1

JusThat

คดีแพ่ง VS คดีอาญา แตกต่างกันยังไง

บทความนี้ JusThat ขอเล่าเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างคดีแพ่งและคดีอาญา คดีทั้ง 2 แบบนี้มีความแตกต่างกันอย่างไร และมีที่มาจากไหน ทำไมจึงต้องกำหนดมีคดีแพ่งและคดีอาญาแยกจากกัน บทความนี้มีคำตอบ

ความแตกต่างระหว่าง คดีแพ่ง VS คดีอาญา

คดีแพ่ง

คดีแพ่ง คือ คดีที่มีการโต้แย้งสิทธิ หน้าที่กันระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย (เอกชนกับเอกชน) เรียกคดีประเภทนี้ว่า คดีมีข้อพิพาท หรือเป็นคดีที่มีการร้องขอต่อศาลให้ศาลรับรองสิทธิบางอย่างให้ เรียกว่า คดีไม่มีข้อพิพาท 

คดีมีข้อพิพาท มีการโต้แย้งสิทธิ หน้าที่กันระหว่างเอกชนกับเอกชน เช่น

คดีไม่มีข้อพิพาท เป็นคดีที่จะต้องร้องขอให้ตัวเองมีสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่งจากศาล แต่ถ้ามีคนยื่นขอคัดค้าน จากคดีไม่มีข้อพิพาทก็สามารถกลายเป็นคดีมีข้อพิพาทได้เหมือนกัน เช่น

  • ขอเป็นผู้จัดการมรดก
  • ขอเป็นผู้ปกครองผู้เยาว์
  • ขอทำนิติกรรมแทนผู้เยาว์
  • ขอให้ศาลสั่งให้เป็นบุคคลไร้ความสามารถ เสมือนไร้ความสามารถ หรือสาบสูญ
  • ขอแสดงสิทธิ์ในที่ดินโดยการครอบครองปรปักษ์
  • ขอสิทธิการเลี้ยงดูบุตร

การดำเนินคดีแพ่งจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อมีการฟ้องศาล เพราะคดีแพ่งเป็นเรื่องผลประโยชน์ส่วนตัวของแต่ละบุคคล ที่สามารถตกลงกันเองได้โดยไม่ต้องให้รัฐเข้าไปเกี่ยวข้อง แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ หรือมีความจำเป็นต้องให้ศาลรับรองสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง ต้องมีการฟ้องคดีต่อศาลก่อนกระบวนการต่าง ๆ จึงจะเริ่มต้นขึ้น

คดีอาญา

คดีอาญา คือ คดีที่มีผู้กระทำความผิดที่มีโทษทางอาญา การดำเนินคดีอาญาจะเป็นไปเพื่อพิสูจน์ความผิดและให้ผู้กระทำความผิดได้รับโทษเพื่อชดใช้สิ่งที่ได้ทำลงไป 

  • ติดคุก 
  • โดนปรับ
  • ถูกกักขัง
  • โดนริบทรัพย์สิน
  • ประหารชีวิต

การดำเนินคดีอาญาจะเริ่มต้นขึ้นเมื่อผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์สำหรับคดีอาญาอันยอมความได้ โดยต้องรีบแจ้งความภายใน 3 เดือนนับแต่วันที่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำผิด ส่วนคดีอาญาแผ่นดินเป็นคดีอาญาประเภทที่ยอมความไม่ได้ การดำเนินคดีจะเริ่มต้นขึ้นทันทีที่มีการกระทำความผิด เพราะคดีประเภทนี้เป็นคดีที่มีความเสียหายต่อประชาชนโดยรวม และรัฐเป็นผู้เสียหายโดยตรงที่มีอำนาจในการดำเนินคดีได้ การดำเนินคดีจึงเริ่มต้นได้ทันทีโดยไม่ต้องมีผู้เสียหายไปแจ้งความร้องทุกข์

ถูกดำเนินคดีอาญา ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ไม่เท่ากับ เป็นผู้กระทำความผิด

เนื่องจากการดำเนินคดีอาญาเป็นระบบกล่าวหา คือ มีการแยกอํานาจหน้าที่สอบสวน ฟ้องร้อง และหน้าที่พิจารณาพิพากษาคดีออกจากกัน โดยพนักงานสอบสวนมีอำนาจหน้าที่สอบสวน รวบรวมพยานหลักฐาน พนักงานอัยการมีอำนาจหน้าที่ตรวจสำนวน ฟ้องคดีต่อศาล และศาลมีอำนาจหน้าที่พิจารณาคดี พิพากษาว่าผู้ถูกกล่าวหามีความผิดหรือไม่ ต้องได้รับโทษอย่างไร

และในระหว่างดำเนินคดีผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิดจะได้รับผลกระทบในด้านสิทธิและเสรีภาพ จึงต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ถูกกล่าวหาเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะมีการพิสูจน์ว่าทำผิดจริง และศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดว่าเป็นผู้กระทำความผิด

Facebook
Twitter
LinkedIn

รู้หรือไม่?! ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »