รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
เรื่องของลูกจ้างและนายจ้าง มักถูกยกมาเป็นประเด็นในสังคมอยู่เรื่อย ๆ บทความนี้เราจะอธิบายถึงผลที่ตามมาจากการลักทรัพย์นายจ้างและยักยอกทรัพย์นายจ้าง นายจ้างสามารถเลิกจ้างได้อย่างเป็นธรรมหรือไม่ เพราะอะไร มีกฎหมายข้อไหนรองรับบ้าง ?
เมื่อต้องทำงานอยู่ภายใต้การบังคับบัญชา (นายจ้างมีอำนาจสั่งงาน มีอำนาจอนุญาตให้ทำอะไร ไม่ให้ทำอะไร) มีเวลาเข้าออกงาน มีบทลงโทษเมื่อทำความผิด การทำงานเน้นเฉพาะเจาะจงที่ตัวบุคคลจะให้คนอื่นมาทำแทนไม่ได้ และมีงานทำโดยจ่ายผลตอบแทนตลอดระยะเวลาที่ทำงาน สัญญาที่มีลักษณะนี้จึงเป็นสัญญาจ้างแรงงาน ต้องอยู่ภายใต้การบังคับของพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 และกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานฉบับอื่น ๆ
การลักทรัพย์ และ การยักยอกทรัพย์ ฟังแค่ชื่ออาจแยกไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร เพราะมีการเอาของคนอื่นไปเหมือนกัน
สิ่งที่ใช้สังเกตง่าย ๆ ว่าอะไรคือการยักยอก หรือ ลักทรัพย์ ก็คือสิทธิในการครอบครอง ถ้ามีสิทธิครอบครอง มีหน้าที่ดูแลจัดการระยะยาวจะเป็นการยักยอกทรัพย์นายจ้าง แต่ถ้ามีสิทธิถือไว้แค่ระยะเวลาสั้น ๆ รับมา ส่งไป หรือไม่มีสิทธิ์เอาติดตัวไปไหนด้วยจะเป็นการลักทรัพย์นายจ้าง
การลักทรัพย์เป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ยอมความไม่ได้ มีอายุความอย่างน้อย 10 ปี แต่การยักยอกทรัพย์เป็นความผิดต่อส่วนตัว สามารถยอมความได้ นายจ้างต้องแจ้งความหรือฟ้องศาลภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำผิด ซึ่งการลักทรัพย์และยักยอกทรัพย์เป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เพราะมีความผิดต้องถูกดำเนินคดีอาญา และถูกดำเนินคดีแพ่งให้รับผิดชอบค่าเสียหายหรือนำของมาคืนด้วยนั่นเอง
ลูกจ้างที่ลักทรัพย์เพราะมีความจำเป็นไม่มีทางเลือกอื่นแล้วและจำเป็นต่อการดำรงชีวิต เช่น แอบกินขนมของนายจ้างเพราะหิวจนทนไม่ไหว แอบหยิบเงินแค่พอไปซื้อข้าว 1 กล่อง ของที่ขโมยมีจำนวนไม่มาก ราคาไม่สูง ทำไปเพราะความหิวและความจนบังคับ ถึงแม้จะต้องรับโทษหนักจากการลักทรัพย์นายจ้าง แต่ศาลก็อาจมีคำพิพากษาให้รับโทษเท่ากับการลักทรัพย์ธรรมดาก็ได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 334 โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี และปรับไม่เกิน 60,000 บาท
การทำงาน คือ บุคคล 2 ฝ่ายมีสัญญาต่อกันแล้ว การบอกเลิกสัญญาไม่ว่าจะเป็นนายจ้างบอกเลิกจ้าง หรือลูกจ้างแจ้งลาออกจะต้องทำให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยต้องมีการบอกกล่าวกันล่วงหน้าให้อีกฝ่ายรับรู้ภายในวันกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งที่จะถึงเพื่อให้มีผลสิ้นสุดสัญญากันในวันกำหนดจ่ายค่าจ้างครั้งถัดไป ซึ่งมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 ถ้าไม่บอกแล้วให้ออกเลยนายจ้างก็ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้าง หรือหากลูกจ้างไม่ลาออกล่วงหน้าแล้วหายไปเลยนายจ้างเองก็มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากลูกจ้างเช่นกัน
แต่ในกรณีที่ลูกจ้างทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง นายจ้างสามารถไล่ออกจากงานได้เลย ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรคท้าย “การบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรานี้ไม่ใช้บังคับแก่การเลิกจ้างตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัตินี้และมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์”
แปลว่าเมื่อลูกจ้างทำความผิดตามมาตรา 119 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน หรือ ตามมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ และนายจ้างสอบสวนจนพบความจริงว่าลูกจ้างทำผิดจริง ก็ไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างให้ออกจากงานได้เลยทันที โดยไม่ต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง และไม่ต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย
ถึงแม้กฎหมายจะให้อำนาจนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้หากทำความผิด แต่ไม่ใช่ว่านายจ้างจะสามารถสร้างเรื่องมาอ้างลอย ๆ แล้วไล่ลูกจ้างออกทันทีทันใดได้ นายจ้างต้องสามารถพิสูจน์ให้ได้ว่าลูกจ้างคนนี้ที่ถูกเลิกจ้างไปทำความผิดจริง ไม่อย่างนั้นจะถือว่าเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
นายจ้างต้องรับผิดทางแพ่งจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชยกรณีลูกจ้างมีอายุงานครบ 120 วัน และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ดอกเบี้ย และอาจต้องจ่ายเงินเพิ่ม 15% ของค่าชดเชย ทุก ๆ 7 วัน ให้ลูกจ้างด้วยในกรณีที่นายจ้างจงใจไม่จ่ายตามมาตรา 9 วรรค 2 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541
และนายจ้างอาจต้องรับโทษทางอาญากรณีไม่จ่ายเงินตามสิทธิให้ลูกจ้าง เช่น ค่าชดเชย ค่าจ้าง ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 144 มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับเลยนะ
การเลิกจ้างเพราะลูกจ้างทำความผิดไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย แต่การเลิกจ้างแบบนี้ถ้าไม่ระบุไว้อย่างชัดเจนในหนังสือเลิกจ้าง หรือไม่ได้แจ้งให้ลูกจ้างรับรู้ว่าทำความผิดอะไรในตอนเลิกจ้าง นายจ้างจะนำความผิดมาอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยไม่ได้นะ ซึ่งมีระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 มาตรา 119 วรรค 2
มาตรา 119 นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยให้แก่ลูกจ้างซึ่งเลิกจ้างในกรณีหนึ่ง กรณีใด ดังต่อไปนี้
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
(2) จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
(3) ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง
(4) ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วย กฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างได้ตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรง นายจ้างไม่ จําเป็นต้องตักเตือน หนังสือเตือนให้มีผลบังคับได้ไม่เกินหนึ่งปีนับแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทําผิด
(5) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทํางานติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันสมควร
(6) ได้รับโทษจําคุกตามคําพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก ในกรณี (6) ถ้าเป็นความผิดที่ได้กระทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษต้องเป็น กรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามวรรคหนึ่ง ถ้านายจ้างไม่ได้ระบุข้อเท็จจริงอัน เป็นเหตุที่เลิกจ้างไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างหรือไม่ได้แจ้งเหตุที่เลิกจ้างให้ลูกจ้างทราบในขณะที่ เลิกจ้างนายจ้างจะยกเหตุนั้นขึ้นอ้างในภายหลังไม่ได้
การกลั่นแกล้งกันไม่ว่าทางใดเพื่อให้อีกฝ่ายได้รับความเสียหาย เป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างกระทำต่อนายจ้าง หรือนายจ้างกระทำต่อลูกจ้าง และเมื่อทำงานร่วมกันแล้วต่างฝ่ายต่างมีหนี้ที่ต้องตอบแทนกัน ลูกจ้างต้องจ่ายหนี้ด้วยการทำงาน นายจ้างต้องจ่ายหนี้ด้วยเงิน ซึ่งไม่ว่าใครจะอยู่ในสถานะใด การให้เกียรติและเคารพกันย่อมเป็นสิ่งที่ดีที่สุดและเป็นเรื่องปกติที่ทุกคนควรตระหนัก และเมื่อได้รับความเสียหายจากการกระทำของคนอื่น การใช้สิทธิตามกฎหมายที่ตัวเองมีอยู่ก็เป็นทางเลือกที่จะหลีกเลี่ยงการทำผิดกฎหมาย เช่น การประจาน การหมิ่นประมาทผู้อื่น กฎหมายยังช่วยให้เราได้รับความยุติธรรมอีกด้วย
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp