1

JusThat

ละเมิด VS ผิดสัญญา
มีความแตกต่างกันอย่างไร

การละเมิดและผิดสัญญาต่างก็ทำให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหายเหมือนกัน ไม่ว่าจะเป็นละเมิดหรือผิดสัญญา คนทำก็ต้องจ่ายเงินเพื่อชดใช้ความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่รู้หรือไม่ว่า การละเมิดและการผิดสัญญาแตกต่างกัน เพราะทั้ง 2 อย่างนี้มีที่มาไม่เหมือนกัน บทความนี้ JusThat จึงนำข้อมูลเกี่ยวกับการละเมิดและการผิดสัญญา มาเปรียบเทียบให้ทุกคนได้เข้าใจ ว่าที่จริงแล้วแบบไหนเรียกว่า “ละเมิด” และแบบไหนเรียกว่า “ผิดสัญญา”

ความแตกต่างระหว่าง ละเมิด VS ผิดสัญญา

ละเมิดมีที่มาจากนิติเหตุ คือ เกิดจากการกระทำของบุคคล (บุคคลธรรมดา หรือ นิติบุคคล) โดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อ จนทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายโดยผิดกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นชีวิต ร่างกาย อนามัย เสรีภาพ ทรัพย์สิน หรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใด และผู้เสียหายไม่ได้ยินยอม กฎหมายถือว่าเป็นการทำละเมิด 

ซึ่งกฎหมายกำหนดสิทธิให้ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับค่าสินไหมทดแทน(ค่าเสียหาย) และผู้ทำละเมิดจะต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้ผู้เสียหาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420

  • เป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย
  • โดยจงใจ หรือประมาทเลินเล่อ
  • ทำให้บุคคลอื่นได้รับความเสียหายต่อสิทธิตามกฎหมาย

ตัวอย่าง A ขับรถชน B บนทางม้าลาย ทำให้ B ได้รับบาดเจ็บ ทำให้ B มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจาก A และ A มีหน้าที่ต้องชดใช้ค่าเสียหายให้ B 

ถ้า A ไม่ยอมชดใช้ค่าเสียหายให้ B ก็สามารถฟ้องคดีแพ่งต่อศาลเพื่อให้ A จ่ายค่าเสียหายได้ หรือจะเรียกร้องค่าเสียหายในคดีแพ่งรวมไปกับการฟ้องคดีอาญาก็ได้ เพราะการที่ A ขับรถชน B บนทางม้าลายเป็นการทำความผิดอาญาที่ก่อให้เกิดความเสียหายในทางแพ่ง เรียกว่า คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา

     มาตรา 420 ผู้ใดจงใจหรือประมาทเลินเล่อ ทำต่อบุคคลอื่นโดยผิดกฎหมายให้เขาเสียหายถึงแก่ชีวิตก็ดี แก่ร่างกายก็ดี อนามัยก็ดี เสรีภาพก็ดี ทรัพย์สินหรือสิทธิอย่างหนึ่งอย่างใดก็ดี ท่านว่าผู้นั้นทำละเมิดจำต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อการนั้น

Facebook
Twitter
LinkedIn

ผิดสัญญามีที่มาจากนิติกรรม คือ ต้องมีสัญญาเกิดขึ้นระหว่างบุคคลอย่างน้อย 2 ฝ่ายก่อน มีคนเสนอ และมีคนสนอง เมื่อทุกฝ่ายมีเจตนาตรงกันจึงเกิดเป็นสัญญาที่มีผลผูกพันระหว่างคู่สัญญา ทำให้ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิตามสัญญา และมีหน้าที่ต้องใช้หนี้ให้กันตามสัญญา การผิดสัญญาจึงเป็นการที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำตามข้อตกลงที่สัญญากันไว้ หรือที่เรียกกันว่า ผิดสัญญาทางแพ่ง ทำให้เกิดความเสียหายต่อสิทธิที่อีกฝ่ายมีตามสัญญา ฝ่ายที่ได้รับความเสียหายจึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายได้จากการผิดสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 222

ตัวอย่าง  C จ้างผู้รับเหมาก่อสร้างรั้วรอบบ้าน ตกลงระยะเวลาก่อสร้างและส่งมอบงานไว้ชัดเจน แต่ผู้รับเหมาทิ้งงานไป ไม่มาก่อสร้างรั้วให้เสร็จตามสัญญา ทำให้ C มีสิทธิ์ส่งโนติสไปบอกเลิกสัญญาได้ และหาผู้รับเหมาคนอื่นมาก่อสร้างแทนได้ และ C ยังเรียกให้ผู้รับเหมาจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้นได้ด้วย ถ้าผู้รับเหมาไม่ยอมรับผิดชอบ C ก็สามารถฟ้องคดีแพ่งต่อศาลเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษาบังคับให้ผู้รับเหมารับผิดชอบได้ 

     มาตรา 222 การเรียกเอาค่าเสียหายนั้น ได้แก่เรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายเช่นที่ตามปกติย่อมเกิดขึ้นแต่การไม่ชำระหนี้นั้น

     เจ้าหนี้จะเรียกค่าสินไหมทดแทนได้ แม้กระทั่งเพื่อความเสียหายอันเกิดแต่พฤติการณ์พิเศษ หากว่าคู่กรณีที่เกี่ยวข้องได้คาดเห็นหรือควรจะได้คาดเห็นพฤติการณ์เช่นนั้นล่วงหน้าก่อนแล้ว

รู้หรือไม่?! ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »