1

JusThat

ความผิดอาญาเกี่ยวกับชีวิต : ฆ่าคนตายเหมือนกัน แต่ได้รับโทษต่างกัน

“สังคมทุกวันนี้เสื่อมขึ้นทุกวัน ฆ่ากันตายรายวัน”
“ฆ่าเขาแล้วยังกล้าไปงานศพเขาอีก จิตใจทำด้วยอะไร”

และอีกมากมาย ที่ผู้คนต่างหยิบยกมาพูดคุย บอกเล่ากันในสังคมเกี่ยวกับคดีที่มีผู้เสียชีวิต ชีวิตที่ดับไปไม่สามารถเอาคืนมาได้ แต่คนที่ทำยังมีโอกาสหาข้อแก้ตัวได้

บทความนี้ JusThat จะพาเพื่อน ๆ มาเจาะลึกข้อกฎหมายเกี่ยวกับการฆ่าผู้อื่น ฆ่าแบบไหนมีความผิดอย่างไร ผลลัพธ์คือตายเหมือนกันแต่ทำไมจึงได้รับโทษต่างกัน

โทษของการฆ่าคนตาย ประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย

โทษของการฆ่าคนตาย ความเหมือนที่แตกต่าง

เพื่อน ๆ อาจเคยดูข่าวแล้วก็ต้องสงสัยว่าทำไมคนที่ถูกกล่าวหาว่าทำผิดมักปฏิเสธทุกข้อกล่าวหา แทนที่จะยอมรับผิดและรับผลจากการกระทำของตัวเองไปเลย ต่อสู้คดีไปทำไมหากทำผิดยังไงก็ต้องรับโทษ แต่เราอย่าเพิ่งลืมไปว่า การต่อสู้คดีก็มีผลดีอยู่ เพราะหากผู้ถูกกล่าวหาไม่ได้ทำความผิดจริง เขาก็ยังมีโอกาสหาหลักฐานมายืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเองได้ ไม่ต้องเป็นแพะรับบาป รับโทษทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ใช่คนก่อ

แต่สำหรับคนที่ทำความผิดจริง การต่อสู้คดีคงไม่ได้ทำไปเพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของตัวเอง แต่ทำไปเพื่อให้ตัวเองถูกลงโทษน้อยกว่าที่ควรจะเป็นตามความจริง จากโทษประหารชีวิตก็อาจกลายเป็นได้จำคุกไม่กี่ปี  เพราะการที่ศาลจะตัดสินว่าใครทำผิดอย่างไร ต้องรับโทษมากแค่ไหน ต้องดูตามพยานหลักฐานที่แต่ละฝ่ายยื่นไป และตัดสินตามข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เกิดขึ้น (พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พฤติการณ์ หมายถึง สิ่งที่กระทำ เหตุการณ์ที่เป็นมาหรือที่จะเป็นไป  ความเป็นไปในเวลากระทำการ)
ซึ่งความผิดเกี่ยวกับการฆ่าคน มีระบุไว้ในประมวลกฎหมายอาญา ลักษณะ 10 ความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกาย หมวด 1 ความผิดต่อชีวิต
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288 ผู้ใดฆ่าผู้อื่น ต้องระวางโทษประหารชีวิต จำคุกตลอดชีวิต หรือจำคุกตั้งแต่ 15 – 20 ปี

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 โทษประหารชีวิต

  1. ฆ่าบุพการี
  2. ฆ่าเจ้าพนักงาน ที่ทำตามหน้าที่
  3. ฆ่าผู้ช่วยเหลือเจ้าพนักงาน ที่ทำตามหน้าที่
  4. ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน 
  5. ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย 
  6. ฆ่าผู้อื่น เพื่อความสะดวกในการทำผิด
  7. ฆ่าผู้อื่น เพื่อเอาผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำความผิด หรือฆ่าเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง

ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน มาตรา 289 (4) คือการฆ่าที่มีการวางแผน มีการเตรียมตัวเพื่อฆ่า เตรียมรถเตรียมเรือเพื่อใช้ไปฆ่า หรือแม้แต่การจ้างวานฆ่าก็คือการฆ่าโดยมีการไตร่ตรองไว้ก่อน

ฆ่าผู้อื่นโดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย มาตรา 289 (5) คือการฆ่าแบบเลือดเย็น ทำให้เหยื่อทรมานแล้วค่อย ๆ ตายไปเอง เช่น เอามีดเฉือนให้เลือดไหลจนขาดใจตาย หรือฆ่าโดยวิธีที่โหดร้ายกว่าการทำให้ตายแบบทั่วไป เช่น เอาขวดทุบหัวซ้ำ ๆ จนตาย ฆ่ายกครัว เป็นต้น

ฆ่าผู้อื่นเพื่อเอาผลประโยชน์ที่เกิดจากการทำความผิด หรือฆ่าเพื่อปกปิดความผิดของตัวเอง มาตรา 289 (7) คือการฆ่าเพื่อเอาผลประโยชน์จากการทำผิดของตัวเอง ฆ่าเพื่อหลีกหนีความผิดที่ตัวเองก่อไว้ หรือฆ่าปิดปากนั่นเอง

ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 290 ไม่ได้ตั้งใจฆ่า แต่ทำร้ายจนเหยื่อตาย เช่น เอาก้อนหินตีหน้าเหยื่อทำให้เกิดอาการตกใจ หัวใจเต้นผิดปกติ จนตายจากหัวใจวาย(ฎีกาที่ 1593/2542) เป็นต้น จะมีความผิดตามมาตรานี้ มีโทษจำคุกตั้งแต่ 3 – 15 ปี  แต่ถ้าความผิดนั้นมีลักษณะตามมาตรา 289 ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 3 – 20 ปี
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 291 กระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย เช่น ขับรถมอไซค์แล้วไม่เบรกตรงทางม้าลายจนชนคนเสียชีวิต  ขับเรือประมาทจนมีคนตกน้ำเสียชีวิต ขับรถเล่นมือถือไม่มองทางจนไปชนรถที่สวนมาจนเขาตาย  ยิงปืนเล่นกันแต่พลาดไปโดนคนอื่นจนตาย มีโทษจำคุกไม่เกิน 10 ปี ปรับไม่เกิน 200,000 บาท

พยานหลักฐานสำคัญ ที่คนฆ่า(อาจ)ไม่อยากให้มี

หลายคนอาจเคยสงสัยว่า ก็ความจริงมันเป็นแบบนี้แต่ทำไมคนผิดจึงได้รับโทษน้อยกว่าที่ควรจะเป็น นั่นก็เป็นเพราะในกระบวนการของกฎหมายจะต้องมีการอ้างอิงพยานหลักฐาน  เพื่อค้นหาข้อเท็จจริง ซึ่งจะมีความจริงมากน้อยแค่ไหนก็ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่หาได้ว่าสามารถใช้สืบเสาะไปหาต้นตอของเรื่องได้หรือเปล่า

หากหลักฐานแน่น คนทำผิดก็ดิ้นไม่หลุดแต่หากไม่มีหลักฐานที่สำคัญเพียงพอคนทำผิดก็อาจลอยนวล หรือได้รับโทษน้อยกว่าที่ควรจะเป็นได้ เพราะผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จะเล่าความจริงทั้งหมดหรือเปล่าก็ไม่มีอะไรการันตี การมีพยานหลักฐานยืนยันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมาก ๆ จึงต้องมีการออกหมายจับผู้ต้องหาที่มีท่าทีว่าจะไปยุ่ง วุ่นวายกับพยานหลักฐานนั่นเอง

ฆ่าคนเพราะบันดาลโทสะ ศาลอาจลดโทษให้

ถึงแม้ว่าความผิดในการฆ่าคนจะเป็นสิ่งที่ร้ายแรงและไม่สามารถให้อภัยได้ แต่ก็ยังมีการพลั้งฆ่าคนตายเพราะขาดสติจากการเป็นผู้ถูกกระทำก่อน เช่น ถูกด่าจนทนไม่ไหวเลยต่อยคนด่าจนตายค่าที่  ถูกด่าพ่อล้อแม้เลยหยิบไม้หน้าสามฟาดจนตาย เป็นต้น

แต่ถึงอย่างไร การทำผิดก็คือการทำผิด ไม่สามารถเปลี่ยนผิดให้เป็นถูกได้ คนผิดก็ต้องรับโทษจากการที่ได้ฆ่าคนไปแล้ว เพียงแต่ศาลอาจลดโทษให้เพราะทำไปจากการบันดาลโทสะ ซึ่งการบันดาลโทสะจะต้องเป็นการทำไปในทันทีทันใด หรือทำไปในระหว่างที่เหตุการณ์ยังต่อเนื่องกันอยู่ ถ้าโดนดูถูกเหยียดหยามเมื่อ 3 ก่อน แล้วกลับบ้านไปนอนคิดแผนฆ่าแบบนี้ไม่ใช่การบันดาลโทสะ แต่เป็นการฆ่าโดยไตร่ตรองไว้ก่อน

ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 72 ผู้ใดบันดาลโทสะโดยถูกข่มเหงอย่างร้ายแรงด้วยเหตุอันไม่เป็นธรรม จึงกระทำความผิดต่อผู้ข่มเหงในขณะนั้น ศาลจะลงโทษผู้นั้นน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้

ยอมรับสารภาพ อาจได้รับการบรรเทาโทษ

ตามที่เราได้เห็นในข่าว หน้าหนังสือพิมพ์ หรือเว็บไซต์ข่าวต่าง ๆ ที่จะลงข่าวผู้ต้องหาเกี่ยวกับการฆ่าคนตายไปกราบแม่ของผู้ตาย ไปเยี่ยมพ่อแม่ให้การช่วยเหลือต่าง ๆ หรือให้การรับสารภาพ เพราะสิ่งเหล่านี้สามารถนำไปใช้เป็นเหตุบรรเทาโทษได้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 ที่ระบุไว้ว่า “เมื่อปรากฏว่ามีเหตุบรรเทาโทษ ไม่ว่าจะได้มีการเพิ่มหรือการลดโทษตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นแล้วหรือไม่ ถ้าศาลเห็นสมควร จะลดโทษไม่เกินกึ่งหนึ่งของโทษที่จะลงแก่ผู้กระทำความผิดนั้นก็ได้”

โดยเหตุบรรเทาโทษมี 7 ประเภท ดังนี้

  1. เป็นผู้โฉดเขลาเบาปัญญา
  2. ตกอยู่ในความทุกข์อย่างสาหัส
  3. มีคุณความดีมาก่อน
  4. รู้สึกความผิดและพยายามบรรเทาผลร้าย
  5. ลุแก่โทษต่อเจ้าพนักงาน
  6. ให้ความรู้แก่ศาลเป็นประโยชน์แก่การพิจารณา
  7. เหตุอื่น ๆ ในลักษณะทำนองเดียวกัน
 
ซึ่งการตัดสินก็จะขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศาล ว่าคนทำผิดจะได้ลดโทษมากน้อยแค่ไหน หรือจะได้รับการรอลงอาญาหรือไม่ก็ขึ้นอยู่ที่ว่าคนทำมีความพฤติกรรมอย่างไร พยายามบรรเทาผลร้ายมากน้อยแค่ไหน มีการทำผิดอื่นมาก่อนหน้าไหม สิ่งที่เกิดขึ้นเข้าหลักเกณฑ์ใน 7 ข้อหรือเปล่าก็ต้องติดตามผลของคดีกันต่อไป

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

ดราม่า ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า

“ปังชา” คำนี้ทุกคนมีสิทธิ์ใช้ ดราม่า #ปังชา ว่าด้วยเรื่อง เครื่องหมายการค้า กลายเป็นประเด็นร้อนในโซเชี่ยลเพียงชั่วข้ามคืนกับ #ปังชา ว่าด้ว

Read More »
สิ่งที่ลูกจ้างรายวันต้องรู้และนายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ

กฎหมายแรงงาน ลูกจ้างรายวันต้องรู้ นายจ้างต้องเข้าใจ เป็นลูกจ้างรายวันลาป่วยไม่ได้เงิน ลูกจ้างรายวันทำงานวันไหนก็ได้เงินแค่วันนั้น ลูกจ้างรายวันไม่ใช่พ

Read More »