1

JusThat

ไม่มีพินัยกรรม มรดกตกเป็นของใคร
สิ่งที่ต้องรู้เมื่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดมาถึง

มรดกตกทอดเป็นสิ่งที่สร้างความคลางแคลงใจกับการที่พี่น้อง ไม่ยอมแบ่งมรดก และการแย่งชิงมรดกก็มักจะถูกนำมาใส่ไว้ในพล็อตละครไทยเรื่อยมา เช่น ทายาทเศรษฐีที่ถูกทอดทิ้งวันดีคืนดีก็ได้รับมรดกก้อนโต แต่ชีวิตจริงนั้นยิ่งกว่านิยาย และใจคนยากนักหยั่งถึง จู่ ๆ อาจจะมีมรดกจากคุณย่า สมบัติจากญาติพี่น้องตกมาถึงตัวก็ได้นะ

ใครบ้างคือทายาทโดยธรรมตามกฎหมาย

บทความนี้เราจึงจะมาเล่าเกี่ยวกับการแบ่งมรดก ไม่มีพินัยกรรม ทายาทตามกฎหมายคือใคร อัตราส่วน การแบ่งมรดกเป็นยังไง ทายาทโดยธรรม คู่สมรสมีสิทธิได้รับมรดกเท่ากันไหม เรานำมารวมไว้ในบทความนี้ให้ทุกคนได้อ่านแล้ว

กองมรดก คืออะไร

ตายแล้วมรดกไปไหน สมบัติจะตกอยู่ที่ใคร ได้ยินคำว่าสมบัติแล้ว อาจจะต้องนึกถึงมรดกก้อนโตที่ได้รับสืบทอดมา แต่มรดกที่ได้มาจะมีแต่ทรัพย์สินหรือเปล่านะ ?

หลายคนอาจเคยได้ยินมาว่า รับมรดกก็ต้องรับหนี้ไปด้วย พ่อแม่เป็นหนี้ ลูกต้องใช้แทนไหม ถ้าผู้ตายมีหนี้อยู่และยังจ่ายคืนไม่หมดก่อนตาย ทายาทที่รับมรดกไปต้องจ่ายหนี้ให้ด้วย

กองมรดคือ ทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่างๆที่เจ้ามรดกมีอยู่ก่อนตาย ตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1600 บัญญัติไว้ว่า “ภายใต้บังคับของบทบญัญัติแห่งประมวลกฎหมายน้ี กองมรดกของผู้ตาย ได้แก่ ทรัพย์สินทุกชนิดของผู้ตาย ตลอดทั้งสิทธิ หน้าที่ และความรับผิดต่าง ๆ เว้นแต่ตามกฎหมายหรือโดยสภาพแล้วเป็นการเฉพาะตัวของผู้ตายโดยแท้”

  • ทรัพย์สินทุกชนิด เช่น รถ เงิน เครื่องประดับ ของใช้ รวมถึงทรัพย์ที่ไม่มีรูปร่างด้วย คือ สิทธิที่ผูกพันอยู่กับสังหาริมทรัพย์ และอสังหาริมทรัพย์ เช่น ภาระจำยอมในที่ดิน สิทธิครอบครองที่ดิน
  • สิทธิต่าง ๆ ของผู้ตาย เช่น สิทธิเรียกร้องค่าจ้าง สิทธิเรียกร้องค่าชดเชย สิทธิเรียกร้องให้จ่ายหนี้ 
  • หน้าที่ สิ่งที่ต้องทำก่อนตาย เช่น ต้องจ่ายหนี้ ต้องส่งของให้ลูกค้า
  • ความรับผิด สิ่งที่ต้องชดใช้เพราะทำผิดสัญญา ละเมิดคนอื่น ฯ เช่น ก่อนตายขับรถโดยประมาทชนคนเสียชีวิตต้องจ่ายค่าเสียหายให้ ถ้ายังไม่ได้จ่ายค่าเสียหายตัวนี้ก็จะเป็นมรดกด้วย

ใครมีสิทธิ์ได้รับมรดก

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1599 ระบุไว้ว่า “เมื่อบุคคลใดตายมรดกของบุคคลนั้นจะตกทอดแก่ทายาท” มีมรดกกองอยู่ตรงหน้าแล้ว จะแบ่งมรดก พี่น้องคนไหนบ้าง ต้องดูว่าผู้ตายทำพินัยกรรมยกอะไรให้ใครบ้าง อะไรที่ไม่ได้ทำพินัยกรรมไว้ก็ต้องนำมาแบ่งให้กับทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดก โดยทายาทจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ ทายาทโดยพินัยกรรม และ ทายาทโดยธรรม

ทายาทโดยพินัยกรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกตามคำสั่งเสียของผู้ตาย

ทายาทโดยธรรม คือ ทายาทที่มีสิทธิ์รับมรดกตามที่กฎหมายกำหนด ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1629 จะแบ่งเป็นทายาทประเภทคู่สมรส คือ คนที่จดทะเบียนสมรสกับผู้ตาย และทายาทประเภทญาติ คือ ลูก หลาน เหลน พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า ตา ยาย ลุง ป้า น้า อา

และคนที่จะเป็นทายาทได้ต้องมีชีวิตอยู่ในเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตายด้วยนะ ถ้าไม่ได้มีชีวิตอยู่ในตอนที่เจ้ามรดกตายจะไม่ถูกนับว่าเป็นทายาท…

  • ตายก่อนเจ้ามรดก ไม่ว่าจะตายตามธรรมชาติหรือตายเพราะศาลสั่งให้เป็นบุคคลสาบสูญ
  • ตายพร้อมกันกับเจ้ามรดก ตัวอย่าง A และ B เป็นลูกของ C แต่ A ตายพร้อม C ดังนั้น ทายาทของ C คือ B เพราะ A ตายพร้อม C ไปแล้วทำให้เป็นทายาทรับมรดกไม่ได้
  • เกิดทีหลังเจ้ามรดกตาย แต่ก็มีข้อยกเว้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1604 วรรค 2 สำหรับทารกที่อยู่ในท้องแม่นะ ถึงแม้ว่าเขาจะเกิดมาภายหลัง ไม่มีสภาพบุคคลในขณะที่เจ้ามรดกตาย แต่ถ้าเขาเกิดมามีชีวิตรอดอยู่ภายใน 310 วันนับแต่วันที่เจ้ามรดกตายก็ต้องถือว่าเขาเป็นทายาทนะ เขาจะมีสิทธิได้แบ่งมรดกกับทายาทคนอื่น ๆ เหมือนกัน
ทายาท 6 ลำดับและคู่สมรส ผู้มีสิทธิรับมรดกตามกฎหมาย

ลำดับทายาทโดยธรรม

เรารู้กันแล้วว่าทายาทโดยธรรมแบ่งเป็นคู่สมรสและญาติ ซึ่งญาติก็มีหลายคน บางคนอาจอยู่ในครอบครัวใหญ่ บางคนก็อยู่ในครอบครัวเล็ก การนับลำดับทายาทที่มีสิทธิรับมรดกให้ถูกต้องตามกฎหมาย จึงเป็นเรื่องที่ต้องเข้าใจเพื่อให้เข้าใจภาพของการแบ่งมรดก ตามกฎหมายว่าด้วยมรดกใครคือทายาทโดยธรรมลำดับแรก ใครคือทายาทลำดับรอง

ทายาทโดยธรรม คือใคร 1.สามี ภรรยา  2. ญาติ 6 ลำดับ

  1. ผู้สืบสันดาน คือ คนที่สืบเชื้อสายต่อจากเจ้าของมรดก ลูก หลาน เหลน เป็นต้น
  2. พ่อ แม่
  3. พี่น้องแท้ ๆ 
  4. พี่น้องคนละพ่อแม่
  5. ปู่ ย่า ตา ยาย
  6. ลุง ป้า น้า อา

การแบ่งมรดก ไม่มีพินัยกรรมตามลำดับทายาท

การแบ่งมรดกที่ไม่มีพินัยกรรมให้กับทายาทโดยธรรมเราต้องเรียงตามลำดับของทายาทนะ จะแบ่งให้แบบข้ามหน้าข้ามตากันไม่ได้ เพราะแต่ละคนก็มีตำแหน่งทายาทของตัวเองอยู่แล้วตามที่ระบุไว้ในมาตรา 1630 วรรค 1 ว่า “ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณีในลำดับหนึ่ง ๆ ตามลำดับมรดก มาตรา1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย”

ยกตัวอย่างที่ 1 คุณตาอายุ 80 ปีเสียชีวิต มีลูก หลาน เหลน ครบทั้ง 3 รุ่น

ลูกจะเป็นคนได้มรดก หลานและเหลนไม่มีสิทธิ์ได้รับ แต่ถ้าลูกของคุณตาเสียชีวิตแล้ว หลานของคุณตาจะได้รับมรดกแทน

ตัวอย่างที่ 2 คุณอา มีพี่น้อง 3 คน มีลูก 2 คนและพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่

กองมรดกจะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน แบ่งให้ลูก 2 คน พ่อและแม่ คนละเท่า ๆ กัน แต่พี่น้องไม่มีสิทธิ์ได้มรดก เพราะถึงแม้พ่อแม่จะเป็นทายาทลำดับที่ 2 แต่การที่ทายาทลำดับที่ 1 และ 2 ยังมีชีวิตอยู่ในตอนที่เจ้ามรดกตายถูกจัดอยู่ในข้อยกเว้นให้พ่อแม่รับมรดกได้เหมือนกับลูก

ตัวอย่างที่ 3 A มีลูกบุญธรรม 1 คน และลูกแท้ ๆ 2 คน พอ A เสียชีวิตลูกทั้ง 3 คนจะได้รับมรดกคนละเท่า ๆ กัน แต่ถ้า A ไม่มีลูก ไม่มีหลานและพ่อแม่เสียชีวิตแล้ว พี่น้องแท้ ๆ ของ A ถึงจะมีสิทธิ์ได้รับมรดก

และถ้าหากว่าผู้ตายมีสามีหรือภรรยา คู่สมรสของผู้ตายจะมีสิทธิ์ได้รับมรดกร่วมกับทายาทตามลำดับ ซึ่งสัดส่วนที่จะได้รับจะเป็นไปตามที่หลักกฎหมายมรดกกำหนดไว้ตามมาตรา 1635 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

การแบ่งมรดกทายาทโดยธรรม ญาติและคู่สมรส

เวลาที่คนแต่งงานกันแล้วใช้ชีวิตอยู่ด้วยกันสิ่งที่หามาได้จะเป็นสินสมรสและมีสินส่วนตัวด้วย สำหรับสินส่วนตัวไม่ใช่ปัญหาเพราะยังไงก็เป็นของส่วนตัวอยู่แล้วจะกลายเป็นกองมรดกทันที แต่สินสมรสเป็นทรัพย์สินของทั้ง 2 คน เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งตาย ต้องหารสินสมรสเป็น 2 ส่วน ครึ่งนึงเป็นของคนที่อยู่ อีกครึ่งหนึ่งเป็นของคนที่ตายและกลายเป็นกองมรดก แปลว่า ถ้าเจ้ามรดกมีคู่สมรส กองมรดกจะมีทั้งสินสมรสที่แบ่งแล้วและสินส่วนตัวรวมกัน ทีนี้เรามาดูอัตราส่วน การแบ่งมรดก กันต่อนะ

  1. เจ้ามรดกมีทายาทลำดับที่ 1 โดยที่พ่อแม่ที่มีชีวิตอยู่หรือไม่ก็ตาม คู่สมรสจะได้รับมรดกเสมือนลูก เช่น ลูกตายแล้ว มีหลาน 2 คน มีสามี มีพ่อแม่ กองมรดกจะถูกแบ่งออกเป็น 5 ส่วน แต่ละคนจะได้ไปคนละเท่ากัน
  2. เจ้ามรดกไม่มีทายาทลำดับที่ 1 แต่มีทายาทลำดับที่ 3 หรือทายาทลำดับที่ 2 คู่สมรสจะได้รับมรดก 50%  อีก 50% ให้พ่อแม่คนละ 25% ถ้ามีคนเดียวก็ได้ 50% แต่ถ้าพ่อแม่ตายแล้วพี่น้องจะได้ 50% เอาไปแบ่งกันคนละเท่า ๆ กัน
  3. เจ้ามรดกไม่มีทายาทลำดับที่ 1 แต่มีทายาทลำดับที่ 4 – 6 คู่สมรสจะได้มรดก 2 ใน 3 ส่วนที่เหลือจะเป็นของทายาทตามลำดับ
  4. เจ้ามรดกไม่มีทายาทประเภทญาติเลย คู่สมรสจะได้มรดกทั้งหมด 100%
  5. เจ้ามรดกไม่มีสามีหรือภรรยา ก็แบ่งมรดกตามลำดับเลย ถ้ามีทั้งทายาทลำดับที่ 1 และ 2 ทายาทลำดับนี้จะได้แบ่งเท่า ๆ กัน ทายาทลำดับที่ 3 – 4 จะได้แบ่งก็ต่อเมื่อไม่มีทายาทลำดับที่  1 และ 2 เท่านั้นนะ

เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก

มีกองมรดกก็ต้องมีสิ่งที่ไม่ใช่กองมรดก ซึ่งสิ่งที่จะเป็นกองมรดกของผู้ตายต้องเป็นสิ่งที่มีอยู่ก่อน ได้มาก่อนที่จะตาย ดังนั้นทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่ ความรับผิดที่เกิดขึ้นหลังจากตายหรือเกิดขึ้นเพราะตาย เช่น เงินประกันชีวิต เงินประกันอุบัติเหตุ เงินประกันการฆาตกรรม ไม่เป็นมรดกเพราะเป็นเงินที่มีสิทธิได้รับหลังจากตายแล้ว ส่วนเงินที่มีสิทธิได้รับก่อนตายแต่ยังไม่ได้มาครอบครองถือเป็นมรดกนะ 

ถ้าผู้ตายมีสิทธิต่าง ๆ ที่ต้องเรียกร้องเงินก่อนตายแต่ยังไม่ได้เรียกร้อง ทายาทก็สามารถดำเนินการแทนได้ เช่น เงินชดเชยจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม เงินค่าจ้างที่ยังไม่ได้เรียกร้องเอา หนี้ที่ถูกกู้ยืมเงินและยังไม่ได้รับคืนมา หนี้ที่เกิดจากการปล่อยเครดิตลูกค้า เงินที่ถูกเบี้ยวจากการจ้างทำของ เป็นต้น โดยการร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง หรือฟ้องศาลด้วยตัวเองก็สามารถทำได้ 

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »