1

JusThat

สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลา
แต่เป็นสัญญาแบบไม่กำหนดระยะเวลา
คืออะไร

อ่านหัวข้อแล้วงงและกำลังสงสัยอยู่ใช่ไหมว่า สัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาจะเป็นสัญญาจ้างแรงงานแบบไม่กำหนดระยะเวลาได้ยังไง บทความนี้ JusThat มีคำตอบ

โดยปกติแล้วสัญญาจ้างแรงงานจะแยกออกเป็น 2 ลักษณะ คือ

  1. สัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดระยะเวลา
  2. สัญญาจ้างแรงงานแบบไม่กำหนดระยะเวลา

และสัญญาจ้างแรงงานก็ไม่จำเป็นต้องเป็นหนังสือสัญญาจ้างเสมอไป เพราะสัญญาจ้างแรงงานเป็นสัญญาไม่มีแบบ ไม่ว่าลูกจ้างและนายจ้างจะทำหนังสือสัญญา ตกลงจ้างกันปากเปล่า ตกลงกันผ่านแชท ก็ถือว่ามีสัญญาจ้างแรงงานระหว่างกันทั้งหมด นายจ้างมีหน้าที่ต้องให้งานลูกจ้างทำและจ่ายเงินค่าแรงงานให้ลูกจ้าง ส่วนลูกจ้างต้องทำงานให้นายจ้างตามคำสั่งและข้อตกลงที่ได้ตกลงกันไว้ เรียกได้ว่าต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้องจ่ายหนี้ให้แก่กันนั่นเอง เรียกว่าสัญญาแบบนี้ว่า สัญญาต่างตอบแทน

ประมวลกฎหมายแพ่งพาณิชย์มาตรา 575  อันว่าจ้างแรงงานนั้น คือ สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่ง เรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะให้สินจ้างตลอดเวลาที่ทำงานให้

พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5  กำหนดไว้ว่า  “สัญญาจ้าง”  หมายความว่า สัญญาไม่ว่าเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาระบุชัดเจน หรือเป็นที่เข้าใจโดยปริยายซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่าลูกจ้าง ตกลงจะทำงานให้แก่บุคคลอีกบุคคลหนึ่งเรียกว่านายจ้าง และนายจ้างตกลงจะจ่ายค่าจ้างตลอดระยะเวลาที่ทำงานให้

สัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดระยะเวลา

หลายคนคงเคยเจอสัญญาจ้างแรงงานที่เขียนระยะเวลาการจ้างไว้อย่างชัดเจน เช่น กำหนดระยะเวลาตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 – 31 ธันวาคม 2565 เป็นต้น 

หากมีเพียงระยะเวลาที่เขียนไว้ในสัญญา สัญญาฉบับนั้นก็จะไม่มีปัญหาให้ต้องถกเถียงกัน เนื่องจากลูกจ้างและนายจ้างต่างก็รู้อยู่แล้วว่าจะจ้างกันถึงเมื่อไหร่ เมื่อไม่มีฝ่ายไหนมีสิทธิ์บอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด ฝ่ายลูกจ้างก็ไม่ต้องพะว้าพะวังว่าจะถูกเลิกจ้างเมื่อไหร่ และมีเวลาเตรียมตัวหางานใหม่ได้ทันที ส่วนนายจ้างก็ไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลังว่าลูกจ้างจะลาออกก่อนครบสัญญาไหม และเมื่อครบกำหนดตามสัญญาจ้าง ลูกจ้างก็เป็นอิสระจากนายจ้างทันที และนายจ้างก็เป็นอิสระจากลูกทันทีเช่นเดียวกัน โดยที่ไม่ต้องมีฝ่ายไหนบอกกล่าวล่วงหน้าเพื่อเลิกสัญญากัน 

สัญญาจ้างแบบไม่กำหนดระยะเวลา ที่มีการเขียนระยะเวลาไว้อย่างชัดเจน

แต่ในโลกความเป็นจริงทุกอย่างก็ไม่ได้เป็นเส้นตรงขนาดนั้น บางครั้งก็อาจมีการหักมุมหรือมีข้อตกลงที่ขัดแย้งกันเองบ้าง เนื่องจากนายจ้างบางรายอาจจะใช้สัญญาจ้างสำเร็จรูปที่มีข้อตกลงให้นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างลูกจ้างได้ หรือให้สิทธิลูกจ้างลาออกจากงานได้ ไม่ว่าจะอยู่ในช่วงเวลาไหนในสัญญาก็ตาม 

ยกตัวอย่างเช่น บริษัท A จ้างนาย M เป็นลูกจ้างในตำแหน่งพนักงานดูแลลูกค้า โดยทำสัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้างตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2565 ถึง 31 ธันวาคม 2565 และยังมีข้อตกลงในสัญญาอีกว่า นายจ้างมีสิทธิ์บอกเลิกลูกจ้างได้ 

หากมองแบบผิวเผินจะดูเหมือนสัญญาจ้างระหว่างบริษัท A และนาย M เป็นสัญญาจ้างแบบกำหนดระยะเวลา เพราะมีการเขียนเอาไว้อย่างชัดเจนว่าบริษัท A จะจ้างนาย M ไปจนถึงเมื่อไหร่ แต่หากพิจารณาให้ดีแล้วเราจะพบว่านาย M นั้นไม่มีความมั่นคงในระยะเวลา 3 เดือนนี้เลย เนื่องจากบริษัท A จะเลิกจ้างนาย M เมื่อไหร่ก็ได้ 

สัญญาจ้างแรงงานระหว่างบริษัท A และนาย M จึงกลายเป็นสัญญาจ้างแรงงานแบบไม่กำหนดระยะเวลา เพราะข้อตกลงให้สิทธิฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนดได้ทำลายความแน่นอนของระยะเวลาไปจนหมดแล้ว

สรุปได้ว่า สัญญาจ้างแรงงางแบบกำหนดระยะเวลา ข้อตกลงเกี่ยวกับระยะเวลาจะต้องผูกพันนายจ้างและลูกจ้างอย่างจริงจัง โดยไม่มีผ่ายไหนมีสิทธิบอกเลิกสัญญาก่อนครบกำหนด 

หากเขียนระยะเวลาไว้แต่มีการให้สิทธิฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบอกเลิกสัญญาได้ เช่น นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้ทันที หรือมีข้อตกลงว่า ลูกจ้างอาจบอกเลิกสัญญาได้โดยบอกกล่าวล่วงหน้า 30 วัน เป็นต้น สัญญาจ้างแรงงานฉบับนั้นจะกลายเป็นสัญญาจ้างแรงงานแบบไม่กำหนดระยะเวลาทันที แม้นายจ้างจะเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลาที่เขียนไว้ก็ไม่ทำให้สัญญาฉบับนั้นกลับมาเป็นสัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดระยะเวลาได้

Facebook
Twitter
LinkedIn

เลิกจ้าง ลาออก ต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง

สัญญาจ้างแรงงานแบบกำหนดระยะเวลา หากลูกจ้างต้องการลาออก หรือนายจ้างต้องการเลิกจ้างก่อนครบกำหนดระยะเวลา จะต้องมีการบอกกล่าวล่วงหน้าให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้าง 

เช่น สัญญาจ้างแรงงานระหว่าง C และ B มีกำหนดระยะเวลา 1 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 ถึง 31 ธันวาคม 2566 และกำหนดจ่ายค่าจ้างทุกวันสิ้นเดือน แต่ C ต้องการลาออกและให้สิ้นสุดสัญญาในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 C จะต้องแจ้งลาออกภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2566 

หรือ B ต้องการเลิกจ้างและให้ C ทำงานถึงวันที่ 20 สิงหาคม 2566 B จะต้องแจ้งให้ C ทราบล่วงหน้าภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2566 แต่ถ้าต้องการเลิกจ้างให้มีผลวันที่ 31 สิงหาคม 2566 B จะต้องแจ้งให้ C ทราบภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2566 

สัญญาจ้างแรงงานแบบไม่กำหนดระยะเวลา ฝ่ายที่ต้องการเลิกสัญญาจะต้องแจ้งให้อีกฝ่ายทราบล่วงหน้าอย่างน้อย 1 งวดการจ่ายค่าจ้างเช่นกัน เพื่อให้อีกฝ่ายมีเวลาเตรียมตัวในการหางานใหม่ หรือหาพนักงานใหม่มาแทนตำแหน่งเดิมที่กำลังจะว่างนั่นเอง หากนายจ้างเลิกจ้างและให้ออกจากงานทันทีโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า นายจ้างจะต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างตามพ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17/1 

แต่ถ้าลูกจ้างทำความผิดตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือทำความผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 เช่น ยักยอกทรัพย์นายจ้าง ลักทรัพย์นายจ้าง กรณีนี้นายจ้างไม่จำเป็นต้องบอกกล่าวล่วงหน้า และลูกจ้างจะหมดสิทธิได้รับค่าบอกกล่าวหน้าและค่าชดเชยด้วยนะ

ถูกเลิกจ้างแล้วไม่ได้ค่าบอกกล่าวล่วงหน้า จะทำยังไงได้บ้าง

ถ้าถูกเลิกจ้างโดยไม่มีความผิดและถูกให้ออกจากงานก่อนวันสิ้นสุดสัญญามีผลตามกฎหมาย แถมนายจ้างยังไม่ยอมจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ด้วย ลูกจ้างสามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานให้พนักงานตรวจแรงงานดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงและออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าให้ได้ หรือจะยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแรงงานเพื่อเรียกเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าก็ได้เช่นกัน แต่ต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่ง จะใช้สิทธิ 2 ทางพร้อมกันไม่ได้นะ

หรือใช้วิธีส่งโนติสเพื่อทวงถามก่อนก็เป็นทางเลือกที่ดี แต่ถ้าส่งโนติสไปทวงแล้วยังไม่ได้ก็สามารถดำเนินคดีได้ภายใน 10 ปี เพราะไม่อย่างนั้นคดีจะขาดอายุความ เมื่อหนี้ขาดอายุความแล้วจะทำให้นายจ้างปฏิเสธการจ่ายเงินดังกล่าวได้

ในส่วนของคดีอาญา นายจ้างอาจต้องรับโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 144 ในกรณีที่ถูกดำเนินคดีอาญาเนื่องจากไม่ยอมจ่ายเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า

และในกรณีที่ลูกจ้างถูกนายจ้างเลิกจ้างอย่างไม่เป็นธรรม ลูกจ้างก็มีสิทธิ์ฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายจากการถูกเลิกจ้างไม่เป็นธรรม ต่อศาลแรงงานได้ด้วยนะ

อ่านบทความนี้จบแล้วก็อย่าลืมไปเช็คสัญญาจ้างของตัวเองให้ดีดีนะ ว่าตอนนี้กำลังถือสัญญาจ้างแรงงานแบบไหนอยู่ จะได้ไม่เสียรู้และเสียสิทธิตามกฎหมายที่ควรได้รับ เพราะคนที่รักษาสิทธิของตัวเองได้ดีที่สุดก็คือตัวเราเอง 

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »