1

JusThat

คดีทำร้ายร่างกาย
เมื่อความรุนแรงที่คนเชียร์มักจะเกิดจากปัญหาความรุนแรงที่แก้ไขด้วยวิธีการตามปกติไม่ได้ ?!?

ไม่สมควรมีใครโดนทำร้าย ยกเว้น…. 

กลายเป็นวลียอดฮิตที่มาแรงในช่วงนี้ และคุณเองก็อาจจะคิดแบบนี้เหมือนกัน

แล้วอะไรที่ทำให้คนเรา(บางคน)เห็นด้วยกับความรุนแรง ? 
หรือความจริงแล้วคน(บางคน)ไม่ได้เห็นด้วยกับความรุนแรงหรอก
แต่เห็นด้วยกับการที่เห็นคนที่ตัวเองไม่ชอบถูกจัดการไม่ว่าจะด้วยวิธีใดก็ตาม

ความรุนแรงไม่ใช่เรื่องไกลตัว : 3 ประเภทความรุนแรงตามนิยามของ WHO

  1. ความรุนแรงต่อตนเอง ( Self Directed Violence )
       การฆ่าตัวตาย ( Suicidal Behavior )
       การทำร้ายตนเอง ( Self – Abuse )
  2. ความรุนแรงระหว่างบุคคล/การทำร้ายบุคคลอื่น ( Interpersonal Violence/ Homicide )
       ความรุนแรงในครอบครัวหรือคู่ครอง ( Family and Intimate Partner Violence ) เช่น การทำร้ายร่างกายลูก/หลาน การทำร้ายร่างกายคู่สมรส
       ความรุนแรงในชุมชน เป็นการทำร้ายบุคคลอื่นนอกครอบครัว
  3. ความรุนแรงระดับกลุ่ม ( Collective violence ) เป็นความรุนแรงที่ทำโดยกลุ่มคนหรือโดยรัฐ และมีเหยื่อเป็นกลุ่มคนในชุมชนหรือสังคม
       ความรุนแรงทางสังคม
       ความรุนแรงทางการเมือง
       ความรุนแรงทางเศรษฐกิจ

ลักษณะของการทำความรุนแรง 4 รูปแบบ

  1. การทำความรุนแรงทางร่างกาย เช่น เตะ ตบ ตี ต่อย กระทืบ ใช้ไม้ฟาด กัด หรือวิธีใด ๆ ให้เหยื่อได้รับการบาดเจ็บทางร่างกาย เช่น เลือดออก ฟกช้ำ เป็นแผล เป็นต้น 
  2. ความรุนแรงทางเพศ อาจทำโดยการบังคับ ข่มขู่ หลอกลวง ชักชวนหรือให้สิ่งตอบแทน โดยมีวัตถุประสงค์ให้เหยื่อเป็นเครื่องมือตอบสนองทางเพศ เป็นวัตถุทางเพศ หรือต้องการให้เหยื่อยินยอมกับการกระทำนั้น 
  3. ความรุนแรงทางจิตใจ เป็นการทำร้ายจิตใจ ควบคุมบังคับเหยื่อ ทำให้เหยื่อได้รับความอับอาย รู้สึกถูกด้อยค่า หรือลดคุณค่าความเป็นมนุษย์ของเหยื่อ
  4. ความรุนแรงที่ก่อให้เกิดความสูญเสียหรือการละเลยทอดทิ้ง เป็นความรุนแรงที่เกิดจากการไม่ได้รับการดูแลเอาใจใส่และคุ้มครองอย่างเหมาะสม
Facebook
Twitter
LinkedIn
ทำร้ายร่างกายมีโทษอย่างไร คดีทำร้ายร่างกายอาจไม่จบง่าย ๆ แค่จ่ายค่าปรับนะ

เมื่อมีคนเริ่มใช้ความรุนแรงแบบใดแบบหนึ่ง และใช้ความรุนแรงกับคนอื่นไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีท่าทีว่าผู้กระทำจะหยุด และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำนั้น หรือได้รับผลกระทบจากความรุนแรงนั้น หรือผู้ที่เป็นเหยื่อของความรุนแรงโดยตรง หมดความอดทนจนทนต่อไปไม่ไหวแล้วก็อาจมีการใช้ความรุนแรงในการโต้กลับบ้าง 

ซึ่งก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย หรือมีคนเลือกข้างเชียร์ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง แม้จะรู้อยู่แล้วว่าการทำร้ายคนอื่นเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นและเป็นคดีอาญา ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์คนถูกต่อยเพราะคิดแต่จะหาเรื่องอีกฝ่าย หรือกรณี วิลล์ สมิธ ตบหน้า คริส ร็อก เมื่อการล้อเลียน ไม่ใช่เรื่องล้อเล่น จนอีกฝ่ายทนไม่ไหวก็อาจเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวขึ้นได้

หรือแม้แต่เหตุการณ์ฆ่าคนตาย ก็มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ขึ้นอยู่กับบริบทของสังคมในขณะนั้นเป็นเช่นไร เหตุการณ์เป็นอย่างไร คนแสดงความคิดเห็นเป็นใคร อยู่ในกลุ่มไหน มีพื้นฐานความคิดอย่างไร และคนตายเป็นใคร

และเมื่อมนุษย์รวมกลุ่มกันเกิดเป็นสังคม การแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ ก็ตามมา ไม่เว้นแม้กระทั่งการแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับชีวิตของผู้อื่น ซึ่งบางครั้งการแสดงความคิดเห็นอย่างไม่ระวัดระวัง ไปถึงขั้นมีการหมิ่นประมาทกันเกิดขึ้น กลายเป็นความรุนแรงทางจิตใจที่สร้างบาดแผลให้ผู้ที่ถูกพูดถึงได้เช่นกัน

หรือในกรณีที่เป็นความรุนแรงในครอบครัว ลูกถูกพ่อแม่ทำร้าย แม่ถูกลูกเมายาตบตี ภรรยาถูกสามีซ้อม สามีถูกภรรยาทำทารุณ ผู้ป่วยติดเตียงถูกคนในครอบครัวทำร้าย ถึงแม้จะมีคนไม่เห็นด้วยแต่คนภายนอกก็ไม่อยากยุ่ง เพราะมองว่าเป็นเรื่องในครอบครัว ควรปล่อยให้คนในครอบครัวจัดการปัญหากันเอง ทำให้เหยื่อต้องทนอยู่ในสภาพที่ร้องขอความช่วยเหลือจากใครไม่ได้ สุดท้ายแล้วเมื่อเหยื่อไม่มีทางออกก็อาจเกิดความรุนแรงที่ไม่มีใครคาดคิดขึ้นได้ เช่น ฆ่าตัวตายเพราะทนถูกทารุณไม่ไหว เป็นต้น

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat บริการส่งฟ้องด้วยตัวเอง ค่าใช้จ่ายเริ่มต้นเพียงหลักร้อยบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

ดราม่า ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า

“ปังชา” คำนี้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดราม่า #ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า กลายเป็นประเด็นร้อนในโซเชี่ยลเพียงชั่วข้ามคืนกับ #ปังชา ว่าด้ว

Read More »
สิ่งที่ลูกจ้างรายวันต้องรู้และนายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ เป็นลูกจ้างรายวันลาป่วยไม่ได้เงิน ลูกจ้างรายวันทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น ลูกจ้างรายวันไม่ใช่พ

Read More »