1

JusThat

ทำสัญญาจำเป็นต้องมีพยานไหม

คุณเชื่อหรือไม่ว่าเราทุกคนมีการทำสัญญาใหม่ ๆ ให้เกิดขึ้นอยู่ทุกวัน นับตั้งแต่ตื่นนอน ขับรถออกไปเติมน้ำมัน จ่ายตลาด ซื้อกับข้าว ซื้อของในร้านสะดวกซื้อ กินอาหารในร้านตามสั่ง ซื้อเสื้อผ้า ซื้อของใช้ จ่ายค่าเดินทาง ซื้อของออนไลน์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้ล้วนเป็นสัญญาที่บุคคล 2 ฝ่ายได้ทำขึ้นต่อกัน แม้จะไม่มีการเซ็นเอกสาร ไม่มีพยาน หรืออาจไม่มีการพูดคุยโต้ตอบกันเลยด้วยซ้ำ สิ่งเหล่านี้ก็เกิดเป็นสัญญาที่ต่างฝ่ายต่างมีสิทธิ์และหน้าที่ต่อกัน

เช่น A ไปซื้อผักในตลาด A เลือกผักจ่ายเงิน แม่ค้ามีหน้าที่ส่งมอบผักให้ A และ A มีหน้าที่จ่ายเงินให้แม่ค้าขายผัก เป็นต้น

แล้วถ้าเป็นสัญญาที่เกี่ยวกับเงินจำนวนเยอะขึ้น เช่น การกู้ยืมเงิน การจ้างก่อสร้างต่อเติมบ้าน การให้เช่าบ้าน เช่าคอนโด ขายสินค้าแบบซื้อก่อนจ่ายทีหลัง การจ้างแรงงาน การจ้างทำของ การจ้างนายหน้า เป็นต้น สัญญาต่าง ๆ เหล่านี้จะต้องมีพยานรู้เห็นและลงลายมือชื่อในสัญญาด้วยไหม บทความนี้  JusThat มีคำตอบ

การทำสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คู่สัญญาสามารถทำสัญญากันเองได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานมาร่วมลงลายมือชื่อในสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ จะต้องมีพยานร่วมลงลายมือชื่อในสัญญา 2 คน

ทำสัญญาไม่จำเป็นต้องมีพยาน ยกเว้นคู่สัญญาลงลายมือชื่อไม่ได้ ไม่เป็น

การทำสัญญาระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คู่สัญญาสามารถทำสัญญากันเองได้เลย โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานมาร่วมลงลายมือชื่อในสัญญา เว้นแต่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งจะไม่สามารถลงลายมือชื่อได้ จะต้องมีพยานร่วมลงลายมือชื่อในสัญญา 2 คน

โดยคู่สัญญาฝ่ายที่ลงลายมือชื่อไม่เป็น หรือลงลายมือชื่อไม่ได้ อาจเพราะอะไรก็แล้วแต่ เช่น อ่านไม่ออก เขียนไม่เป็น นิ้วมือหักจับปากกาเซ็นชื่อไม่ได้ ก็สามารถใช้วิธีอื่นในการลงชื่อแทนได้

  1. ประทับลายนิ้วมือลงบนสัญญา
  2. ใช้เครื่องหมายแกงได (แกงไดมาจากกากบาท)
  3. ใช้ตราประทับ
  4. ใช้เครื่องหมายอื่น ๆ ก็ได้

และมีพยานลงลายมือชื่อรับรอง 2 คน แปลว่า พยานทั้ง 2 คนนี้จะต้องเป็นบุคคลที่อ่านออก เขียนได้ ลงลายมือชื่อเป็นเท่านั้น จึงจะเป็นผู้รับรอง 1 ใน 4 สิ่งที่คู่สัญญาฝ่ายหนึ่งเลือกทำได้

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

     มาตรา 9 เมื่อมีกิจการอันใดซึ่งกฎหมายบังคับให้ทำเป็นหนังสือ บุคคลผู้จะต้องทำหนังสือไม่จำเป็นต้องเขียนเอง แต่หนังสือนั้นต้องลงลายมือชื่อของบุคคลนั้น
     ลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้นที่ทำลงในเอกสารแทนการลงลายมือชื่อ หากมีพยานลงลายมือชื่อรับรองไว้ด้วยสองคนแล้วให้ถือเสมอกับลงลายมือชื่อ
     ความในวรรคสองไม่ใช้บังคับแก่การลงลายพิมพ์นิ้วมือ แกงได ตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่นทำนองเช่นว่านั้น ซึ่งทำลงในเอกสารที่ทำต่อหน้าพนักงานเจ้าหน้าที่

Facebook
Twitter
LinkedIn

ทำสัญญาไม่จำเป็นต้องมีพยาน แต่ถ้ามีก็สามารถใช้เบิกความยืนยันการทำสัญญาได้

อีกหนึ่งสิ่งที่หลายคนอาจมีความกังวล ถ้าไม่พยานแล้วเกิดมีปัญหากันขึ้นมา จะให้ใครเป็นพยานในการยืนยันการทำสัญญาได้ กลับไปที่จุดเริ่มต้นกันก่อน ตามกฎหมายแล้วสัญญาย่อมเกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งเสนอ อีกฝ่ายสนอง ต่างฝ่ายต่างมีเจตนาตรงกัน เข้าใจตรงกัน มีจุดประสงค์ร่วมกัน สัญญาย่อมเกิดขึ้นแล้ว โดยไม่จำเป็นต้องมีพยานเข้ามาร่วมรู้เห็น และไม่จำเป็นต้องทำสัญญาเป็นหนังสือ ถ้ากฎหมายไม่ได้กำหนดว่าต้องทำ

เช่น กู้ยืมเงินกันไม่ถึง 2,000 บาท จ้างแรงงาน จ้างทำของ จ้างนายหน้า ซื้อขายทั่วไปที่ไม่ใช่การซื้ออสังหาริมทรัพย์ หรือสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ เป็นต้น สัญญาเหล่านี้เป็นสัญญาที่กฎหมายไม่ได้กำหนดแบบ คือ ไม่ได้กำหนดว่าต้องทำเป็นแบบไหน ดังนั้น คู่สัญญาจึงสามารถตกลงกันด้วยวาจา ตกลงกันปากเปล่า ตกลงกันด้วยท่าทางก็ทำได้ หรือจะทำเป็นหนังสือมีข้อความตรงกัน 2 ฉบับ และถือไว้ฝ่ายละฉบับก็ได้

ทำสัญญา ควรทำเป็นหนังสือ เพราะอะไร

ถึงแม้กฎหมายจะไม่ได้กำหนดให้สัญญาเหล่านี้ต้องทำเป็นหนังสือ แต่คู่สัญญาก็ควรทำ เพราะจะได้ใช้หนังสือสัญญานั้นยืนยันว่ามีการทำสัญญากันไว้ยังไงบ้าง 

สัญญาอะไรที่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือ

สัญญาที่กฎหมายกำหนดแบบให้ต้องทำเป็นหนังสือ

  • สัญญาเช่าซื้อ
  • สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์เกิน 3 ปี (ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่)
  • สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ และสังหาริมทรัพย์ชนิดพิเศษ (ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่)
  • สัญญาขายฝาก
  • สัญญาจำนอง
  • การตั้งตัวแทน
  • สัญญาโอนหุ้นในบริษัทจำกัด (ต้องมีพยาน 1 คน)
  • การโอนสิทธิ์เรียกร้อง 
  • การโอนหนี้
  • การบอกกล่าวการโอนหนี้ไปยังลูกหนี้ หรือลูกหนี้ได้ยินยอมในการโอนหนี้ต้องทำเป็นหนังสือ

สัญญาอะไรบ้างที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ จึงจะฟ้องร้องบังคับคดีกันได้

  • สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ไม่เกิน 3 ปี
  • สัญญากู้ยืมเงิน 2,000 บาทขึ้นไป 
  • สัญญาค้ำประกัน
  • สัญญาประกันภัย
  • สัญญาประนีประนอมยอมความ

ทำสัญญามีพยาน ดียังไง

การมีพยานในสัญญาจะช่วยให้มีบุคคลยืนยันการทำสัญญาได้ ในกรณีมีข้อพิพาทเกิดขึ้น คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถให้พยานเบิกความในชั้นสืบพยาน เพื่อยืนยันข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นได้

จะเห็นได้ว่า?! สัญญาบางอย่างมีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »