รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
เป็นลูกจ้างรายวันลาป่วยไม่ได้เงิน ลูกจ้างรายวันทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น ลูกจ้างรายวันไม่ใช่พนักงานประจำ ลูกจ้างรายวันไม่มีสิทธิรับสวัสดิการเหมือนลูกจ้างรายเดือน แบบนี้ก็ได้เหรอ
หลังจากอ่านข้อความด้านบนจบ คงมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่ผู้เขียนต้องบอกเลยว่า ไม่เห็นด้วย เนื่องจากลูกจ้างรายวันนั้นเป็นลูกจ้างเหมือนลูกจ้างรายเดือน ซึ่งมีสิทธิตามกฎหมายเหมือนกันทุกประการ ดังนั้นการที่นายจ้างแบ่งแยกว่า ลูกจ้างรายวันไม่มีสิทธิตามกฎหมายเหมือนลูกจ้างรายเดือน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้องตามหลักของกฎหมาย
แล้วกฎหมายว่าไว้อย่างไร ลูกจ้างรายวันจะมีสิทธิอะไรบ้าง ถ้าอยากรู้ก็ตามมาอ่านต่อกับ JusThat ในบทความนี้เลย
ลูกจ้างรายวัน ตามความเข้าใจโดยทั่วไปคงหมายถึง ลูกจ้างที่ได้รับค่าจ้างเป็นรายวัน คือ คำนวณค่าจ้างเป็นรายวัน โดยอาจมีการจ่ายเงินให้ทุกวันหลักเลิกงาน หรือจ่ายเงินทุกสัปดาห์ หรือจ่ายเงินทุกเดือนก็ได้
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 ได้ให้นิยามของคำว่า “ลูกจ้าง” ไว้ว่า
“ลูกจ้าง” หมายความว่า ผู้ซึ่งตกลงทํางานให้นายจ้างโดยรับค่าจ้างไม่ว่าจะเรียกชื่ออย่างไร
จากนิยามข้างต้นจะเห็นว่า ลูกจ้างรายวัน คือ ลูกจ้าง ซึ่งมีสิทธิแรงงานตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 เหมือนลูกจ้างประเภทอื่น ๆ เพียงแต่เขาได้รับค่าจ้างซึ่งคำนวณเป็นแบบรายวันเท่านั้น
สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างลูกจ้างรายวันและลูกจ้างรายเดือนมีเพียงวิธีการคำนวณเงิน เนื่องจากลูกจ้างรายวันไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่ลูกจ้างรายเดือนมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุดประจำสัปดาห์รวมอยู่ในค่าจ้างด้วย ดังนั้นวิธีการคำนวณเงินในวันทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ของลูกจ้างรายวันและรายเดือนจึงแตกต่างกัน
ลูกจ้างรายวันทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ จะได้รับเงินค่าจ้าง 2 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน เช่น A เป็นลูกจ้างรายวัน ได้รับค่าจ้างวันละ 500 บาท มีวันหยุดประจำสัปดาห์ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ และนายจ้างสั่งใน A ไปทำงานในวันเสาร์ 5 ชั่วโมง A จะได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ จำนวน 625 บาท คำนวณจาก 500/8 = 62.5 บาทต่อชั่วโมง นำจำนวนเงินต่อชั่วโมงไปคูณด้วย 2 จะได้ 125 บาทต่อชั่วโมง โดย A ทำงานไปทั้งหมด 5 ชั่วโมง คิดเป็นเงิน 625 บาท
ลูกจ้างรายเดือนทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ จะได้รับเงินค่าจ้างเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า 1 เท่าของค่าจ้างต่อชั่วโมง ตามจำนวนชั่วโมงที่ทำงาน เช่น B เป็นลูกจ้างรายเดือน ได้รับค่าจ้างเดือนละ 15,000 บาท คิดอัตราค่าจ้างเป็นวันหารด้วย 30 เท่ากับ 500 บาทต่อวัน มีวันหยุดประจำสัปดาห์ทุกวันเสาร์และอาทิตย์ และนายจ้างสั่งใน B ไปทำงานในวันเสาร์ 5 ชั่วโมง B จะได้รับเงินค่าทำงานในวันหยุดประจำสัปดาห์ จำนวน 312.5 บาท คำนวณจาก 500/8 = 62.5 บาทต่อชั่วโมง นำจำนวนเงินต่อชั่วโมงไปคูณด้วย 5 คิดเป็นเงิน 312.5 บาท
พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541
มาตรา 56 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างเท่ากับค่าจ้างในวันทํางานสําหรับวันหยุด ดังต่อไปนี้
(1) วันหยุดประจําสัปดาห์ เว้นแต่ลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างรายวัน รายชั่วโมง หรือตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) วันหยุดตามประเพณี
(3) วันหยุดพักผ่อนประจำปี
มาตรา 62 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานในวันหยุดตามมาตรา 28 มาตรา 29 มาตรา 30 ให้นายจ้างจ่ายค่าทำงานในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตรา ดังต่อไปนี้
(1) สำหรับลูกจ้างซึ่งมีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าจ้างอีกไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
(2) สำหรับลูกจ้างซึ่งไม่มีสิทธิได้รับค่าจ้างในวันหยุด ให้จ่ายไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจำนวนชั่วโมงที่ทำ หรือไม่น้อยกว่าสองเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทำงานตามจำนวนผลงานที่ทำได้สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย
ถ้าไม่ได้รับเงินตามที่กฎหมายกำหนด ลูกจ้างจะสามารถใช้สิทธิ์ทางไหนได้บ้าง
การใช้สิทธิ์เรียกร้องเงินตามกฎหมายแรงงาน ลูกจ้างสามารถเลือกใช้สิทธิ์ได้ทางใดทางหนึ่งจาก 2 ทางเลือกนี้
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp