1

JusThat

พนักงานลาป่วยไม่มีใบรับรองแพทย์ นายจ้างหักเงินไม่ได้

มีใครเคยเจอเหตุการณ์ลาป่วยไม่มีใบรับรองแพทย์เพราะไม่ได้ไปหาหมอแล้วโดนหักเงินค่าจ้างบ้าง ถ้าไม่อยากโดนหักเงินก็ต้องพาร่างกายที่ต้องการพักผ่อนไปหาหมอแค่เพราะใบรับรองแพทย์ใบเดียว เหตุการณ์เกิดขึ้นอยู่ทั่วไปในสังคมของเรา จนหลาย ๆ คนมองว่านี่เป็นเรื่องปกติเพราะที่ไหนเขาก็ทำกัน 

แต่ JusThat  ขอบอกเลยนะว่าการหักเงินค่าจ้างกรณีพนักงานลาป่วยไม่มีใบรับรองแพทย์นั้นไม่ใช่เรื่องปกตินะ เพราะจริง ๆ แล้วนายจ้างไม่มีอำนาจหักเงินลูกจ้างจากการลาป่วย ไม่ว่าลูกจ้างจะมีใบรับรองแพทย์มาแสดงหรือไม่ก็ตาม 

ลูกจ้างมีสิทธิ์ลาป่วยได้ตามที่ป่วยจริง

หลายคนอาจมีภาพจำว่าใน 1 ปี พนักงานจะมีสิทธิลาป่วยได้แค่ 30 วันต่อปีเท่านั้น ถ้าป่วยหลังจากนั้นอีกก็ทนทำงานไปทั้งที่ป่วยอยู่ แต่ความจริงแล้วไม่ใช่อย่างนั้นเลย เพราะตามมาตรา 32 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง แปลว่า หากใช้สิทธิลาป่วยครบ 30 วันแล้ว แต่เกิดป่วยขึ้นมาอีก ลูกจ้างก็มีสิทธิลาป่วยได้อีกโดยจะลากี่วันก็ได้ตามที่ป่วยจริง ๆ 

ลูกจ้างลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป นายจ้างอาจขอดูใบรับรองแพทย์ได้

หากลูกจ้างลาป่วยตั้งแต่ 3 วันขึ้นไปและไม่มีใบรับรองแพทย์มาแสดงให้นายจ้างดู ลูกจ้างสามารถอธิบาย ชี้แจงที่มาที่ไปของเรื่องราวต่าง ๆ แทนได้ 

          มาตรา 32 ให้ลูกจ้างมีสิทธิลาป่วยได้เท่าที่ป่วยจริง การลาป่วยตั้งแต่สามวันทำงานขึ้นไป นายจ้างอาจให้ลูกจ้างแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการ  ในกรณีที่ลูกจ้างไม่อาจแสดงใบรับรองของแพทย์แผนปัจจุบันชั้นหนึ่งหรือของสถานพยาบาลของทางราชการได้  ให้ลูกจ้างชี้แจงให้นายจ้างทราบ

      ในกรณีที่นายจ้างจัดแพทย์ไว้ ให้แพทย์นั้นเป็นผู้ออกใบรับรอง เว้นแต่ลูกจ้างไม่สามารถให้แพทย์นั้นตรวจได้

          วันที่ลูกจ้างไม่สามารถทำงานได้เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นเนื่องจากการทำงาน และวันลาเพื่อคลอดบุตรตามมาตรา 41 มิให้ถือเป็นวันลาป่วยตามมาตรานี้

นายจ้างมีหน้าที่จ่ายเงินในวันลาป่วยให้ลูกจ้างไม่เกิน 30 วันต่อปี

ตามมาตรา 57 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 กำหนดให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างในวันลาป่วยเท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกิน 30 วันทำงาน หมายความว่า หากได้รับค่าจ้าง 21,000 บาทต่อเดือน จะคิดเป็นรายวันได้ 700 บาทต่อวัน ถ้าในเดือนนั้นลูกจ้างลาป่วยไป 3 วัน นายจ้างก็ต้องจ่ายค่าจ้างเต็มทั้ง 21,000 บาท จะหักเงิน 2,100 บาทจากเงินเดือนลูกจ้างไม่ได้  

หรือกรณีพนักงานรายวันได้รับค่าจ้างวันละ 600 บาท หยุดประจำสัปดาห์ทุกวันจันทร์และอังคาร ลูกจ้างลาป่วยวันพุธ ศุกร์และเสาร์ กรณีนี้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้ลูกจ้างรายวันในวันที่เขาลาป่วยด้วย จะโมเมไม่จ่ายเงินในวันพุธ ศุกร์ และเสาร์ จำนวน 1,800 บาท โดยอ้างว่าลูกจ้างไม่ได้มาทำงานไม่ได้นะ

          มาตรา 57 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาป่วยตามมาตรา 32 เท่ากับอัตราค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ปีหนึ่งต้องไม่เกินสามสิบวันทำงาน 

          ในกรณีที่ลูกจ้างใช้สิทธิลาเพื่อทำหมันตามมาตรา 33 ให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลานั้นด้วย

สำหรับการนับปีต้องเริ่มนับตั้งแต่วันทำงานแบบวันชนวัน เช่น A เริ่มงานวันที่ 1 เมษายน 2566 จะครบ 1 ปี วันที่ 31 มีนาคม 2567 แปลว่าในระหว่างวันที่ 1 เมษายน 2566 ถึง 31 มีนาคม 2567 A มีสิทธิ์ลาป่วยกี่วันก็ได้ตามที่ A ป่วยจริง อาจลา 40 วัน 45 วันก็ได้ โดยที่ A จะได้รับเงินค่าจ้างในระหว่างที่มีการลาป่วยแค่ 30 วัน 

Facebook
Twitter
LinkedIn

ลูกจ้างลาป่วยนายจ้างเลิกจ้างได้อย่างเป็นธรรม

หากลูกจ้างลาป่วยบ่อยมาก นายจ้างเองก็สามารถเลิกจ้างลูกจ้างที่ลาป่วยบ่อย ๆ ได้ เนื่องจากลูกจ้างนั้นหย่อนสมรรถภาพในการทำงานเป็นเหตุให้นายจ้างสามารถเลิกจ้างอย่างเป็นธรรมได้ ( อ้างอิงคำพิพากษาศาลอุทธรณ์คดีชำนัญพิเศษที่ 48/2560 และคำพิพากษาศาลฎีกา 2600/2529) ซึ่งทำให้ลูกจ้างไม่มีสิทธิเรียกร้องเงินค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม

อย่างไรก็ตามการเลิกจ้างเพราะลูกจ้างหย่อนสมรรถภาพในการทำงานนั้น ไม่ใช่กรณีเลิกจ้างเพราะลูกจ้างทำความผิดตามมาตรา 119 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หรือมาตรา 583 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ นายจ้างจึงต้องบอกกล่าวล่วงหน้าให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 หากนายจ้างไม่บอกกล่าวล่วงหน้าหรือให้ออกจากงานก่อนการสิ้นสุดสัญญามีผลตามกฎหมาย นายจ้างจะต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้ลูกจ้างด้วย และนายจ้างต้องจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน ตามมาตรา 118 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541 ให้กับลูกจ้างด้วย

หากลูกจ้างไม่ได้รับค่าจ้างในวันลาป่วย ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าหรือค่าชดเชย ลูกจ้างสามารถร้องเรียนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานในเขตพื้นที่ที่ตัวเองทำงานอยู่ได้ หรือจะยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลแรงงานด้วยตัวเองก็สามารถทำได้เช่นกัน แต่ต้องเลือกใช้สิทธิทางใดทางหนึ่งเท่านั้นนะ จะใช้สิทธิสองทางพร้อมกันไม่ได้ โดยสิทธิเรียกร้องค่าจ้างมีอายุความ 2 ปี ส่วนสิทธิเรียกร้องเงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชยมีอายุความ 10 ปี

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »