1

JusThat

JusThat แนะนำวิธีคำนวณค่าโอที ค่าทำงานล่วงเวลาสำหรับพนักงานรายเดือน

พนักงานรายเดือนอยากคิดคำนวณค่าโอที แต่ยังไม่รู้จะคำนวณยังไง ต้องใช้สูตรไหนในการคำนวณ เพื่อตอบปัญหาคาใจ JusThat จึงรวบรวมวิธีการคำนวณพร้อมข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องมาไว้ให้ทุกท่านได้ศึกษาที่นี่ในบทความนี้เลย

วิธีคำนวณค่าโอที ค่าทำงานล่วงเวลา สำหรับพนักงานรายเดือน

หากคุณเป็นพนักงานซึ่งรับค่าจ้างโดยวิธีการคำนวณเป็นรายเดือน คือ นายจ้างจ่ายค่าจ้างเหมาให้ทั้งเดือน แปลว่า คุณจะได้รับเงินค่าจ้างทุกวันจำนวน 30 วัน ซึ่งรวมวันทำงานปกติและวันหยุดประจำสัปดาห์ด้วย

สูตรคำนวณค่าโอทีในวันทำงาน สำหรับพนักงานรายเดือน 

(อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงx1.5)xจำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา

ฐานค่าจ้าง/30 วัน = อัตราค่าจ้างต่อวัน

อัตราค่าจ้างต่อวัน/8 = อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง x 1.5 = อัตราค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานต่อชั่วโมง

จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน x อัตราค่าทำงานล่วงเวลาต่อชั่วโมง = ค่าทำงานล่วงเวลาที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับในวันดังกล่าว

ตัวอย่าง A เป็นพนักงานรายเดือนได้รับเงินเดือน 25,000 บาทต่อเดือน มีค่าเดินทางซึ่งนายจ้างจ่ายให้เป็นจำนวนเท่ากันทุก ๆ เดือน จำนวน 5,000 บาท ฐานค่าจ้างของ A จะเป็น 30,000 บาท

วิธีคิดค่าโอทีของ A ต้องนำ 30,000/30 จะได้อัตราค่าจ้างต่อวันเป็นเงิน 1,000 บาท จากนั้นนำ 1,000 ไปหารด้วยชั่วโมงทำงานปกติ 8 ชั่วโมง จะได้อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง จำนวน 125 บาทต่อชั่วโมง ถ้า A ทำโอที 3 ชั่วโมง จะต้องคำนวณค่าโอทีตามนี้ คือ (125×1.5)x3 = 562.5 

แปลว่า A จะต้องได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงานในอัตราชั่วโมงละ 187.5 บาท ถ้า A ทำงานล่วงเวลาในวันทำงานนาน 3 ชั่วโมง A จะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน จำนวน 562.5 บาทนั่นเอง

Facebook
Twitter
LinkedIn

สูตรคำนวณค่าโอทีในวันหยุด สำหรับพนักงานรายเดือน

(อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงx3)xจำนวนชั่วโมงที่ทำงานล่วงเวลา

ฐานค่าจ้าง/30 วัน = อัตราค่าจ้างต่อวัน

อัตราค่าจ้างต่อวัน/8 = อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง

อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง x 3 = อัตราค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดต่อชั่วโมง

จำนวนชั่วโมงที่ทำงาน x อัตราค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดต่อชั่วโมง = ค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดที่ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับในวันดังกล่าว

ตัวอย่าง B เป็นพนักงานรายเดือนได้รับเงินเดือน 15,000 บาทต่อเดือน ฐานค่าจ้างของ A จะเป็น 15,000 บาท

วิธีคิดค่าโอทีของ B ต้องนำ 15,000/30 จะได้อัตราค่าจ้างต่อวันเป็นเงิน 500 บาท จากนั้นนำ 500 ไปหารด้วยชั่วโมงทำงานปกติ 8 ชั่วโมง จะได้อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมง จำนวน 62.5 บาทต่อชั่วโมง ถ้า B ทำโอที 3 ชั่วโมง จะต้องคำนวณค่าโอทีตามนี้ คือ (62.5×3)x3 = 562.5 

แปลว่า B จะต้องได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุดในอัตราชั่วโมงละ 187.5 บาท ถ้า B ทำงานล่วงเวลาในวันหยุดนาน 3 ชั่วโมง B จะได้รับค่าทำงานล่วงเวลาในวันหยุด จำนวน 562.5 บาทนั่นเอง

ค่าโอที ทำงานล่วงเวลา กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

     มาตรา 61 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันทำงาน ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจํานวนชั่วโมงที่ทํา หรือไม่น้อยกว่าหนึ่งเท่าครึ่งของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

     มาตรา 63 ในกรณีที่นายจ้างให้ลูกจ้างทำงานล่วงเวลาในวันหยุด ให้นายจ้างจ่ายค่าล่วงเวลาในวันหยุดให้แก่ลูกจ้างในอัตราไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทำงานตามจํานวนชั่วโมงที่ทํา หรือไม่น้อยกว่าสามเท่าของอัตราค่าจ้างต่อหน่วยในวันทํางานตามจํานวนผลงานที่ทำได้ สำหรับลูกจ้างซึ่งได้รับค่าจ้างตามผลงานโดยคำนวณเป็นหน่วย

     มาตรา 68 เพื่อประโยชน์แก่การคํานวณค่าล่วงเวลา ค่าทํางานในวันหยุด และค่าล่วงเวลาในวันหยุด ในกรณีที่ลูกจ้างได้รับค่าจ้างเป็นรายเดือน อัตราค่าจ้างต่อชั่วโมงในวันทํางาน หมายถึง ค่าจ้างรายเดือนหารด้วยผลคูณของสามสิบและจํานวนชั่วโมงทํางานในวันทํางานต่อวันโดยเฉลี่ย

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »