1

JusThat

กรรมสิทธิ์รวม คืออะไร

ตามกฎหมายแล้วจะไม่มีการให้นิยามของคำว่า “กรรมสิทธิ์รวม” เอาไว้ แต่ถ้าพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1356 แล้วจะพบว่า “กรรมสิทธิ์รวม” คือ การที่ทรัพย์สินนั้นมีเจ้าของกรรมสิทธิ์หลายคนรวมกัน หรือว่ากันง่าย ๆ ก็คือ การที่บุคคลหลายคน(ตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป)เป็นเจ้าของทรัพย์สินอย่างเดียวกันร่วมกัน โดยไม่อาจแบ่งแยกได้ว่าทรัพย์สินส่วนไหนเป็นของใคร

     มาตรา 1356 ถ้าทรัพย์สินเป็นของบุคคลหลายคนรวมกัน ท่านให้ใช้ บทบัญญัติในหมวดนี้บังคับ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น

ตัวอย่าง A กับ B ซื้อบ้านพร้อมที่ดินด้วยกัน โดย A ออกเงินเยอะกว่า B คิดเป็นสัดส่วน 60:40 ดังนั้น A จึงมีส่วนเป็นเจ้าของเยอะกว่า B แต่ไม่ว่า A จะมีส่วนเยอะกว่า B แค่ไหน ทั้ง A และ B ต่างก็มีสิทธิ์เป็นเจ้าของในทุกส่วน ทุกพื้นที่ของบ้านและที่ดินนั้นเหมือนกัน โดยแบ่งแยกไม่ได้ว่า A เป็นเจ้าของหลังคาและโรงจอดรถ ตลอดทั้งห้องครัวและห้องรับแขก หรือ B เป็นเจ้าของเฉพาะห้องนอน เพราะทั้ง 2 คนต่างก็เป็นเจ้าของบ้านและที่ดินเหมือนกัน เพียงแต่ A มีส่วนในทรัพย์สินมากกว่า B 

Facebook
Twitter
LinkedIn

การใช้สิทธิ์ของเจ้าของร่วมในกรรมสิทธิ์รวม

โดยปกติแล้วเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินจะมีสิทธิ์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 คือ มีสิทธิ์ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สิน มีสิทธิ์จำหน่าย ได้ดอกผลจากทรัพย์สิน มีสิทธิ์ติดตาม ทวงคืนทรัพย์สินจากคนนอก และสามารถขัดขวางไม่ให้คนนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สินโดยผิดกฎหมายได้ด้วย

     มาตรา 1336 ภายในบังคับแห่งกฎหมาย เจ้าของทรัพย์สินมีสิทธิใช้สอย และจำหน่ายทรัพย์สินของตนและได้ซึ่งดอกผลแห่งทรัพย์สินนั้น กับทั้งมีสิทธิติดตาม และเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของตนจากบุคคลผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือไว้ และมีสิทธิขัดขวาง มิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สินนั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย

ถ้าทรัพย์สินนั้นมีเจ้าของกรรมสิทธิ์เพียงคนเดียว เจ้าของก็สามารถทำทุกอย่างตามมาตรา 1336 ได้เลยโดยไม่ต้องได้รับความยินยอมจากใครก่อน แต่ในกรณีทรัพย์สินมีเจ้าของร่วมกันหลายคน การใช้สิทธิบางอย่างโดยพละการอาจเป็นการกระทบต่อสิทธิของเจ้าของร่วมคนอื่น ๆ ได้ เช่น เจ้าของร่วมคนหนึ่งขายที่ดินและโอนที่ดินให้คนอื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของร่วมคนอื่น หรือ เจ้าของรวมคนหนึ่งนำบ้านไปให้เช่าแล้วเก็บค่าเช่า ดอกเบี้ย และเงินอื่น ๆ ไว้เองคนเดียว โดยที่เจ้าของร่วมคนอื่นไม่ยินยอม เป็นต้น

การใช้สิทธิ์เกี่ยวกับทรัพย์สินที่มีกรรมสิทธิ์รวม จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยหลักกรรมสิทธิ์รวม ซึ่งเจ้าของรวมทุกคนจะมีสิทธิต่าง ๆ ดังนี้

  1. สิทธิในการจัดการทรัพย์สินร่วมกัน (มาตรา 1358)
  2. สิทธิในการต่อสู้บุคคลภายนอกและเรียกเอาทรัพย์สินคืน (มาตรา 1359)
  3. สิทธิในการใช้ประโยชน์และได้ดอกผลจากทรัพย์สิน (มาตรา 1360)
  4. สิทธิในการจำหน่าย จำนอง ก่อภารติดพันในส่วนของตัวเอง (มาตรา 1361)
  5. สิทธิเรียกให้แบ่งทรัพย์สินที่เป็นกรรมสิทธิ์รวม (มาตรา 1363)
นอกจากสิทธิแล้ว เจ้าของรวมทุกคนต่างก็มีหน้าที่ออกค่าใช้จ่ายในการจัดการทรัพย์สิน ค่าภาษีอากร ค่าบำรุงรักษาทรัพย์สิน และค่าใช้ทรัพย์สินนั้นด้วยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1362 โดยแต่ละคนต้องออกเงินค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนเท่าไหร่ ก็ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของเจ้าของร่วมที่มีต่อกัน กรณีไม่มีการตกลงกันแต่มีเจ้าของคนใดคนหนึ่งเอาทรัพย์สินไปใช้ประโยชน์เพียงคนเดียว เจ้าของร่วมคนอื่นที่เหลือก็ไม่จำเป็นต้องออกค่าใช้จ่ายในส่วนนั้น 

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »