1

JusThat

ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์นายจ้าง ถ้าทำความผิดเหล่านี้นายจ้างเลิกจ้างได้ทันที

เรื่องของลูกจ้างและนายจ้าง มักถูกยกมาเป็นประเด็นในสังคมอยู่เรื่อย ๆ บทความนี้เราจะอธิบายถึงผลที่ตามมาจากการลักทรัพย์นายจ้างและยักยอกทรัพย์นายจ้าง นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้อย่างเป็นธรรมหรือไม่ เพราะอะไร มีกฎหมายข้อไหนรองรับบ้าง ? 

เมื่อต้องทำงานอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา (นายจ้างมีอำนาจสั่งงาน มีอำนาจอนุญาตให้ทำอะไร ไม่ให้ทำอะไร) มีเวลาเข้าออกงาน มีบทลงโทษเมื่อทำความผิด การทำงานเน้นเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคลจะให้คนอื่นมาทำแทนไม่ได้ และมีงานทำโดยจ่ายผลตอบแทนตลอดระยะเวลาที่ทำงาน สัญญาที่มีลักษณะนี้จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานฉบับอื่น ๆ 

ความแตกต่างระหว่าง ลักทรัพย์ VS ยักยอกทรัพย์

ความแตกต่างระหว่าง ลักทรัพย์นายจ้าง VS ยักยอกทรัพย์นายจ้าง

การลักทรัพย์ และ การยักยอกทรัพย์ ฟังแค่ชื่ออาจแยกไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร เพราะมีการเอาของคนอื่นไปเหมือนกัน 

  • การลักทรัพย์นายจ้าง คือ การไปแย่งเอาของที่มีรูปร่าง มีราคา ที่อยู่ในครอบครองของนายจ้างตัวเอง ในลักษณะที่เอาไปแล้วเอาไปเลย หรือเรียกอีกอย่างว่าตัดกรรมสิทธิ์ของเจ้าของ กรณีนี้คนที่ขโมยต้องเป็นลูกจ้างเท่านั้นนะ เช่น พนักงานรับเงินมาจากลูกค้าแล้วเอาใส่เครื่องไม่ครบรับมา 1,000 บาท แต่แจ้งยอด 800 บาท แอบเอาไป 200 บาท เป็นต้น
  • ยักยอกทรัพย์นายจ้าง คือ การเบียดบังเอาของที่อยู่กับตัวเรา เห็นอยู่ต่อหน้า ถืออยู่กับมือ มีสิทธิ์เคลื่อนย้ายไปที่ไหนก็ได้ แต่ของนั้นเป็นกรรมสิทธิ์ของนายจ้าง แต่ตัวเองมีหน้าที่จัดการ มีสิทธิ์ครอบครอง เช่น ผู้จัดการสาขามีหน้าหน้าดูแลเงิน จัดการเงินว่าจะจ่ายออกไปเท่าไหร่แต่แอบเอาไปใช้ส่วนตัว 

สิ่งที่ใช้สังเกตง่าย ๆ ว่าอะไรคือการยักยอก หรือ ลักทรัพย์ ก็คือสิทธิในการครอบครอง ถ้ามีสิทธิครอบครอง มีหน้าที่ดูแลจัดการระยะยาวจะเป็นการยักยอกทรัพย์นายจ้าง แต่ถ้ามีสิทธิถือไว้แค่ระยะเวลาสั้น ๆ รับมา ส่งไป หรือไม่มีสิทธิ์เอาติดตัวไปไหนด้วยจะเป็นการลักทรัพย์นายจ้าง

การลักทรัพย์เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ มีอายุความอย่างน้อย 10 ปี แต่การยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว สามารถยอมความได้ นายจ้างต้องแจ้งความหรือฟ้องศาลภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำผิด ซึ่งการลักทรัพย์และยักยอกทรัพย์เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เพราะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีอาญา และถูกดำเนินคดีแพ่งให้รับผิดชอบค่าเสียหายหรือนำของมาคืนด้วยนั่นเอง

ลักทรัพย์นายจ้างเพราะหิวจนทนไม่ไหว ต้องรับโทษมากแค่ไหน

ลูกจ้างที่ลักทรัพย์เพราะมีความจำเป็นไม่มีทางเลือกอื่นแล้วและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น แอบกินขนมของนายจ้างเพราะหิวจนทนไม่ไหว แอบหยิบเงินแค่พอไปซื้อข้าว 1 กล่อง ของที่ขโมยมีจำนวนไม่มาก ราคาไม่สูง ทำไปเพราะความหิวและความจนบังคับ ถึงแม้จะต้องรับโทษหนักจากการลักทรัพย์นายจ้าง แต่ศาลก็อาจมีคำพิพากษาให้รับโทษเท่ากับการลักทรัพย์ธรรมดาก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท 

เลิกจ้างจากการทำผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง ไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้า

การทำงาน คือ บุคคล 2 ฝ่ายมีสัญญาต่อกันแล้ว การบอกเลิกสัญญาไม่ว่าจะเป็นนายจ้างบอกเลิกจ้าง หรือลูกจ้างแจ้งลาออกจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมีการบอกกล่าวกันล่วงหน้าให้อีกฝ่ายรับรู้ภายในวันกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่จะถึงเพื่อให้มีผลสิ้นสุดสัญญากันในวันกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป ซึ่งมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ถ้าไม่บอกแล้วให้ออกเลยนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้าง หรือหากลูกจ้างไม่ลาออกล่วงหน้าแล้วหายไปเลยนายจ้างเองก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้างเช่นกัน

แต่ในกรณีที่ลูกจ้างทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง นายจ้างสามารถไล่ออกจากงานได้เลย ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย “การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”

แปลว่าเมื่อลูกจ้างทำความผิดตามมาตรา 119 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน หรือ ตามมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนายจ้างสอบสวนจนพบความจริงว่าลูกจ้างทำผิดจริง ก็ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างให้ออกจากงานได้เลยทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง และไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย

เลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ถูกกลั่นแกล้งว่าทำความผิดแล้วไล่ออก นายจ้างต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

ถึงแม้กฎหมายจะให้อำนาจนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้หากทำความผิด แต่ไม่ใช่ว่านายจ้างจะสามารถสร้างเรื่องมาอ้างลอย ๆ แล้วไล่ลูกจ้างออกทันทีทันใดได้ นายจ้างต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่าลูกจ้างคนนี้ที่ถูกเลิกจ้างไปทำความผิดจริง ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม 

นายจ้างต้องรับผิดทางแพ่งจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยกรณีลูกจ้างมีอายุงานครบ 120 วัน และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ดอกเบี้ย และอาจต้องจ่ายเงินเพิ่ม 15% ของค่าชดเชย ทุก ๆ 7 วัน ให้ลูกจ้างด้วยในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายตามมาตรา 9 วรรค 2 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541

และนายจ้างอาจต้องรับโทษทางอาญากรณีไม่จ่ายเงินตามสิทธิให้ลูกจ้าง เช่น ค่าชดเชย ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 144 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเลยนะ

ไม่ระบุความผิด ต้องจ่ายค่าชดเชย

การเลิกจ้างเพราะลูกจ้างทำความผิดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การเลิกจ้างแบบนี้ถ้าไม่ระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือเลิกจ้าง หรือไม่ได้แจ้งให้ลูกจ้างรับรู้ว่าทำความผิดอะไรในตอนเลิกจ้าง นายจ้างจะนำความผิดมาอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้นะ ซึ่งมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 วรรค 2 

  • ไม่ระบุความผิด = นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย
  • ลูกจ้างไม่ได้ทำความผิดจริง = นายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชย

มาตรา 119  นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่ง กรณีใด ดังต่อไปนี้ 

(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง 

(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง 

(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่ จําเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด 

(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร 

(6) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็น กรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย 

การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่ เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้

การกลั่นแกล้งกันไม่ว่าทางใดเพื่อให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหาย เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างกระทำต่อนายจ้าง หรือนายจ้างกระทำต่อลูกจ้าง และเมื่อทำงานร่วมกันแล้วต่างฝ่ายต่างมีหนี้ที่ต้องตอบแทนกัน ลูกจ้างต้องจ่ายหนี้ด้วยการทำงาน นายจ้างต้องจ่ายหนี้ด้วยเงิน ซึ่งไม่ว่าใครจะอยู่ในสถานะใด การให้เกียรติและเคารพกันย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนควรตระหนัก และเมื่อได้รับความเสียหายจากการกระทำของคนอื่น การใช้สิทธิตามกฎหมายที่ตัวเองมีอยู่ก็เป็นทางเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมาย เช่น การประจาน การหมิ่นประมาทผู้อื่น กฎหมายยังช่วยให้เราได้รับความยุติธรรมอีกด้วย

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »