1

JusThat

นายจ้างให้ออกจากงาน ต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างภายใน 3 วัน

มีใครเคยเจอปัญหาหรือกำลังประสบปัญหาถูกให้ออกจากงานแล้วไม่ได้เงินค่าจ้างบ้างไหม ทำงานไม่ครบกำหนดที่ตกลงกันแล้วนายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้ มีปัญหากับนายจ้างเลยไม่ได้เงินค่าจ้าง และมีบ่อยครั้งที่นายจ้างนำเรื่องการไม่จ่ายค่าจ้างมาอ้างเพื่อไม่ให้ลูกจ้างมีปากมีเสียง เช่น นายจ้างไม่จ่ายค่าจ้างตามวันที่ตกลงกัน พอลูกจ้างทวงนายจ้างก็ขู่ไล่ออกและจะไม่จ่ายค่าจ้างทั้งหมด หรือลูกจ้างไม่อยากทำโอฟรีแต่ก็ต้องทำ เพราะกลัวถูกไล่ออกและจะไม่ได้ค่าจ้างของเดือนนั้น

ด้วยความกลัวว่าจะไม่ได้ค่าจ้างนี้เองที่ทำให้ลูกจ้างจำนวนมากไม่กล้าปกป้องสิทธิของตัวเอง บทความนี้ JusThat จึงขอธิบายเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การจ่ายเงินค่าจ้างตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หากลูกเลิกจ้างลูกจ้างจะได้รับเงินค่าจ้างหรือไม่ นายจ้างต้องจ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างภายในกี่วัน อ่านบทความนี้ให้จบแล้วคุณจะได้คำตอบ 

การเลิกจ้าง คืออะไร

การเลิกจ้าง คือ การที่นายจ้างไม่ให้ลูกจ้างทำงานต่อไปและไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้ ไม่ว่าจะเป็นเพราะการสิ้นสุดสัญญาจ้างหรือเหตุผลอื่น โดยจะทำหนังสือเลิกจ้าง บอกเลิกจ้างผ่านแชท บอกเลิกจ้างด้วยวาจาก็ได้ 

ทั้งนี้เมื่อนายจ้างบอกเลิกจ้างแล้วนายจ้างจะถอนคำเลิกจ้างไม่ได้ แปลว่า บอกเลิกจ้างแล้วก็บอกเลย จะกลับคำหรือเปลี่ยนใจทีหลังไม่ได้ โดยนายจ้างต้องบอกเลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง ถ้านายจ้างไม่บอกหรือบอกน้อยกว่าระยะเวลาที่กำหนด นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้กับลูกจ้างด้วย

แต่ถ้าลูกจ้างทำความผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หรือมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เช่น ลักทรัพย์ ยักยอกทรัพย์นายจ้าง นายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไล่ลูกจ้างออกจากงานได้ทันที

Facebook
Twitter
LinkedIn

เลิกจ้างพนักงาน นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างภายใน 3 วัน

การเลิกจ้างไม่ว่าจะเป็นเพราะลูกจ้างไม่ผ่านการทดลองงาน ลูกจ้างลาป่วยบ่อย ลูกจ้างทำงานไม่มีประสิทธิภาพ สิ้นสุดสัญญาจ้าง หรืออื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นเหตุผลใดนายจ้างก็จำเป็นต้องจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้างภายใน 3 วันนับแต่วันเลิกจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน มาตรา 70 วรรค 2

     มาตรา 70 วรรค 2 ในกรณีที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ ตามที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ให้แก่ลูกจ้างภายในสามวันนับแต่วันที่เลิกจ้าง

ถ้านายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างภายใน 3 วันนับแต่วันเลิกจ้าง นายจ้างจะตกเป็นผู้ผิดนัดชำระหนี้ทันที เพราะนายจ้างไม่ทำหน้าที่ชำระหนี้ค่าจ้างให้ลูกจ้าง ทำให้ลูกจ้างสามารถคิดดอกเบี้ยผิดนัดในอัตรา 15% ต่อปีกับนายจ้างได้ทันทีนับแต่วันที่นายจ้างผิดนัด ตามมาตรา 9 วรรค 1 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

     มาตรา 9 วรรค 1 ในกรณีที่นายจ้างไม่คืนหลักประกันที่เป็นเงินตามมาตรา 10 วรรคสอง ไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างบอกเลิกสัญญาจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17/1 หรือไม่จ่าย ค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่าทำงานในวันหยุด ค่าล่วงเวลาในวันหยุด และเงินที่นายจ้างมีหน้าที่ต้องจ่ายตามพระราชบัญญัตินี้ภายในเวลาที่กำหนดตามมาตรา 70 หรือไม่จ่ายเงินกรณีนายจ้างหยุดกิจการตามมาตรา 74 หรือค่าชดเชยตามมาตรา 118 ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชยพิเศษ ตามมาตรา 120 มาตรา 120/1 มาตรา 121 และมาตรา 122 ให้นายจ้างเสียดอกเบี้ยให้แก่ ลูกจ้างในระหว่างเวลาผิดนัดร้อยละสิบห้าต่อปี

ตัวอย่าง A ทำงานเป็นพนักงานขาย ตัดเงินเดือนทุกวันที่ 20 และได้รับค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน B นายจ้างออกหนังสือเลิกจ้าง A วันที่ 30 กันยายน  โดย B ให้ A ออกจากงานในวันที่ 31 ตุลาคม 

แต่ A ได้รับหนังสือเลิกจ้างในวันที่ 3 ตุลาคม B ที่ไม่อยากจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายนให้ A เลยบอกให้ A ไม่ต้องออกจากงานแล้ว 

ต่อมาวันที่ 1 พฤศจิกายน A ไม่ไปทำงานและรอจนถึงวันที่ 3 พฤศจิกายน B ก็ยังไม่จ่ายค่าจ้างของวันที่ 21 – 31 ตุลาคม ให้ A พอ A ทวงถาม B ก็บอกว่าไม่จ่ายเพราะ A ขาดงาน 3 วันติดต่อกันทำให้ B เกิดความเสียหาย B จึงจะเอาค่าจ้างของ A มาใช้แทนค่าเสียหาย

เราจะเห็นว่า B ออกหนังสือเลิกจ้างมาแล้วและ A ก็รับรู้การเลิกจ้างแล้ว B จึงถอนคำเลิกจ้างไม่ได้ ดังนั้นการที่ A ออกจากงานในวันที่ 31 ตุลาคม และไม่ไปทำงานในวันที่ 1 – 3 พฤศจิกายน จึงไม่ใช่การขาดงานเพราะความเป็นนายจ้างและลูกจ้างระหว่าง A และ B ได้สิ้นสุดลงแล้วตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันที่ B เลิกจ้าง A

ทำให้ B ต้องจ่ายเงินค่าจ้างของวันที่ 21 – 31 ตุลาคม ให้ A ภายในวันที่ 3 พฤศจิกายน เมื่อ B ไม่ยอมจ่ายเงินค่าจ้าง A จึงมีสิทธิคิดดอกเบี้ยผิดนัดของเงินค่าจ้างในอัตรา 15% ต่อปีนับตั้งแต่วันที่ 4 พฤศจิกายนไปจนถึงวันที่ B เอาเงินค่าจ้างมาจ่ายให้ A 

และ B ยังต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าของวันที่ 1 – 30 พฤศจิกายน ให้ A ด้วย เพราะ A ได้รับหนังสือเลิกจ้างในวันที่ 3 ตุลาคม การนับค่าบอกกล่าวล่วงหน้าจึงไปสิ้นสุดที่ 30 พฤศจิกายน ไม่ใช่ 31 ตุลาคม 

นายจ้างจงใจไม่จ่ายค่าจ้าง ลูกจ้างเรียกเงินเพิ่ม 15% ทุก 7 วันได้

นอกจากนายจ้างจะต้องจ่ายดอกเบี้ย 15% ต่อปีแล้ว นายจ้างอาจต้องจ่ายเงินเพิ่ม 15% ทุก 7 วันให้กับลูกจ้างด้วย ถ้านายจงใจไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้ลูกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร ตามมาตรา 9 วรรค 2 โดยจะเริ่มนับเงินเพิ่มได้เมื่อพ้น 7 วันนับตั้งแต่วันครบกำหนดจ่าย

     มาตรา 9 วรรค 2 ในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่คืนหรือไม่จ่ายเงินตามวรรคหนึ่งโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร เมื่อพ้นกำหนดเวลาเจ็ดวันนับแต่วันที่ถึงกำหนดคืนหรือจ่าย ให้นายจ้างเสียเงินเพิ่มให้แก่ลูกจ้างร้อยละสิบห้าของเงินที่ค้างจ่ายทุกระยะเวลาเจ็ดวัน

ทั้งนี้เงินเพิ่มไม่ใช่ดอกเบี้ยผิดนัดตามมาตรา 9 วรรค 1 แต่เป็นเงินที่นายจ้างต้องจ่ายเพิ่มเพราะนายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินโดยไม่มีเหตุที่สมควร ว่ากันง่าย ๆ ก็คือเงินเพิ่มคือเงินลงโทษนายจ้าง ดังนั้น ลูกจ้างจึงสามารถเรียกได้ทั้งดอกเบี้ยและเงินเพิ่มไปพร้อม ๆ กัน 

และการคิดเงินเพิ่มและดอกเบี้ย 15% จะถูกคิดไปเรื่อย ๆ จนกว่านายจ้างจะจ่ายเงินต้นให้ลูกจ้าง จ่ายเงินต้นในวันไหนดอกเบี้ยและเงินเพิ่มก็จะถูกหยุดคิดในวันนั้น ตามมาตรา 9 วรรคท้าย

     มาตรา 9 วรรคท้าย ในกรณีที่นายจ้างพร้อมที่จะคืนหรือจ่ายเงินตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง และได้นำเงินไปมอบไว้แก่อธิบดีหรือผู้ซึ่งอธิบดีมอบหมายเพื่อจ่ายให้แก่ลูกจ้าง นายจ้างไม่ต้องเสียดอกเบี้ย หรือเงินเพิ่มตั้งแต่วันที่นายจ้างนำเงินนั้นไปมอบไว้

ถ้าใครกำลังเจอปัญหานายจ้างไม่จ่ายเงินค่าจ้างให้ อย่างแรกที่ควรทำเลยก็คือการส่งโนติสไปให้นายจ้าง เพื่อทวงถามและเตือนให้นายรีบจ่ายเงิน ถ้าส่งแล้วนายจ้างก็ยังทำเป็นไม่หือไม่อือ ก็ฉันไม่จ่ายใครจะทำไม ทางเลือกที่ลูกจ้างจะสามารถทำได้ก็คงหนีไม่พ้นการฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินค่าจ้างและดอกเบี้ยของค่าจ้าง หรืออาจเรียกเงินเพิ่มไปด้วย โดยการยื่นฟ้องต่อศาลแรงงาน แต่ถ้าใครไม่อยากขึ้นศาลก็สามารถยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานได้ หรือที่เราเรียกกันว่าร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน เพื่อให้พนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงิน โดยเลือกใช้สิทธิได้ทางใดทางหนึ่งเท่านั้นนะว่าจะฟ้องศาล หรือร้องเรียนไปที่กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

แต่ถ้าต้องการเรียกร้องค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย ลูกจ้างจะต้องยื่นฟ้องคดีต่อศาลแรงงาน เพราะการกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมเป็นไปตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงาน มาตรา 49 ซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลแรงงาน พนักงานตรวจแรงงานจึงกำหนดค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมไม่ได้นั่นเอง

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »