1

JusThat

ส่วนแบ่งมรดก
ไม่มีพินัยกรรม
ทายาทโดยธรรมจะได้คนละเท่าไหร่

มรดกไม่ใช่ของไกลตัว ต้องเช็คให้ชัวร์ก่อนพี่น้องจะผิดใจกัน ประโยคนี้ JusThat ไม่ได้กล่าวเกินจริงนะ ตามกฎหมายแล้วมรดกจะตกเป็นของทายาท ถ้าผู้ตายไม่ได้ทำพินัยกรรม ส่วนแบ่งมรดกจะเป็นของทายาทโดยธรรม แต่ถ้าผู้ตายทำพินัยกรรมไว้ มรดกก็ตกเป็นของทายาทโดยพินัยกรรม ซึ่งไม่น่าจะมีปัญหาเพราะเจ้ามรดกได้ทำการแบ่งมรดกไว้ให้อยู่แล้ว แต่สำหรับกองมรดกไม่มีพินัยกรรม ทายาทโดยธรรมก็ต้องมาแบ่งสัดส่วนกันเอง หรือจะร้องขอตั้งผู้จัดการมรดกต่อศาลก่อนก็ได้ และให้ผู้จัดการมรดกเป็นคนจัดสรรแบ่งส่วนให้ 

ถึงแม้ผู้จัดการมรดกจะมีหน้าจัดการส่วนแบ่งมรดก ก็ไม่ได้หมายว่าผู้จัดการมรดกจะแบ่งยังไงตามใจก็ได้นะ เพราะการจัดสรรส่วนแบ่งมรดกจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนดไว้

แล้วส่วนแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม ต้องแบ่งกันยังไง ทายาทโดยธรรมจะได้คนละเท่าไหร่ ดูตัวอย่างที่ JusThat  นำมารวบรวมไว้ได้ในบทความนี้เลย

ส่วนแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม ทายาทโดยธรรมค้องแบ่งตามสัดส่วนที่กฎหมายกำหนด

ลำดับทายาทโดยธรรม

ทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 แบบ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิยช์ มาตรา 1629

  1. ทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส 
  2. ทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติ มี 6 ลำดับ

ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน (ลูก หลาน เหลน) *ลูกบุญธรรมมีสิทธิ์รับมรดกเหมือนลูกแท้แท้

ลำดับที่ 2 พ่อ แม่

ลำดับที่ 3 พี่น้องแท้ ๆ 

ลำดับที่ 4 พี่น้องคนละพ่อแม่

ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย

ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา

ข้อควรรู้ พ่อแม่บุญธรรมรับมรดกของลูกบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้นะ แต่รับมรดกของลูกบุญธรรมในฐานะทายาทโดยพินัยกรรมได้ และลูกบุญธรรมมีสิทธิเท่าเทียมลูกแท้ ๆ ทุกอย่าง

ถ้าทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และ 2 ยังมีชีวิตอยู่ หรือเสียเสียชีวิตไปหมดแล้ว 2 ลำดับ แต่มีผู้เข้ารับมรดกแทนที่ทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 ยังไม่ขาดสาย ทายาทโดยธรรมลำดับถัดไปจะไม่มีสิทธิรับมรดก ว่ากันง่าย ๆ ก็คือ ลูกมาพร้อมพ่อแม่ ทั้งพ่อแม่และลูกมาก่อนพี่น้อง

ตัวอย่าง พ่อแม่และลูกของ A เสียชีวิตหมดแล้ว แต่ลูกชายของ A ทิ้งหลานไว้ให้ A  2 คน คือ J และ O เมื่อ A ตาย ทั้ง J และ O จะเป็นผู้เข้ารับมรดกแทนที่พ่อของตัวเอง ทำให้พี่น้องแท้ ๆ และทายาทลำดับถัดลงไปของ A ไม่มีสิทธิรับมรดก

     มาตรา 1630 วรรค 1 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณี ในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

ตัวอย่างที่ 2  ลูกของ B ทั้ง 2 คนเสียชีวิตแล้ว แต่ B ยังมีพ่อแม่และหลานอีก 2 คน คือ Y และ U เมื่อ B ตาย ทั้ง Y และ U จะเข้ารับมรดกแทนที่พ่อและแม่ของตัวเอง ส่วนพ่อแม่ของ B ก็ได้รับมรดกกัน ทำให้พี่น้องแท้ ๆ และทายาทลำดับถัดลงไปของ B ไม่มีสิทธิรับมรดก

     มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

ส่วนแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม เจ้ามรดกไม่จดทะเบียนสมรส

กรณีไม่มีคู่สมรสส่วนแบ่งมรดกจะเป็นไปตามลำดับทายาทโดยธรรม ซึ่งทายาทโดยธรรมแต่ละลำดับรวมทั้งผู้เข้ารับมรดกแทนที่จะได้รับมรดกในอัตราส่วนที่เท่ากันทุกคน 

ถ้าในลำดับนั้นมีทายาทโดยธรรมคนเดียว หรือมีหลายคนแต่ตายไปแล้วเหลือคนเดียวและไม่มีผู้เข้ารับมรดกแทนที่ ทายาทที่ยังมีชีวิตอยู่จะได้มรดกไปคนเดียวทั้งหมด ตามมาตรา 1633

ไม่จดทะเบียนสมรส & ไม่มีลูก หลาน เหลน

  • พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่  พ่อ 50% แม่ 50%
  • แม่มีชีวิตอยู่คนเดียว  แม่ 100%
  • พ่อมีชีวิตอยู่คนเดียว  พ่อ 100%
  • มีแต่พี่น้องแท้ ๆ  พี่น้องแท้ ๆ แบ่งคนละเท่ากัน
  • มีแต่พี่น้องคนละพ่อหรือแม่ พี่น้องคนละพ่อหรือแม่แบ่งคนละเท่ากัน

ไม่จดทะเบียนสมรส & มีลูก 2 คน (ลูกแท้ & ลูกบุญธรรม)

  • พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่  พ่อ 25% แม่ 25% ลูกแท้ 25% ลูกบุญธรรม 25%
  • แม่มีชีวิตอยู่คนเดียว  แม่ 33.33% ลูกแท้ 33.33% ลูกบุญธรรม 33.33%
  • พ่อมีชีวิตอยู่คนเดียว  พ่อ 33.33% ลูกแท้ 33.33% ลูกบุญธรรม 33.33%
  • มีแต่ลูก ลูกแบ่งคนละเท่ากัน

     มาตรา 1633  ทายาทโดยธรรมในลำดับเดียวกัน ในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 นั้น ชอบที่จะได้รับส่วนแบ่งเท่ากัน ถ้าในลำดับหนึ่งมีทายาทโดยธรรมคนเดียว ทายาทโดยธรรมคนนั้น มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งทั้งหมด

ส่วนแบ่งมรดกไม่มีพินัยกรรม เจ้ามรดกมีคู่สมรส

กรณีมีคู่สมรสส่วนแบ่งมรดกต้องเป็นไปตามมาตรา 1635 และต้องเป็นคู่สมรสที่จดทะเบียนสมรสกันถูกต้องตามกฎหมายนะ ถ้าแค่แต่งงานมีสินสอด จัดงานแต่งกันเฉย ๆ โดยไม่ได้จดทะเบียนสมรส แบบนี้ไม่ใช่การสมรสกันตามกฎหมาย สามีภรรยาที่อยู่กินด้วยกันแบบนี้จึงไม่เป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกตามมาตรา 1635

     มาตรา 1457 การสมรสตามประมวลกฎหมายนี้จะมีได้เฉพาะเมื่อได้จดทะเบียนแล้วเท่านั้น

     มาตรา 1458 การสมรสจะทำได้ต่อเมื่อชายหญิงยินยอมเป็นสามีภริยากันและต้องแสดงการยินยอมนั้นให้ปรากฏโดยเปิดเผยต่อหน้านายทะเบียนและให้นายทะเบียนบันทึกความยินยอมนั้นไว้ด้วย

จดทะเบียนสมรส & ไม่มีลูก หลาน เหลน 

  • พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่  คู่สมรส 50% พ่อ 25% แม่ 25%
  • แม่มีชีวิตอยู่คนเดียว  คู่สมรส 50% แม่ 50%
  • พ่อมีชีวิตอยู่คนเดียว  คู่สมรส 50% พ่อ 50%  
  • มีแต่พี่น้องแท้ ๆ  คู่สมรส 50% พี่น้องแท้ ๆ 50%
  • มีแต่พี่น้องคนละพ่อหรือแม่  คู่สมรส 66.66% พี่น้องคนละพ่อหรือแม่ 33.33% 

จดทะเบียนสมรส & มีลูก 2 คน (ลูกแท้ & ลูกบุญธรรม)

  • พ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่  คู่สมรส 20% พ่อ 20% แม่ 20% ลูกแท้ 20% ลูกบุญธรรม 20%
  • แม่มีชีวิตอยู่คนเดียว  คู่สมรส 25% พ่อ 25% ลูกแท้ 25% ลูกบุญธรรม 25%
  • พ่อมีชีวิตอยู่คนเดียว  คู่สมรส 25% พ่อ 25% ลูกแท้ 25% ลูกบุญธรรม 25%
  • มีแต่ลูก  คู่สมรส 33.33% ลูกแท้ 33.33% ลูกบุญธรรม 33.33%

     มาตรา 1635 ลำดับและส่วนแบ่งของคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ในการรับมรดกของผู้ตายนั้น ให้เป็นไปดังต่อไปนี้

     (1) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (1) ซึ่งยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้น มีสิทธิได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าตนเป็นทายาทชั้นบุตร

     (2) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (3) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือถ้าไม่มีทายาทตามมาตรา 1629 (1) แต่มีทายาทตามมาตรา 1629 (2) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกกึ่งหนึ่ง

     (3) ถ้ามีทายาทตามมาตรา 1629 (4) หรือ (6) และทายาทนั้นยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ หรือมีทายาทตามมาตรา 1629 (5) แล้วแต่กรณี คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่ มีสิทธิได้มรดกสองส่วนในสาม

     (4) ถ้าไม่มีทายาทดังที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นมีสิทธิได้รับมรดกทั้งหมด

ทายาทโดยธรรม ทายาทโดยพินัยกรรม จะฟ้องคดีต้องรีบฟ้องภายใน 1 ปี

อย่างไรก็ตามหากมีการแบ่งมรดกไม่ลงตัว ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกก็สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ และคดีมรดกเป็นคดีแพ่งซึ่งเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในกองมรดกและเป็นการพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในกองมรดก การฟ้องคดีมรดกจึงต้องรีบฟ้องให้เร็วที่สุดภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ว่าเจ้ามรดกตาย แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย และการฟ้องเรียกมรดกตามพินัยกรรมต้องรีบฟ้องภายในกำหนด 1 ปีนับแต่ผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิของตนเองที่มีอยู่ตามพินัยกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754

     มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

     คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม

     ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก

     ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย

Facebook
Twitter
LinkedIn

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »