1

JusThat

นายจ้าง คือใคร
หัวหน้างาน ผู้จัดการถือเป็นนายจ้างไหม

เวลาเกิดปัญหาขึ้นระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง สิ่งหนึ่งที่นายจ้างมักจะนำมาอ้างเพื่อหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบก็คือคนที่สั่งไม่ใช่นายจ้าง เช่น กรณีหัวหน้างานบอกเลิกจ้างแล้วบริษัทไม่ยอมจ่ายค่าชดเชย ถ้าใครเคยเจอเหตุการณ์ทำนองก็อาจทำอะไรไม่ถูกเหมือนกัน แต่ถ้าคุณได้อ่านบทความนี้ของ JusThat แล้ว ภูมิคุ้มกันของคุณจะมากขึ้นอย่างแน่นอน

นายจ้าง คือใคร

คำว่า “นายจ้าง” ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5 มีความหมายว่า 

ผู้ซึ่งตกลงรับลูกจ้างเข้าทำงานโดยจ่ายค่าจ้างให้ และหมายความรวมถึง
     (1) ผู้ซึ่งได้รับมอบหมายให้ทำงานแทนนายจ้าง
     (2) ในกรณีที่นายจ้างเป็นนิติบุคคลให้หมายความรวมถึงผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลและผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้มีอำนาจกระทำการแทนนิติบุคคลให้ทำการแทนด้วย

เราจึงแยกนายจ้างออกเป็น 2 ประเภทหลัก ๆ นั่นก็คือ
     1. นายจ้างที่เป็นบุคคลธรรมดา เช่น นาย A นาง B นางสาว C เป็นต้น
     2. นายจ้างที่เป็นนิติบุคคล เช่น บริษัทจำกัด ห้างหุ้นส่วนจำกัด ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล นิติบุคคลอาคารชุด เป็นต้น 

แต่นิติบุคคลเป็นบุคคลสมมติที่ไม่สามารถทำอะไรด้วยตัวเองได้ จึงต้องมีผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล นั่นก็คือกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัท หุ้นส่วนผู้จัดการห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นต้น 

นายจ้างเป็นที่บุคคลธรรม คือใคร

     1. คนที่รับลูกจ้างเข้าทำงานและจ่ายค่าจ้างให้ลูกจ้าง เช่น A รับ G เข้าทำงานเป็นพนักงานเสิร์ฟในร้านอาหารของ A และ A คนจ่ายค่าจ้างให้ G ดังนั้น A จึงเป็นนายจ้าง G
     2. คนที่ได้รับมอบอำนาจให้ทำการแทน A เช่น F และ G เป็นลูกจ้างของ A แต่ F ได้รับมอบให้เป็นคนจัดการงานต่าง ๆ แทน A และมีหน้าที่รับคนเข้าทำงานและเลิกจ้างพนักงานได้ด้วย F จึงเป็นนายจ้าง G ถ้า F บอกเลิกจ้าง G ก็เท่ากับว่า A บอกเลิกจ้าง G

นายจ้างเป็นที่นิติบุคคล คือใคร

     1. นิติบุคคลที่รับลูกจ้างเข้าทำงานให้ เช่น บริษัท O รับ D เข้าทำงานเป็นลูกจ้างตำแหน่งนักออกแบบกราฟิก O จึงเป็นนายจ้างของ D
     2. ผู้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เช่น กรรมการบริษัทเป็นคนตกลงรับ D เข้าทำงานในฐานะของบริษัท O กรรมการบริษัทจึงเป็นนายจ้างด้วย
     3. ผู้รับมอบอำนาจให้มีอำนาจทำการแทนนิติบุคคล เช่น กรรมการบริษัทมอบหมายให้ J ที่เป็น HR มีหน้าที่รับลูกจ้างเข้าทำงานและเลิกจ้างลูกจ้างแทนบริษัทได้ J จึงมีฐานะเป็นนายจ้างด้วย

สรุปได้ว่า หัวหน้างาน ผู้จัดการ หรือเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล(HR) เป็นนายจ้างหรือไม่ สิ่งที่บุคคลเหล่านี้ทำจะมีผลบังคับไหม จะต้องดูว่าเขาได้รับมอบอำนาจให้ทำได้หรือเปล่า ถ้าไม่มีการมอบอำนาจ ไม่มีการสั่งจากนายจ้างให้ทำได้ ก็เท่ากับว่าเขาไม่ได้เป็นนายจ้างและไม่มีอำนาจทำการแทนนายจ้าง 

แต่ถ้าหัวหน้างานหรือผู้จัดการเป็นผู้ที่ได้รับมอบอำนาจจากนายจ้าง เมื่อหัวหน้างานหรือผู้จัดการทำอะไรไปตามขอบเขตอำนาจที่เขาได้รับมาในฐานะของนายจ้าง จะเท่ากับว่านายจ้างเป็นผู้ทำสิ่งนั้นด้วยตัวเอง ซึ่งทำให้มีผลผูกพันนายจ้าง ดังนั้นนายจ้างจึงต้องรับผิดชอบผลการกระทำของผู้แทนนายจ้างด้วยนั่นเอง

Facebook
Twitter
LinkedIn

นายจ้าง ตัวอย่างคำพิพากษาศาลฎีกาที่เกี่ยวข้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3738 – 3739/2561
     เรื่อง พนักงานขับรถบรรทุกสินค้าไม่ได้กำหนดเวลาทำงาน แต่กำหนดให้ใช้ผลงานเป็นเกณฑ์ในการกำหนดค่าจ้าง ได้รับเงินเดือนและค่าเที่ยว การทำงานต้องอยู่ในความควบคุมดูแลของหัวหน้างาน ไม่ได้มีอิสระที่จะปฏิบัติงานเวลาใดก็ได้นิติสัมพันธ์จึงเป็นจ้างแรงงาน ในการทำงานนายจ้าง เชิดนาย ช. ออกเป็นตัวแทน การที่นาย ช บอกเลิกจ้างตามคำสั่งกรรมการผู้มีอำนาจจึงเสมือนเป็นการบอกเลิกจ้างโดยนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8756 – 8759/2560 
     ผู้จัดการฝ่ายบุคคลเป็นผู้บังคับบัญชาของลูกจ้างโดยตรงของโจทก์กับพวก มีอำนาจบังคับบัญชา มอบหมายงานโยกย้ายสับเปลี่ยนหน้าที่การงานพนักงานหรือสั่งการให้พนักงานทุกคนปฏิบัติ จึงเป็นนายจ้าง เมื่อผู้จัดการฝ่ายบุคคลเลิกจ้างโจทก์กับพวก การเลิกจ้างจึงมีผลผูกพันนายจ้าง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7381/2543
     การที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลและผู้บังคับบัญชาของโจทก์นำหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 แจ้งให้โจทก์ทราบว่า จำเลยทั้งสองเลิกจ้างโจทก์นั้นก็ไม่มีผลเป็นการเลิกจ้างเนื่องจากบุคคลดังกล่าวไม่มีอำนาจเลิกจ้างและหนังสือเอกสารหมาย ล. 2 ก็มิใช่หนังสือเลิกจ้าง ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลแรงงานกลางฟังมาก็ไม่ปรากฏพฤติการณ์ว่า จำเลยที่ 2 เชิดเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลหรือ พ. ให้เป็นตัวแทนและมีอำนาจเลิกจ้างโจทก์ได้ เมื่อจำเลยทั้งสองมิได้เลิกจ้างโจทก์ จึงไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7811/2560

     ศ. เป็นกรรมการของจำเลย ตามหนังสือรับรองของสำนักงานทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท ศ. จึงเป็นผู้มีอำนาจหน้าที่จัดการงานของจำเลย เว้นแต่การลงลายมือชื่อผูกพันจำเลยเท่านั้นที่ ศ. ต้องลงลายมือชื่อร่วมกับกรรมการอื่นรวมเป็น 2 คน และประทับตราสำคัญของจำเลยตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองนั้น
     ส่วนที่จำเลยกำหนดให้ ศ. อยู่ในงานด้าน MKT. Advisor ตามแผนผังองค์กรก็เป็นเพียงการกำหนดตำแหน่งงานในส่วนของ MKT. โดยไม่ปรากฏว่ามีการจำกัดอำนาจหน้าที่จัดการงานในส่วนอื่นในฐานะกรรมการ อีกทั้งไม่ปรากฏว่ามีการจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงให้ ศ. พ้นจากการเป็นกรรมการของจำเลย ศ. จึงเป็นผู้แทนของจำเลยในการแสดงความประสงค์ของจำเลย และเป็นผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยซึ่งเป็นนิติบุคคลในการจัดการงานของจำเลย จึงเป็นนายจ้างตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 5

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 173 – 228/2553

    จำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนจำเลยที่ 1 ย่อมมีฐานะเป็นนายจ้างของโจทก์ แต่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นนายจ้างโดยตรงของโจทก์มีฐานะเป็นนิติบุคคล มีจำเลยที่ 2 เป็นกรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1167 ซึ่งความเกี่ยวพันกันในระหว่างกรรมการและบริษัท และบุคคลภายนอกนั้น ให้บังคับตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้ ว่าด้วยตัวแทน และบทบัญญัติว่าด้วยตัวแทน มาตรา 820 มีความหมายว่ากิจการใดอันตัวแทนได้กระทำไปในขอบอำนาจของตัวแทนนั้นเป็นการกระทำของตัวการจำเลยที่ 1 ผู้เป็นตัวการจึงต้องผูกพันต่อบุคคลภายนอกในการกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ได้กระทำไปภายในวัตถุประสงค์ของจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ไม่ผูกพันรับผิดเป็นส่วนตัวต่อโจทก์

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »