลองงานไว้อย่างไร เช่น นับลูกจ้างทดลองงานเป็นลูกจ้างชั่วคราว คำนวณค่าจ้างลูกจ้างทดลองงานเป็นค่าจ้างรายวัน ก็ไม่ทำให้ลูกจ้างทดลองงานต้องได้รับสิทธิแรงงานแตกต่างไปจากพนักงานประจำคนอื่น ๆ 

เพราะตามกฎหมายแล้วลูกจ้างทุกคนมีสิทธิแรงงานตามกฎหมายเท่าเทียมกัน แปลว่า ลูกจ้างทดลองงานมีสิทธิทุกอย่างเหมือนลูกจ้างที่ผ่านการทดลองงานแล้ว ในทำนองเดียวกันลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายชั่วโมง ลูกจ้างรายสัปดาห์ ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างตามผลงานต่างก็มีสิทธิตามกฎหมายทุกอย่างเหมือนลูกจ้างรายเดือน เนื่องจากกฎหมายมองลูกจ้างทุกคนเป็น “ลูกจ้าง” ไม่แตกต่างกัน ไม่ว่าลูกจ้างคนนั้นจะได้รับการคำนวณค่าจ้างอย่างไร หรือจะผ่านโปรแล้วหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่ลักษณะงานที่ลูกจ้างทำอยู่ในข้อยกเว้นที่กฎหมายกำหนดไว้

สิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงาน

  • สิทธิลาป่วยตามที่ป่วยจริง โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 30 วัน/ปี
  • สิทธิลากิจ โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 3 วัน/ปี
  • สิทธิลาทำหมันโดยได้รับค่าจ้าง
  • สิทธิลาคลอดรวมลาตรวจครรภ์ 98 วัน/ครรภ์ โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 45 วัน
  • สิทธิลาฝึกอบรม พัฒนาความรู้ ความสามารถ
  • สิทธิลาเพื่อรับราชการทหาร โดยได้รับค่าจ้างไม่เกิน 60 วัน/ปี
  • สิทธิลาพักผ่อนประจำปี(ลาพักร้อน) โดยได้รับค่าจ้างไม่น้อยกว่า 6 วัน/ปี เฉพาะลูกจ้างทำงานครบ 1 ปี หรือไม่ครบ 1 ปี แต่นายจ้างกำหนดวันลาพักผ่อนประจำปีให้โดยคำนวณตามส่วน
  • สิทธิได้รับเงินค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ เฉพาะลูกจ้างรายเดือน
  • สิทธิได้รับเงินค่าจ้างในวันทำงานปกติทุกวัน (ไปทำงานหรือไม่ทำก็ต้องได้เงินค่าจ้าง ยกเว้นขาดงาน)
  • สิทธิได้รับเงินค่าจ้างในวันหยุดตามประเพณี (นายจ้างสั่งให้หยุดงานในวันดังกล่าวและต้องได้รับเงินค่าจ้าง)
  • สิทธิได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุด (ไปทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี และต้องได้เงิน)
  • สิทธิได้รับเงินค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน
  • สิทธิได้รับเงินค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด (วันหยุดประจำสัปดาห์ วันหยุดตามประเพณี)
  • สิทธิได้รับเงินค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า หรือให้ออกจากงานก่อนถึงกำหนดสิ้นสุดสัญญาตามกฎหมาย และลูกจ้างไม่ได้ทำความผิด
  • สิทธิได้รับเงินค่าชดเชย กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน ในงานที่ไม่เข้าลักษณะข้อยกเว้นตามกฎหมาย แล้วถูกเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่ได้ทำความผิด
  • สิทธิได้รับเงินค่าชดเชยพิเศษ หรือค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า

สิทธิของลูกจ้างตามกฎหมายประกันสังคม

  • ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ. 2533 มาตรา 33
  • โดยนายจ้างมีหน้าที่ต้องแจ้งเข้าประกันสังคมให้ลูกจ้างภายใน 30 วัน นับแต่วันเริ่มทำงาน
Facebook
Twitter
LinkedIn

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »