1

JusThat

กฎหมายคลายเครียด ตอน โลกของลูกจ้างรายวัน

“ลูกจ้างรายวัน ก็เป็นแค่ลูกจ้างชั่วคราวที่จะให้ออกจากงานตอนไหนก็ได้”

“ต้องเข้าใจนะว่าลูกจ้างรายวันไม่ใช่ลูกจ้างประจำ”

“ลูกจ้างรายวัน ทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น”

“เป็นลูกจ้างรายวันจะไปเรียกร้องสิทธิอะไรได้ ก็เราไม่ใช่ลูกจ้างประจำ”

ประโยคที่ผู้เขียนยกขึ้นมาก่อนหน้าเป็นประโยคที่ผู้เขียนเองได้ยินมากับหูจริง ๆ จนเกิดความคิดว่า ต้องเขียนบทความนี้ขึ้นมาให้ได้ เพื่อที่อย่างน้อยคนจะได้รู้จัก ได้สัมผัสกับโลกของลูกจ้างรายวัน กลุ่มแรงงานที่มักจะถูกนายจ้างเอารัดเอาเปรียบอยู่เรื่อย ๆ โดยที่ลูกจ้างรายวันบางส่วนก็ไม่รู้ว่าตนเองมีสิทธิตามกฎหมายอย่างไร และถึงรู้แล้วแต่คนบางส่วนก็ยังไม่กล้าเรียกร้องสิทธิของตนเองอยู่ดีด้วยเหตุผลหลากหลายประการที่แตกต่างกันออกไป แต่ถ้านับเอาเหตุผลหลัก ๆ แล้วก็คงหนีไม่พ้น กลัวตกงาน กลัวนายจ้างไม่ยอมรับแล้วจะไม่มีกินนั่นเอง

ความเหมือนที่แตกต่าง ระหว่างลูกจ้างรายวัน 2 แบบ

ระหว่างที่ผู้เขียนกำลังพูดคุยเกี่ยวกับปัญหาลูกจ้างรายวันลาป่วยแล้วไม่ได้รับค่าจ้างในวันลาป่วยอยู่นั้น อยู่ดีดีก็มีหนึ่งในบุคคลของวงสนทนาพูดขึ้นมาว่า “ตามจริงในสังคมการทำงานนี่มีลูกจ้างรายวัน 2 แบบนะ ลูกจ้างรายวันที่รับค่าจ้างเป็นรายวัน กับลูกจ้างรายวันที่คำนวณค่าจ้างเป็นรายวันและรับเงินตามงวดการจ่ายค่าจ้าง” และทันทีที่บุคคลนั้นพูดจบ ผู้เขียนก็เห็นด้วยทันที ก็มันจริงนี่นา

ลูกจ้างซึ่งรับเงินเป็นรายวัน คือใคร ลูกจ้างกลุ่มนี้จะเป็นลูกจ้างที่อาจนิยามตนเองว่าเป็นฟรีแลนซ์ หรือถือว่าตนเองทำงานอิสระ เลือกทำงานได้ตามใจ เลือกได้ว่าวันไหนจะไปทำงานให้ใคร หรือแล้วแต่จะมีนายจ้างคนไหนมาจ้างให้ไปทำงานให้ในวันไหนบ้าง เช่น ลูกจ้างรายวันในงานจัดเลี้ยงของโรงแรมต่าง ๆ ลูกจ้างรายวันในร้านอาหาร ลูกจ้างรายวันตามงานอีเว้นท์ เป็นต้น ซึ่งคนกลุ่มนี้จะสมัครงานกับนายจ้างเป็นวัน ๆ ไป ไม่ผูกมัดสัญญาในระยะยาวและรับเงินค่าจ้างหลังเลิกงานในวันนั้นทันที โดยลักษณะของการทำงานจะเป็นการเข้าไปอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง มีผู้ควบคุมงาน มีหัวหน้างานเป็นผู้ออกคำสั่ง มีเวลาเข้าออกงาน และมีระเบียบข้อบังคับให้ปฏิบัติตามอย่างชัดเจน คนกลุ่มนี้จึงถูกนับว่าเป็นลูกจ้าง แม้พวกเขาจะนิยามหรือถูกเรียกว่าเป็นฟรีแลนซ์ก็ตาม 

ลูกจ้างซึ่งคำนวณเงินเป็นรายวัน คือใคร มาถึงลูกจ้างรายวันกลุ่มที่ 2 ซึ่งนับว่ามีอยู่มากในสังคมพอสมควร ลูกจ้างกลุ่มนี้เป็นลูกจ้างที่ตกลงทำงานให้นายจ้างในช่วงระยะเวลาหนึ่ง หรืออาจไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างไว้เลยก็ได้ โดยตกลงค่าจ้างเป็นรายวัน คือ คิดคำนวณค่าจ้างเป็นรายวัน เช่น กำหนดค่าจ้าง 500 บาท/วัน หรือ 800 บาท/วัน เป็นต้น และจะได้รับเงินค่าจ้างตามงวดการจ่ายค่าจ้างที่ตกลงกัน อาจจ่ายกันทุกสัปดาห์ หรือทุกวันสิ้นเดือน หรือทุกวันที่ 5 และ 20 ของเดือน แบบนี้ก็ได้ ซึ่งลูกจ้างรายวันกลุ่มนี้จะต้องอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างเช่นกัน คือ อยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับของนายจ้าง มีผู้ควบคุมงาน มีหัวหน้างานสั่งงาน มีเวลาเข้าออกงานชัดเจน

Facebook
Twitter
LinkedIn

ลูกจ้างรายวัน กับ สิทธิแรงงาน

สิ่งหนึ่งที่ทำให้ลูกจ้างรายวันมักจะถูกเอาเปรียบ เช่น ทำงานล่วงเวลาแล้วไม่ได้ค่าโอที ลาป่วยแล้วไม่ได้เงินค่าจ้างในวันลาป่วย ทำงานครบ 1 ปีแล้วไม่ได้สิทธิ์ลาพักร้อน ถูกเลิกจ้างแล้วไม่ได้ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ถูกสั่งให้หยุดงานในวันทำงานปกติแล้วไม่ได้ค่าจ้าง ได้หยุดงานในวันหยุดตามประเพณีแล้วนายจ้างไม่จ่ายเงิน หรือถูกเลิกจ้างแล้วไม่ได้รับค่าชดเชย และอื่น ๆ อีกมากมายเพียงเพราะพวกเขาเป็นลูกจ้างรายวันที่นายจ้าง หรือ HR มองว่าเป็นพนักงานชั่วคราว ไม่ใช่ลูกจ้างประจำ ไม่ใช่ลูกจ้างรายเดือนที่จะต้องได้สิทธิตามกฎหมายว่าด้วยแรงงาน

แต่ไม่ว่านายจ้าง หรือ HR จะมองอย่างไร กฎหมายก็คือกฎหมายที่สามารถบังคับใช้ได้กับทุกคนอย่างเท่าเทียมกัน เช่น กรณีของลูกจ้างรายวันซึ่งไม่ได้รับสิทธิตามกฎหมายที่ตนเองพึงมี ก็สามารถเรียกร้องสิทธิ์ของตนเองได้ โดยการยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงาน หรือยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลเพื่อให้ตนเองได้รับเงินตามสิทธิของแรงงานก็ได้ 

เนื่องจากกฎหมายไม่ได้แบ่งแยกประเภทของลูกจ้างไว้ ดังนั้น ลูกจ้างตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานจึงหมายถึง ลูกจ้างทุกประเภท ทั้งลูกจ้างรายวัน ลูกจ้างรายเดือน ลูกจ้างรายสัปดาห์ ลูกจ้างซึ่งคำนวณค่าจ้างตามผลงาน หรือลูกจ้างอื่น ๆ ไม่ว่าจะเรียกชื่อว่าอย่างไร ถ้าบุคคลที่ได้ทำงานให้ต้องอยู่ภายใต้ระเบียบข้อบังคับ อยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้าง กฎหมายก็ถือว่าบุคคลนั้นคือลูกจ้างซึ่งต้องได้รับสิทธิตามกฎหมายว่าด้วยการจ้างแรงงานนั่นเอง

ส่วนเรื่องที่นายจ้างจะจัดสรรกำลังบุคลากรในองค์กรอย่างไร จ้างพนักงานรายเดือนกี่คน หรือจ้างพนักงานรายวันกี่คน ก็ขึ้นอยู่กับการบริหารและเงินในกระเป๋าของแต่ละองค์กรไป เนื่องจากว่าการจ้างลูกจ้างรายวันนั้น อาจประหยัดต้นทุนได้มากกว่าการจ้างลูกจ้างรายเดือนที่ต้องจ้างเหมารวมไปถึงวันหยุดประจำสัปดาห์ แตกต่างจากลูกจ้างรายวันที่ไม่ต้องจ่ายเงินในวันหยุดประจำสัปดาห์ แต่วันอื่น ๆ เช่น วันหยุดตามประเพณี วันลาป่วย วันลาคลอด นายจ้างก็ยังต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างทุกคนอย่างเท่าเทียมกันตามอัตราค่าจ้างของแต่ละคนอยู่ดี

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »