เช่าสินสอด ถือเป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน
เช่าสินสอด เป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน “จะแต่งงานทั้งทีไม่มีสินสอดได้ยังไง” “แค่เอาสินสอดมาวางพอเป็นพิธี แต่งเสร็จแล้วพ่อแม่จะคื
เมื่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งเสียชีวิตจากไปผู้ที่จะได้รับมรดกของผู้เสียชีวิตคือทายาท ซึ่งทายาทแบ่งออกเป็นทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม และในกรณีลูกบุญธรรมเสียชีวิตจากไปใครจะเป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของลูกระหว่างพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดและพ่อแม่บุญธรรม บทความนี้ JusThat มีคำตอบ
การให้กำเนิดบุคคลหนึ่งขึ้นมาและต้องเลี้ยงดูบุคคลนั้นให้มีคุณภาพชีวิตที่เหมาะสม ให้การปกป้อง ให้การศึกษา และให้ความรักความอบอุ่นอย่างเพียงพอ ผู้เลี้ยงดูก็จำเป็นต้องมีความพร้อมทั้งด้านจิตใจ สังคม ความเป็นอยู่และเงินทองอีกด้วย บางคนที่ไม่พร้อมเลี้ยงดูลูกจึงอาจเลือกยกลูกให้คนอื่นรับไปเลี้ยงในฐานะลูกบุญธรรม เพื่อให้ลูกมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิม หรือผู้ที่มีความพร้อมแต่ไม่สามารถมีลูกได้ ทางเลือกหนึ่งที่ทำได้ก็คือการรับเลี้ยงลูกบุญธรรม
ซึ่งหลักเกณฑ์ในการรับบุตรบุญธรรมนั้นจะต้องเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด ไม่ใช่ว่าใครก็สามารถรับบุตรบุญธรรมได้ และการรับบุตรบุญธรรมนี้เองที่จะทำให้พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดหมดอำนาจการปกครองในตัวลูก และอำนาจในการปกครอง การอุปการะและให้การศึกษาจะถูกโอนไปให้พ่อแม่บุญธรรมแทน
ถึงอย่างไรแล้วสำหรับบางคนก็ไม่สามารถตัดขาดจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดได้ แต่สำหรับบางคนการเลือกไม่ยุ่งเกี่ยวกับพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดก็เป็นทางเลือกที่ดีกว่า ซึ่งแต่ละคนก็มีเหตุผลที่แตกต่างกันไป ความรู้เรื่องมรดกระหว่างลูกบุญธรรม พ่อแม่บุญธรรม และพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดจึงเป็นเรื่องใกล้ตัว แม้จะดูเป็นเรื่องไกลตัวก็ตาม
ตามกฎหมายเมื่อพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดยกลูกให้เป็นลูกบุญธรรมของคนอื่นแล้ว สิทธิในการปกครองลูกก็จะหมดไปด้วย แต่ความพ่อแม่และลูกตามสายเลือดยังมีอยู่ และการนับทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกสืบสายขึ้นไปข้างบนก็เป็นการนับตามสายเลือด แต่ถ้านับลงมาที่รุ่นลูกจะไม่จำเป็นต้องถือเอาตามสายเลือดอย่างเดียว
ดังนั้นพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดจึงเป็นทายาทโดยธรรมของลูกแม้จะยกลูกให้เป็นลูกบุญธรรมของคนอื่นไปแล้ว ในขณะเดียวกันลูกบุญธรรมจะเป็นทายาทโดยธรรมของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดและพ่อแม่บุญธรรมด้วย
พ่อแม้ผู้ให้กำเนิดมีสิทธิรับมรดกของลูกบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม
และลูกบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดในฐานะทายาทโดยธรรมเช่นกัน
พ่อแม่บุญธรรมไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรม
แต่ลูกบุญธรรมมีสิทธิรับมรดกของพ่อแม่บุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเหมือนลูกแท้ ๆ คนหนึ่ง
ตัวอย่าง
J และ O แต่งงานจดทะเบียนสมรสกัน โดยมีลูกแท้ ๆ 1 คน คือ C และมีลูกบุญธรรม 2 คนคือ A และ B ทั้งนี้พ่อและแม่ของทั้ง J และ O ได้เสียชีวิตไปแล้ว
เมื่อ O ผู้เป็นพ่อเสียชีวิต สินสมรสระหว่าง J และ O จะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยสินสมรสส่วนของ O และสินส่วนตัวของ O จะไปอยู่ในกองมรดกซึ่งมี O เป็นเจ้ามรดก และกองมรดกของ O จะถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน โดยที่ J A B และ C จะได้รับมรดกคนละ 25% เท่ากัน
ต่อมา A ได้เสียชีวิต โดยที่ A ไม่มีคู่สมรสแต่มีลูกบุญธรรม 2 คนคือ S กับ Y และพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดของ A ยังมีชีวิตอยู่ มรดกของ A จะเป็นของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดและลูกบุญธรรมคือ S กับ Y คนละ 25% เนื่องจากพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดของ A เป็นทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกของลูก โดยมีสิทธิได้รับมรดกเหมือนลูก
ถ้า A ต้องการให้แม่บุญธรรมคือ J ได้รับมรดก A จะต้องทำพินัยกรรมยกมรดกของ A ให้ J แทน เนื่องจาก J ไม่มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม แต่ J สามารถรับมรดกในฐานะทายาทโดยพินัยกรรมของ A ได้
หรือ A ไม่ต้องการให้พ่อแม่ผู้ให้กำเนิดมีสิทธิได้รับมรดก A ก็สามารถตัดสิทธิรับมรดกของพ่อแม่ผู้ให้กำเนิดได้เช่นกัน โดยการระบุในพินัยกรรม หรือทำเป็นหนังสือมอบไว้กับผู้อำนวยการเขต (พื้นที่กรุงเทพมหานคร) หรือนายอำเภอ (พื้นที่ต่างจังหวัด) หรือผู้มีอำนาจทำการแทนผู้อำนวยการเขตหรือนายอำเภอ
มาตรา 1598/29 การรับบุตรบุญธรรมไม่ก่อให้เกิดสิทธิรับมรดก ของบุตรบุญธรรมในฐานะทายาทโดยธรรมเพราะเหตุการณ์รับบุตรบุญธรรมนั้น
มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดา ได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้
มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่ง มาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ
(1) ผู้สืบสันดาน
(2) บิดามารดา
(3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน
(4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน
(5) ปู่ ย่า ตา ยาย
(6) ลุง ป้า น้า อาคู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่ง มาตรา 1635
อย่างไรก็ตามหากมีการแบ่งมรดกไม่ลงตัว ทายาทผู้มีสิทธิรับมรดกก็สามารถร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกได้ และคดีมรดกเป็นคดีแพ่งซึ่งเป็นคดีที่มีข้อพิพาทระหว่างทายาทผู้มีสิทธิในกองมรดกและเป็นการพิพาทกันเกี่ยวกับสิทธิในกองมรดก การฟ้องคดีมรดกจึงต้องรีบฟ้องให้เร็วที่สุดภายในกำหนด 1 ปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้หรือควรรู้ว่าเจ้ามรดกตาย แต่ต้องไม่เกิน 10 ปี นับแต่เจ้ามรดกตาย และการฟ้องเรียกมรดกตามพินัยกรรมต้องรีบฟ้องภายในกำหนด 1 ปีนับแต่ผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิของตนเองที่มีอยู่ตามพินัยกรรม ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754
มาตรา 1754 ห้ามมิให้ฟ้องคดีมรดกเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปี นับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย หรือนับแต่เมื่อทายาทโดยธรรมได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
คดีฟ้องเรียกตามข้อกำหนดพินัยกรรม มิให้ฟ้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อผู้รับพินัยกรรมได้รู้หรือควรได้รู้ถึงสิทธิซึ่งตนมีอยู่ตามพินัยกรรม
ภายใต้บังคับแห่งมาตรา 193/27 แห่งประมวลกฎหมายนี้ ถ้าสิทธิเรียกร้องของเจ้าหนี้อันมีต่อเจ้ามรดกมีกำหนดอายุความยาวกว่าหนึ่งปี มิให้เจ้าหนี้นั้นฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เมื่อเจ้าหนี้ได้รู้ หรือควรได้รู้ถึงความตายของเจ้ามรดก
ถึงอย่างไรก็ดี สิทธิเรียกร้องตามที่ว่ามาในวรรคก่อน ๆ นั้น มิให้ฟ้องร้องเมื่อพ้นกำหนดสิบปีนับแต่เมื่อเจ้ามรดกตาย
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
เช่าสินสอด เป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน “จะแต่งงานทั้งทีไม่มีสินสอดได้ยังไง” “แค่เอาสินสอดมาวางพอเป็นพิธี แต่งเสร็จแล้วพ่อแม่จะคื
นิติบุคคล คือใคร ในทางกฎหมายเราจะแบ่งบุคคลออกได้ 2 แบบ คือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และสำหรับบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับนิติบุคคล นิติบุ
บุคคลธรรมดา คือใคร ในทางกฎหมายเราจะแบ่งบุคคลออกได้ 2 แบบ คือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และสำหรับบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับบุคคลธรรมดา บุ
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp