1

JusThat

เช่าสินสอด เป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน

“จะแต่งงานทั้งทีไม่มีสินสอดได้ยังไง” 
“แค่เอาสินสอดมาวางพอเป็นพิธี แต่งเสร็จแล้วพ่อแม่จะคืนให้”
“แค่เช่าสินสอดมาวางก็ได้มั้ง”
“ถ้าไม่มีสินสอดมาวางก็ไม่ต้องแต่ง”

เมื่อคนในสังคมส่วนหนึ่งยังให้ความสำคัญกับสินสอดอยู่ ธุรกิจให้เช่าสินสอดจึงได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ คู่บ่าวสาวหลายคู่ก็เลือกเช่าสินสอดไปวางพิธีในกรณีที่พ่อแม่จะคืนสินสอดให้ หรือเลือกกู้ยืมเงินไปเป็นสินสอดในกรณีที่ต้องให้สินสอดไปเลย 

บทความนี้ JusThat จึงขอเล่าเกี่ยวการเช่าสินสอด แท้ที่จริงแล้วการให้เช่าสินสอดเป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน การเช่าและการกู้ยืมเงินแตกต่างกันอย่างไร 

เช่าสินสอด กรรมสิทธิ์ไม่โอนไปที่ผู้เช่า

สิ่งที่ทำให้การเช่าสินสอดแตกต่างจากการกู้ยืมเงินไปเป็นสินสอด คือ ผู้ให้เช่าไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ของเงินไปให้ผู้เช่า แปลว่ากรรมสิทธิ์ของเงินเช่ายังเป็นของผู้ให้เช่าอยู่ เจ้าบ่าวเจ้าสาวเช่าธนบัตรใบไหนไป เสร็จพิธีแล้วก็ต้องเอาธนบัตรไปนั้นมาคืนในสภาพเดิม จะเอาเงินไปใช้เองไม่ได้ หรือจะยึดไว้เป็นของตัวเองไม่ได้เพราะกรรมสิทธิ์ในเงินไม่ได้เป็นของเจ้าบ่าวหรือเจ้าสาวที่เช่าสินสอดมา และเงินสินสอดที่เช่ามาก็ไม่ได้เป็นกรรมสิทธิ์ของพ่อแม่เจ้าสาวด้วย 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

     มาตรา 537 อันว่าเช่าทรัพย์สินนั้น คือสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่าผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่าผู้เช่า ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่วระยะเวลาอันมีจำกัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น

     มาตรา 553  ผู้เช่าจำต้องสงวนทรัพย์สินที่เช่านั้นเสมอกับที่วิญญูชนจะพึงสงวนทรัพย์สินของตนเอง และต้องบำรุงรักษาทั้งทำการซ่อมแซมเล็กน้อยด้วย

     มาตรา 562  ผู้เช่าจะต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอย่างใด ๆ อันเกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินที่เช่า เพราะความผิดของผู้เช่าเอง หรือของบุคคลซึ่งอยู่กับผู้เช่า หรือของผู้เช่าช่วง

     แต่ผู้เช่าไม่ต้องรับผิดในความสูญหายหรือบุบสลายอันเกิดแต่การใช้ทรัพย์สินนั้นโดยชอบ

เมื่อกรรมสิทธิ์ไม่ได้ถูกโอนไปที่อีกฝ่าย แต่เป็นการให้อีกฝ่ายนำเงินไปวางประกอบพิธีแค่ชั่วคราวและมีการคิดค่าเช่า การเช่าสินสอดจึงเป็นการลักษณะของการเช่าทรัพย์ไม่ใช่การกู้ยืมเงิน ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงคิดค่าเช่าเท่าไหร่ก็ได้ อาจคิด 20,000 บาทต่อสินสอด 100,000 บาทก็ได้แล้วแต่จะตกลงกัน ถ้าเช่าไปแล้วไม่คืนผู้ให้เช่าก็ฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกทรัพย์คืนได้ และอาจดำเนินคดีอาญาในข้อหายักยอกทรัพย์ได้ด้วย

Facebook
Twitter
LinkedIn

กู้ยืมเงินไปเป็นสินสอด กรรมสิทธิ์ถูกโอนไปให้ผู้กู้

การกู้ยืมเงินไปเป็นสินสอดเหมือนการกู้ยืมเงินทั่วไป ผู้ให้กู้จะโอนกรรมสิทธิ์ในเงินให้ผู้กู้ ทำให้ผู้กู้เอาเงินไปใช้ยังไงก็ได้ จะเอาไปเข้าธนาคารแล้วโอนให้พ่อแม่เจ้าสาวก็ได้ หรือจะกดเงินออกมาแล้วเอาไปมอบให้พ่อแม่เจ้าสาวก็ทำได้ แค่หาเงินจำนวนเท่าเดิมมาคืนภายในระยะเวลาที่ตกลงกันไว้เท่านั้นก็พอ 

ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์

     มาตรา 650  อันว่ายืมใช้สิ้นเปลืองนั้น คือสัญญาซึ่งผู้ให้ยืมโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินชนิดใช้ไปสิ้นไปนั้นเป็นปริมาณมีกำหนดให้ไปแก่ผู้ยืม และผู้ยืมตกลงว่าจะคืนทรัพย์สินเป็นประเภท ชนิด และปริมาณเช่นเดียวกันให้แทนทรัพย์สินซึ่งให้ยืมนั้น

     สัญญานี้ย่อมบริบูรณ์ต่อเมื่อส่งมอบทรัพย์สินที่ยืม

เมื่อเจ้าบ่าวนำเงินที่กู้ยืมมามอบให้พ่อแม่เจ้าสาวเป็นค่าสินสอดแล้ว กรรมสิทธิ์ในเงินนั้นจะเป็นของพ่อแม่เจ้าสาวหรือไม่ ต้องดูว่าตกลงอะไรกันไว้ 

  • ตกลงว่าจะให้สินสอดพ่อแม่เจ้าสาวก็ต้องให้ตามสัญญา กรรมสิทธิ์ในเงินสินสอดที่ให้ไปจะเป็นของพ่อแม่เจ้าสาว 
  • ไม่ได้ตกลงว่าจะให้แต่จะเอามาวางในพิธีเฉย ๆ เสร็จพิธีจะเอาคืน พ่อแม่เจ้าสาวต้องคืน เพราะกรรมสิทธิ์ในเงินยังเป็นของเจ้าบ่าวอยู่ 

ดังนั้น ถ้าฝ่ายเจ้าบ่าวและเจ้าสาวจะนำเงินมาวางโชว์พอเป็นพิธี ก็ควรคุยกันให้ชัดบอกกันให้เคลียร์ตั้งแต่แรกเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นทีหลัง ถ้าไปเช่าสินสอดมาก็ควรบอกให้พ่อแม่เจ้าสาวรับรู้ถึงที่มาที่ไปของเงินให้ชัดเจน เมื่อจบพิธีแล้วเจ้าของเงินจะได้นำเงินกลับได้โดยไม่มีปัญหา หรือไปกู้ยืมเงินมาก็จะได้มีเงินไปชำระหนี้คืนตามกำหนด 

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »