รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
เป็นเจ้าของที่ดินร่วมกัน ถือกรรมสิทธิ์บ้านรวมกัน ได้รับมรดกตกทอดร่วมกัน อยู่กินฉันสามีภรรยาและหาทรัพย์สินมาได้ร่วมกัน หรืออื่น ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นที่มาของการได้มาซึ่งกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งเจ้าของร่วมทุกคนต่างก็มีสิทธิในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336 ด้วยกันทุกคน แต่อย่างไรก็ตามการใช้สิทธิต่าง ๆ นั้นจะต้องไม่ไปกระทบต่อสิทธิของเจ้าของร่วมคนอื่น ๆ เช่นกัน
ในบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับสิทธิของเจ้าของรวม เมื่อมีทรัพย์สินที่ต่างคนต่างมีส่วนเป็นเจ้าของด้วยกัน หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม เจ้าของรวมจะมีสิทธิทำอะไร ได้แค่ไหน อย่างไรบ้าง
ถ้าไม่มีการตกลงกันไว้เป็นอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็นการตกลงกันแบบชัดเจน หรือตกลงกันโดยปริยาย (รู้แล้วแต่ไม่คัดค้าน) หรือไม่มีกฎหมายกำหนดไว้ให้เป็นอย่างอื่น กรณีนี้จะต้องเป็นไปที่กฎหมายสันนิษฐานไว้ คือ เจ้าของรวมทุกคนมีสิทธิในการจัดการทรัพย์สินรวมกัน ซึ่งเจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งจะไปจัดการเพียงลำพังโดยพละการไม่ได้
แต่ถ้าเจ้าของรวมทุกคนสามารถตกลงกันได้ว่า จะให้ใครเป็นผู้มีสิทธิจัดการทรัพย์สินนั้นได้บ้าง คนที่ได้รับความยินยอมตามข้อตกลงก็จะสามารถจัดการทรัพย์สินได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องให้เจ้าของรวมไปจัดการทรัพย์สินร่วมกันทุกครั้งทุกคน เช่น A B C เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินร่วมกัน ทั้ง 3 คนตกลงกันว่า ให้ B เป็นคนนำบ้านไปปล่อยเช่า และให้ B มีสิทธิจัดการเรื่องการทำสัญญา การหาคนเช่า การเข้าไปติดต่อซ่อมแซมบ้าน และเก็บค่าเช่าทุกเดือน เป็นต้น
หรือกรณีมีบทบัญญัติของกฎหมายกำหนดไว้โดยเฉพาะ เจ้าของรวมผู้มีสิทธิ์จัดการทรัพย์สินก็จะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เช่น การจัดการทรัพย์สินของห้างหุ้นส่วนจำกัด ที่กฎหมายกำหนดให้ผู้เป็นหุ้นส่วนแบบไม่จำกัดเท่านั้นที่มีสิทธิ์เป็นผู้จัดการ
มาตรา 1358 ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมมีสิทธิจัดการทรัพย์สินรวมกัน
ในเรื่องจัดการตามธรรมดา ท่านว่าพึงตกลงโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม แต่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งในทางจัดการตามธรรมดาได้ เว้นแต่ฝ่ายข้างมากได้ตกลงไว้เป็นอย่างอื่น แต่เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจทำการเพื่อรักษาทรัพย์สินได้เสมอ
ในเรื่องจัดการอันเป็นสาระสำคัญ ท่านว่าต้องตกลงกันโดยคะแนนข้างมากแห่งเจ้าของรวม และคะแนนข้างมากนั้นต้องมีส่วนไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งแห่งค่าทรัพย์สิน
การเปลี่ยนแปลงวัตถุที่ประสงค์นั้น ท่านว่าจะตกลงกันได้ก็แต่เมื่อเจ้าของรวมเห็นชอบทุกคน
เจ้าของรวมทุกคนสามารถใช้สิทธิจากกรรมสิทธิ์ของตัวเองในการต่อสู้ ป้องกัน ปกป้องทรัพย์สิน ขัดขวาง ห้ามไม่ให้คนนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวทรัพย์สิน เรียกเอาทรัพย์สินคืนจากคนนอกได้เลย โดยไม่ต้องรอรับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่น เช่น ฟ้องขับไล่ ฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน กรณีนี้เจ้าของรวมคนใดคนหนึ่งสามารถตั้งตัวเองเป็นโจทก์และยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลได้เลย ไม่จำเป็นต้องมีเจ้าของรวมคนอื่นเข้าเป็นโจทก์ร่วมด้วยก็ได้ และหลังจากได้ทรัพย์สินคืนมาแล้ว ทรัพย์สินนั้นก็จะยังเป็นของเจ้าของรวมทุกคนเหมือนเดิม ตามบังคับของ ป.พ.พ. มาตรา 302
มาตรา 1359 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ อาจใช้สิทธิอันเกิดแต่กรรมสิทธิ์ครอบไปถึงทรัพย์สินทั้งหมดเพื่อต่อสู้บุคคลภายนอก แต่ในการเรียกร้องเอาทรัพย์สินคืนนั้น ท่านว่าต้องอยู่ในบังคับแห่งเงื่อนไขที่ระบุไว้ในมาตรา 302 แห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 302 ถ้าการชำระหนี้เป็นการอันจะแบ่งกันชำระมิได้ และมีบุคคลหลายคนเป็นเจ้าหนี้ ถ้าบุคคลเหล่านั้นมิได้เป็นเจ้าหนี้ร่วมกันไซร้ ท่านว่าลูกหนี้ได้แต่จะชำระหนี้ให้ได้ประโยชน์แก่บุคคลเหล่านั้นทั้งหมดด้วยกัน และเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกชำระหนี้ได้ก็แต่เพื่อได้ประโยชน์ด้วยกันหมดทุกคนเท่านั้น อนึ่งเจ้าหนี้แต่ละคนจะเรียกให้ลูกหนี้วางทรัพย์ที่เป็นหนี้นั้นไว้เพื่อประโยชน์แห่งเจ้าหนี้หมดทุกคนด้วยกันก็ได้ หรือถ้าทรัพย์นั้นไม่ควรแก่การจะวางไว้ก็ให้ส่งแก่ผู้พิทักษ์ทรัพย์ซึ่งศาลจะได้ตั้งแต่งขึ้น
นอกจากนี้ ข้อความจริงใดที่เท้าถึงเจ้าหนี้คนหนึ่งเท่านั้นหาเป็นไปเพื่อคุณหรือโทษแก่เจ้าหนี้คนอื่น ๆ ด้วยไม่
การใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินต้องเป็นการใช้ประโยชน์เพื่อตนเอง ซึ่งกฎหมายได้กำหนดไว้ว่า การใช้ทรัพย์สินนั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิของเจ้าของรวมคนอื่น ๆ เช่น A B และ C เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินรวมกัน ทั้ง 3 คนนี้จะมีสิทธิเข้าไปอยู่ในบ้านและใช้ประโยชน์จากที่ดินเหมือนกันทุกคน A จะห้ามไม่ให้ B อยู่ไม่ได้ หรือ C จะฟ้องขับไล่ A ให้ออกไปจากบ้านไม่ได้ หรือ B ไปแจ้งความว่า A บุกรุกบ้านและที่ดินก็ไม่ได้เหมือนกัน เพราะทุกคนต่างก็เป็นเจ้าของด้วยกัน
ส่วนการได้ดอกผลจากทรัพย์สินนั้น กฎหมายให้สันนิษษฐานไว้ก่อนว่า เจ้าของรวมมีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตัวเอง เช่น A ลงเงิน 600,000 บาท B ลงเงิน 600,000 บาท และ C ลงเงิน 800,000 บาท เพื่อซื้อบ้านและที่ดินรวมกัน แล้วนำไปปล่อยเช่าเดือนละ 10,000 บาท ตามบทสันนิษฐานของกฎหมาย A และ B จะได้เงินจากค่าเช่าคนละ 3,000 บาท และ C ได้เงินจากค่าเช่า 4,000 บาท
อย่างไรก็ตามการสันนิษฐานตามมาตรา 1360 วรรค 2 นี้ ไม่ใช่การสันนิษฐานแบบเด็ดขาด A B และ C จึงสามารถตกลงแบ่งเงินกันในสัดส่วนอื่นได้ เช่น แบ่งกันในสัดส่วน 25:50:25 โดยให้ B เป็นคนได้ 5,000 บาท เพราะ B เป็นคนจัดการหาคนมาเช่า เป็นคนดูแลเรื่องทำสัญญา เก็บค่าเช่า ติดต่อเข้าซ่อมบำรุงบ้าน แบบนี้ก็สามารถทำได้เช่นกัน
มาตรา 1360 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิใช้ทรัพย์สินได้ แต่การใช้นั้นต้องไม่ขัดต่อสิทธิแห่งเจ้าของรวมคนอื่น ๆ
ท่านให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิได้ดอกผลตามส่วนของตนที่มีในทรัพย์สินนั้น
เช่น A B และ C เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินรวมกันในสัดส่วน 30:30:40 ตามลำดับ ถ้า C จะจำนองบ้านและที่ดิน C จะสามารถจำนองได้แค่เพียงเท่ามูลค่า 40% ของทรัพย์สินที่ตัวเองถืออยู่เท่านั้น หรือ B ต้องการทำพินัยกรรมโอนบ้านและที่ดินให้ลูก B จะทำพินัยกรรมให้มีผลผูกพันบ้านและที่ดินได้แค่ในส่วน 30% ของ B เท่านั้น และหลังจากที่ B ตายไปแล้ว ส่วน 30% จะกลายเป็นมรดกตกทอดให้ลูกของ B โดยลูกของ B จะเข้ามาเป็นเจ้าของบ้านและที่ดินรวมกันกับ A และ C แทนที่ B ต่อไป
กรณี B ต้องการขายบ้านและที่ดินให้คนอื่นไปเลย ซึ่งรวมถึงส่วนของ A และ C ด้วย แบบนี้ B จะต้องได้รับความยินยอมจากทั้ง A และ C ก่อนจึงจะสามารถทำได้ ถ้าเป็นการขายและโอนไปให้คนอื่น โดยที่ A และ C ไม่ยินยอม แบบนี้การซื้อขายนั้นจะสมบูรณ์เฉพาะในส่วนของ B และไม่ผูกพันในของ A และ C ทำให้คนซื้อได้กรรมสิทธิ์ไปเฉพาะส่วนของ B โดยยังมี A และ C เป็นเจ้าของรวมอยู่ด้วยเหมือนเดิม
มาตรา 1361 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ จะจำหน่ายส่วนของตน หรือจำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันก็ได้
แต่ตัวทรัพย์สินนั้นจะจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันได้ก็แต่ด้วยความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน
ถ้าเจ้าของรวมคนใดจำหน่าย จำนำ จำนอง หรือก่อให้เกิดภาระติดพันทรัพย์สินโดยมิได้รับความยินยอมแห่งเจ้าของรวมทุกคน แต่ภายหลังเจ้าของรวมคนนั้นได้เป็นเจ้าของทรัพย์สินแต่ผู้เดียวไซร้ ท่านว่านิติกรรมนั้นเป็นอันสมบูรณ์
เป็นเจ้าของรวมกันได้ก็ต้องแบ่งแยกออกจากการได้ ถ้าเจ้าของรวมไม่ต้องการถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินร่วมกันต่อไป โดยเจ้าของรวมสามารถเรียกให้มีการแบ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินได้ตลอดเวลาที่ยังเป็นเจ้าของรวมกัน ยกเว้นมีการทำนิติกรรมที่ขัดกันอยู่ เช่น ทำข้อตกลงห้ามแบ่งทรัพย์สินจนกว่าจะครบกำหนด 5 ปี หรือห้ามแบ่งทรัพย์สินจนกว่าจะมีใครคนใดคนหนึ่งแต่งงานออกจากบ้านไป เป็นต้น โดยการตกลงกันไม่ให้แบ่งทรัพย์สินแบบนี้จะมีกำหนดได้ไม่เกินครั้งละ 10 ปี
อีกกรณีที่จะเรียกให้แบ่งไม่ได้ ถ้ามีการตกลงกันว่าจะถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นรวมกันไปตลอดแบบถาวร เช่น J กับ O ซื้อที่ดินรวมกันเพื่อทำทางเข้าบ้านของแต่ละคน และตกลงกันว่าจะใช้ทางร่วมกันไปตลอด
หรือแบ่งไม่ได้เพราะยังไม่ถึงเวลาที่สมควร ซึ่งต้องดูข้อเท็จจริงของแต่ละกรณีไปว่าเมื่อไหร่คือเวลาที่สมควรแบ่งกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่มีเจ้าของรวม
มาตรา 1363 เจ้าของรวมคนหนึ่ง ๆ มีสิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินได้ เว้นแต่จะมีนิติกรรมขัดอยู่ หรือถ้าวัตถุที่ประสงค์ที่เป็นเจ้าของรวมกันนั้นมีลักษณะเป็นการถาวร ก็เรียกให้แบ่งไม่ได้
สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินนั้น ท่านว่าจะตัดโดยนิติกรรมเกินคราวละสิบปีไม่ได้
ท่านว่าเจ้าของรวมจะเรียกให้แบ่งทรัพย์สินในเวลาที่ไม่เป็นโอกาสอันควรไม่ได้
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp