1

JusThat

เช็คให้ชัวร์ ก่อนขายขาดงานอันมีลิขสิทธิ์​

บทความนี้ JusThat ขอว่าด้วยเรื่องขายขาดงานอันมีลิขสิทธิ์ เมื่อขายขาดไปแล้วลิขสิทธิ์จะยังเป็นของผู้สร้างสรรค์หรือไม่ การขายขาดมีข้อดีหรือข้อเสียยังไง ถ้าไม่อยากขายขาดจะมีทางเลือกอื่นอีกไหม บทความนี้มีคำตอบ

ขายขาด คืออะไร

ขายขาด ภาษาอังกฤษ Buyout คือ การขายผลงานสร้างสรรค์พร้อมโอนลิขสิทธิ์เด็ดขาดแก่บุคคลคนอื่น โดยที่ผู้สร้างสรรค์งานได้รับค่าตอบแทนเพียงครั้งเดียว (เป็นเงินก้อน) หรือได้รับค่าตอบแทนเป็นงวดตามที่ตกลงกัน และผู้สร้างสรรค์จะไม่มีสิทธิ์ในผลงานนั้น ๆ อีกต่อไป เช่น นักเขียนขายขาดนิยายให้สำนักพิมพ์ นักแต่งเพลงขายขาดเนื้อเพลงให้ค่ายเพลง นักวาดขายขาดลายเส้นให้ห้องเสื้อ เป็นต้น

แปลว่าเมื่อขายขาดไปแล้ว ลิขสิทธิ์และกรรมสิทธ์จะโอนไปเป็นของผู้ซื้อแบบเสร็จเด็ดขาดทันที และผู้สร้างสรรค์จะไม่มีสิทธิ์ใช้ผลงานสร้างสรรค์นั้นได้อีกต่อไป เว้นแต่ว่าผู้สร้างสรรค์จะไปซื้อผลงานนั้นกลับคืนมาเป็นลิขสิทธิ์ของตัวเอง

ตัวอย่าง A แต่งนิยายขึ้นมา 1 เรื่องด้วยความคิดริเริ่มและความสามารถของตัวเอง นิยายเรื่องนั้นจะเป็นลิขสิทธิ์ของ A เพียงคนเดียว ซึ่ง A จะนำนิยายเรื่องนั้นไปแก้ไข ดัดแปลง ตีพิมพ์ผลงานเพื่อวางขาย หรือนำไปสร้างเป็นละครก็ทำได้ เพราะ A เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่ตัวเองสร้างสรรค์ขึ้นมา 

ต่อมา A ไปติดต่อขายต้นฉบับนิยายให้สำนักพิมพ์  และสำนักพิมพ์ตกลงซื้อต้นฉบับแบบขายขาด A ต้องโอนทั้งกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ให้สำนักพิมพ์ไปเลย เมื่อสำนักพิมพ์ได้รับโอนลิขสิทธิ์จาก A แล้ว สำนักพิมพ์จะเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์คนใหม่ที่มีสิทธิ์ใช้ผลงานนั้นเพียงผู้เดียว และ A จะไม่มีสิทธิ์นำผลงานนั้นมาทำอะไรได้อีก นอกจากว่า A จะขออนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อนจึงจะทำได้ และทำได้เพียงเท่าที่เจ้าลิขสิทธิ์อนุญาตเท่านั้น

Facebook
Twitter
LinkedIn

ข้อดีและข้อเสียของการขายขาด

ข้อดี

  • ได้รับค่าตอบแทนที่แน่นอนตามที่ตกลงกับคู่สัญญา
  • ลดความเสี่ยงที่จะขายผลงานทางอื่นไม่ได้
  • อาจเป็นที่รู้จักมากขึ้นจากการที่ผู้ซื้อลิขสิทธิ์นำผลงานไปเผยแพร่

ข้อเสีย

  • ไม่สามารถใช้ผลงานนั้นไปต่อยอดได้อีก
  • ไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าตอบแทนจากผลงานนั้นอีกในอนาคต

ทางเลือกอื่น ถ้าไม่อยากขายขาด

การขายผลงานเฉพาะเป็นชิ้นเฉพาะที่ผู้ซื้อตกลงซื้อไป โดยไม่โอนลิขสิทธิ์ไป แต่ให้คนซื้อผลงานสามารถใช้สิทธิ์ตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตได้ เป็นทางเลือกหนึ่งที่ผู้สร้างสรรค์ไม่ต้องขายขาดผลงานของตัวเอง เช่น ขายภาพบนเว็บไซต์ Stock ต่าง ๆ ที่จะมีการให้สิทธิ์ผู้ซื้อสามารถนำภาพไปใช้ได้ตามขอบเขตที่เจ้าของผลงานอนุญาต และเจ้าของผลงานก็ยังสามารถขายผลงานให้กับคนอื่น ๆ ได้อีก เป็นต้น

ถ้าเจ้าของลิขสิทธิ์โดนละเมิดลิขสิทธิ์ ก็สามารถรีบแจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดีอาญาได้ภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำความผิด แต่ถ้าเคยแจ้งความไว้และอยากฟ้องศาลด้วยตัวเอง ก็สามารถยื่นฟ้องคดีอาญาได้ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95

นอกจากนี้เจ้าของลิขสิทธิ์ยังสามารถยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ได้ด้วย โดยยื่นฟ้องคดีภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิด แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »