รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
“หนี้” เป็นมรดกตกทอดสู่ทายาทเช่นเดียวทรัพย์สิน สิทธิ และหน้าที่ต่าง ๆ โดยที่มรดกจะเกิดขึ้นต่อเมื่อบุคคลถึงแก่ความตาย เมื่อลูกหนี้ตายแล้วมรดกจะตกทอดสู่ทายาททันที หากทำพินัยกรรมไว้มรดกจะตกเป็นของทายาทตามพินัยกรรม แต่หากเจ้ามรดกไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ มรดกทั้งหมดจะตกเป็นของทายาทโดยธรรม
ดังนั้นแม้ลูกหนี้เจ้ามรดกจะถึงแก่ความตายไป หน้าที่ชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ยังมีอยู่โดยตกทอดไปที่ทายาท ตายเจ้าหนี้จึงต้องเรียกให้ทายาทเป็นผู้ชำระหนี้นั่นเอง โดยที่ทายาทต้องรับผิดชอบหนี้ไม่เกินทรัพย์มกรดกที่ได้รับเท่านั้น
แปลว่าถ้าลูกหนี้ตายแล้วทิ้งทรัพย์สินไว้เยอะกว่าหนี้ หรือเพียงพอสำหรับชำระหนี้ เจ้าหนี้จะยังมีโอกาสได้หนี้คืน แต่ถ้าลูกหนี้ตายไปโดยที่ไม่ทิ้งทรัพย์สินไว้เลย หรือทิ้งไว้แต่ไม่พอจ่าย หนี้นั้นจะกลายเป็นหนี้สูญ ตามเก็บกับใครไม่ได้เลย
บทความนี้ JusThat จึงมาแชร์ 3 สิ่งที่เจ้าหนี้ต้องรีบทำ ย้ำเลยนะว่าต้องรีบทำเมื่อลูกหนี้ตายจากไป ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ก็ตาม จะมีอะไรบ้าง อ่านต่อด้านล่างได้เลย
การเป็นหนี้เป็นเรื่องระหว่างบุคคล บางครั้งลูกหลาน พ่อแม่ พี่น้องของลูกหนี้ก็อาจไม่รู้เกี่ยวกับมูลหนี้ที่มีอยู่ และในกรณีที่ลูกหนี้ตายจากไปอย่างกะทันหันโดยไม่ได้บอกกล่าวให้คนรอบตัวรับรู้เกี่ยวกับหนี้ที่มีอยู่ การเตรียมสัญญา หลักฐานต่าง ๆ ไปใช้ยืนยันจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ เพื่อให้ทั้งสองฝ่ายเข้าใจตรงกัน และเจรจาให้ทายาทชำระหนี้ได้ง่ายขึ้น
เมื่อรวบรวมเอกสาร หลักฐานต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว สิ่งต่อไปที่ควรทำคือการส่งโนติส หรือ หนังสือบอกกล่าวทวงถามไปยังทายาทหรือผู้จัดการมรดกให้รับรู้ถึงหนี้ที่มีอยู่ และดำเนินการชำระหนี้ให้เสร็จสิ้น หรืออาจมีการนัดเจรจาเพื่อหาทางออกในการชำระหนี้ก็ได้
หากส่งโนติสไปแล้วสามารถตกลงกันได้ หรือมีการจ่ายหนี้ให้จนหมดครบถ้วน ทางเจ้าหนี้เองก็ไม่ต้องไปฟ้องศาล เพราะคดีแพ่งเป็นคดีที่สามารถตกลงประนีประนอมยอมความกันได้ และทายาทก็ไม่ต้องเสียเวลาขึ้นลงศาลเช่นเดียวกัน
หากตกลงกันไม่ได้ ทำยังไงทายาทก็ไม่ยอมจ่ายหนี้ให้ทั้ง ๆ ที่ตัวเองนั้นได้รับทรัพย์มรดกไปแล้ว วิธีที่เจ้าหน้าต้องทำต่อไปคือการรีบฟ้องคดีต่อศาลภายใน 1 ปี นับตั้งแต่เจ้าหนี้รู้ว่าลูกหนี้ตาย หรือควรรู้ว่าลูกหนี้ตาย ไม่อย่างนั้นคดีจะขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 3
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1754 วรรค 3 ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
สรุปง่าย ๆ คือ เจ้าหนี้จะมีสิทธิเรียกร้องหรือฟ้องให้ทายาทชำระหนี้ได้ทันทีที่รู้ว่าลูกหนี้ตาย ไม่ว่าหนี้นั้นจะถึงกำหนดชำระแล้วหรือไม่ก็ตาม โดยฟ้องคดีแพ่งต่อศาลภายใน 1 ปี ยกตัวอย่างตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3994/2540
แม้หนังสือสัญญากู้ยืมเงินที่ ป. ลูกหนี้ทำไว้กับโจทก์ยังไม่ถึงกำหนดชำระแต่ ป. ได้ถึงแก่ความตายเสียก่อน โจทก์ย่อมมีสิทธิฟ้องคดีเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องได้ภายใน 1 ปี นับแต่เมื่อโจทก์รู้ถึงความตายของ ป. ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสาม เพราะสิทธิเรียกร้องของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นเมื่อ ป. ถึงแก่ความตายหากรอจนหนี้ถึงกำหนดชำระอายุความ 1 ปีอาจจะล่วงพ้นไปแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้ชำระหนี้ได้แม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระ
แต่เจ้าหนี้บางคนก็ไม่ได้ติดตามและรู้ความเคลื่อนไหวของลูกหนี้เลย เช่น เจ้าหนี้ลูกหนี้ที่ทำสัญญากู้ยืมเงินกันมากกว่า 1 ปี จะติดต่อกันทีก็ตอนที่ถึงกำหนดชำระแล้ว กรณีแบบนี้กว่าเจ้าหนี้จะรู้ว่าลูกหนี้ตายจากไปแล้วเวลาก็อาจเลยผ่าน 1 ปีไปแล้ว
หากใครกำลังเจอสถานการณ์แบบนี้อยู่อย่าเพิ่งตกใจไป เพราะกฎหมายบอกไว้ว่า “นับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก” ไม่ใช่ “นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย” แปลว่าแม้ลูกหนี้จะตายมานานแล้วเกิน 1 ปี แต่ถ้าเจ้าหนี้เพิ่งรู้ หรือเพิ่งควรรู้ไม่เกิน 1 ปี เจ้าหนี้ก็ยังมีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ แต่ต้องไม่เกิน 10 นับตั้งแต่ลูกหนี้ตาย ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 4
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตรา 1754 วรรค 4 ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
สุดท้ายนี้ ไม่ว่าคุณจะเป็นลูกหนี้หรือเจ้าหนี้ก็ตาม เมื่อขึ้นชื่อว่าเป็นหนี้ เจ้าหนี้ก็ต้องอยากได้หนี้คืน ส่วนลูกหนี้ก็มีหน้าที่ต้องชำระหนี้ให้ครบถ้วน แต่เหตุการณ์ไม่คาดฝันนั้นสามารถเกิดขึ้นได้เสมอ และไม่มีใครรู้ว่าความตายจะมาถึงตัวเมื่อไหร่ การทำหนังสือสัญญา และเก็บรวบรวมพยานหลักฐานที่สำคัญไว้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คนข้างหลังรู้ถึงที่มาที่ไปของเรื่องราวต่าง ๆ เพื่อจัดการ แก้ไขปัญหาให้สำเร็จได้อย่างลุล่วง ถึงแม้ไม่รู้ทั้งหมดเหมือนผู้ตายแต่ก็ยังดีกว่าไม่รู้อะไรเลย
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp