1

JusThat

รับจ้างทำของ ออกแบบผลงาน ลิขสิทธิ์เป็นของใคร

บทความนี้ JusThat ขอว่าด้วยเรื่องของการจ้างทำของที่เป็นงานสร้างสรรค์ 9 ประเภทภายใต้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เช่น การรับจ้างออกแบบกราฟิก การรับจ้างออกแบบตัวการ์ตูน การรับจ้างเขียนบทความ การรับจ้างออกแบบโลโก้ การรับจ้างวาดภาพประกอบ เป็นต้น ถ้าหากมีการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ผลงานนั้นจะเป็นลิขสิทธิ์ของใคร ระหว่างผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง เพื่อคลายข้อสงสัยให้ทุกคน JusThat ได้รวบรวมข้อมูลที่จำเป็นมาไว้ให้คุณในบทความนี้แล้ว อ่านต่อด้านล่างได้เลย

จ้างทำของ สร้างสรรค์ผลงาน 9 ประเภทภายใต้กฎหมายคุ้มครองลิขสิทธิ์ ลิขสิทธิ์ในผลงานเป็นของผู้ว่าจ้าง ยกเว้นตกลงกันให้ผู้รับจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ หรือถือลิขสิทธิ์ร่วมกัน

จ้างทำของ ลิขสิทธิ์เป็นของผู้ว่าจ้าง

สัญญาจ้างทำของ คือ สัญญาจ้างที่มุ่งเน้นไปที่ผลสำเร็จของงาน และผู้ว่าจ้างไม่มีอำนาจในการบังคับบัญชาผู้รับจ้าง เพียงทำงานให้เสร็จตามที่ตกลงกัน และส่งมอบงานที่สมบูรณ์ให้ทันภายในเวลาที่กำหนด เมื่อตรวจสอบงานแล้วไม่มีปัญหาผู้ว่าจ้างก็จ่ายค่าจ้างให้ผู้รับจ้าง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 587

     มาตรา 587 อันว่าจ้างทำของนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่งเรียกว่าผู้รับจ้างตกลงจะทำการงานสิ่งใดสิ่งหนึ่งจนสำเร็จให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่งเรียกว่าผู้ว่าจ้างและผู้ว่าจ้างตกลงจะให้สินจ้างเพื่อผลสำเร็จแห่งการที่ทำนั้น

สำหรับการสร้างสรรค์งานอันมีลิขสิทธิ์ขึ้นโดยการรับจ้างทำของ ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นจะเป็นของผู้ว่าจ้าง แต่ถ้าตกลงกันว่าให้ลิขสิทธิ์เป็นของผู้รับจ้าง หรือตกลงให้ผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้างถือลิขสิทธิ์ร่วมกัน แบบนี้ผู้รับจ้างจึงจะมีสิทธิ์เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ตามที่ตกลงกัน ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 10

     มาตรา 10 งานที่ผู้สร้างสรรค์ได้สร้างสรรค์ขึ้นโดยการรับจ้างบุคคลอื่น ให้ผู้ว่าจ้างเป็นผู้มีลิขสิทธิ์ในงานนั้น เว้นแต่ผู้สร้างสรรค์และผู้ว่าจ้างจะได้ตกลงกันไว้ เป็นอย่างอื่น

ตัวอย่าง A รับจ้างวาดภาพประกอบหนังสือให้ B ในฐานะผู้รับจ้างทำของ และไม่มีการตกลงกันว่าจะให้ A เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ดังนั้นเมื่อมีการสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาตามที่ตกลงกันไว้ ผลงานนั้นก็จะเป็นลิขสิทธิ์ของ B ซึ่ง B จะนำไปใช้ทำอะไรก็ได้ จะตีพิมพ์ซ้ำอีกกี่ครั้งก็ทำได้ เพราะ B เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ส่วน A ซึ่งเป็นผู้สร้างสรรค์ในฐานะผู้รับจ้างจะได้รับค่าตอบแทนตามสัญญาจ้างที่ได้ตกลงกันไว้

ถ้า A ต้องการนำผลงานที่ทำให้ B ไปใช้ประโยชน์ A จะต้องขออนุญาตจาก B ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ให้ถูกต้องก่อน เพราะหากนำไปทำซ้ำ ดัดแปลงผลงาน ฯ โดยไม่ขออนุญาตและไม่อยู่ในข้อยกเว้นการละเมิดลิขสิทธิ์ B ที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ก็สามารถดำเนินคดีละเมิดลิขสิทธิ์กับ A ได้ 

Facebook
Twitter
LinkedIn

ถูกละเมิดลิขสิทธิ์ต้องรีบแจ้งความภายใน 3 เดือน

เนื่องจากการละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดต่อส่วนตัว  เจ้าของลิขสิทธิ์จึงต้องรีบแจ้งความร้องทุกข์ หรือฟ้องศาลเพื่อดำเนินคดีอาญาคนทำความผิดภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 แต่ถ้าเคยแจ้งความไว้แล้วคดีไม่คืบหน้า ก็สามารถยื่นฟ้องคดีอาญาได้ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95

ส่วนการยื่นฟ้องคดีแพ่ง จะต้องยื่นฟ้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายจากผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์ ภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิด แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »