พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
การลงทุนเป็นเรื่องที่ดี บางคนอาจเหมาะกับการลงทุนในหุ้น บางคนอาจซื้อกองทุน บางคนอาจเทรดทอง บางคนอาจซื้อขายคริปโต หรือลงทุนเปิดบริษัทขายสินค้า บริการต่าง ๆ เป็นต้น แต่ทุกการลงทุนย่อมมีความเสี่ยง ดังนั้นผู้ลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลของสิ่งที่จะลงทุนให้ดีเสียก่อน เพราะไม่อย่างนั้นคุณอาจตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพหลอกให้ลงทุนในรูปแบบต่าง ๆ เช่น
โดยจะมีการยื่นข้อเสนอหรือสิ่งจูงใจที่ยากจะอดใจไหว เช่น จ่ายปันผล 60% จ่ายดอกเบี้ย 40% ลงทุน 5,000 ได้คืน 20,000 ภายในระยะเวลาสั้น ๆ ชักชวนด้วยสิ่งล่อตาล่อใจ ให้ความหวังว่าจะมีบ้านหรู มีรถสปอร์ต มีเงินเยอะ ๆ จะรวยแบบพลิกฝ่ามือได้ในระยะเวลาไม่นาน และมิจฉาชีพจะไม่ได้นำเงินไปลงทุนตามที่อ้างจริง ๆ แต่จะนำเงินไปหมุน เพื่อจ่ายให้สมาชิกคนอื่น ๆ เป็นทอด ๆ แบบแชร์ลูกโซ่ ซึ่งถือเป็นการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
การกู้ยืมเงินตามพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ.2527 นั้นไม่เหมือนกับการกู้ยืมเงินทั่วไปที่เรารู้จักกัน เพราะกู้ยืมเงินในลักษณะนี้คือการหลอกลวงประชาชนด้วยการเสนอจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนที่สูงกว่าปกติ และเมื่อได้เงินมากพอแล้วหรือหมุนเงินจ่ายให้สมาชิกไม่ทัน ก็จะปิดบริษัทหนีหายเข้ากลีบเมฆไปเฉย ๆ ทิ้งไว้แต่ความเจ็บช้ำให้เหยื่อที่ถูกหลอกต้องเดือดร้อน ซึ่งมีการบัญญัติความหมายของคำว่า “กู้ยืมเงิน” และ “ผลประโยชน์ตอบแทน” ไว้ในพระราชกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 3 ดังนี้
การกู้ยืมเงิน หมายความว่า รับเงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด ไม่ว่าในลักษณะของการรับฝาก การกู้ การยืม การจําหน่ายบัตรหรือสิ่งอื่นใด การรับเข้าเป็นสมาชิก การรับเข้าร่วมลงทุน การรับเข้าร่วมกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือในลักษณะอื่นใด โดยผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นการรับเพื่อตนเอง หรือรับในฐานะตัวแทน หรือลูกจ้างของผู้กู้ยืมเงิน หรือของผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือในฐานะอื่นใด และไม่ว่าการรับหรือจ่ายเงิน ทรัพย์สิน ผลประโยชน์อื่นใด หรือผลประโยชน์ตอบแทนนั้น จะกระทําด้วยวิธีการใด ๆ
ผลประโยชน์ตอบแทน หมายความว่า เงิน ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ผู้กู้ยืมเงิน หรือบุคคลอื่นจ่าย หรือจะจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินเพื่อการกู้ยืมเงิน ทั้งนี้ ไม่ว่าจะจ่ายในลักษณะดอกเบี้ย เงินปันผล หรือลักษณะอื่นใด
ความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนเป็นอาญาแผ่นดิน ไม่สามารถยอมความได้ โดยมีการบัญญัติลักษณะที่เป็นความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนไว้ในพระกำหนดการกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน พ.ศ. 2527 มาตรา 4 และมาตรา 5
และมีบทลงโทษทางอาญาตามมาตรา 12 ต้องระวางโทษจําคุกตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปี และปรับตั้งแต่ 500,000 บาทถึง 1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
เมื่ออัยการได้ฟ้องคดีอาญาต่อศาลแล้ว ผู้เสียหายก็สามารถร้องขอในส่วนของคดีแพ่งให้อัยการเรียกเงินต้นคืน และเรียกผลประโยชน์ตอบแทนที่เป็นสิทธิตามกฎหมายได้ด้วย ตามมาตรา 9 โดยการนำหลักของการฟ้องคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญามาใช้
นอกจากนี้ผู้ต้องหาว่าทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน มีสิทธิ์โดนอัยการฟ้องเป็นบุคคลล้มละลายได้ ตามมาตรา 10 ในกรณีที่
ทั้งนี้ แม้จะยังไม่มีการฟ้องคดีต่อศาลผู้ต้องหาก็อาจโดนยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ก่อนได้ ตามมาตรา 8 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่มีเหตุอันควรเชื่อว่าผู้ต้องหานั้นมีหนี้สินเกินตัว หรือมีสินทรัพย์ไม่พอชำระหนี้สิน แต่จะยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้ได้ไม่เกิน 90 วัน ยกเว้นมีการฟ้องคดีต่อศาลแล้วคำสั่งยึดหรืออายัดนั้นจะมีผลต่อไปจนกว่าศาลจะสั่งเป็นอย่างอื่น
มาตรา 4 ผู้ใดโฆษณาหรือประกาศให้ปรากฏต่อประชาชนหรือกระทําด้วยประการใด ๆ ให้ปรากฏแก่บุคคลตั้งแต่ 10 คนขึ้นไปว่า ในการกู้ยืมเงินตนหรือบุคคลใดจะจ่าย หรืออาจจ่ายผลประโยชน์ตอบแทนให้ตามพฤติการณ์แห่งการกู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ โดยที่ตนรู้ หรือควรรู้อยู่แล้วว่าตนหรือบุคคลนั้นจะนําเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินรายนั้นหรือรายอื่นมาจ่ายหมุนเวียนให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงิน หรือโดยที่ตนรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า ตนหรือบุคคลนั้นไม่สามารถประกอบกิจการใด ๆ โดยชอบด้วยกฎหมายที่จะให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายในอัตรานั้นได้ และในการนั้นเป็นเหตุให้ตนหรือบุคคลใดได้กู้ยืมเงินไป ผู้นั้นกระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน
ผู้ใดไม่มีใบอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับปัจจัยชําระเงินต่างประเทศตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงิน ดําเนินการ หรือให้พนักงาน ลูกจ้าง หรือบุคคลใด ดําเนินการโฆษณา ประกาศหรือชักชวนประชาชนให้ลงทุนโดย
(1) ซื้อหรือขายเงินตราสกุลใดสกุลหนึ่งหรือหลายสกุล หรือ
(2) เก็งกําไรหรืออาจจะได้รับผลประโยชน์จากการเปลี่ยนแปลงของอัตรา แลกเปลี่ยนเงิน ให้ถือว่าผู้นั้นกระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนด้วย
มาตรา 5 ผู้ใดกระทําการ ดังต่อไปนี้
(1) ในการกู้ยืมเงินหรือจะกู้ยืมเงิน
(ก) มีการโฆษณาหรือประกาศแก่บุคคลทั่วไป หรือโดยการแพร่ข่าวด้วยวิธีอื่นใด หรือ
(ข) ดําเนินกิจการกู้ยืมเงินเป็นปกติธุระ หรือ
(ค) จัดให้มีผู้รับเงินในการกู้ยืมเงินในแหล่งต่าง ๆ หรือ
(ง) จัดให้มีบุคคลตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป ไปชักชวนบุคคลต่าง ๆ เพื่อให้มีการให้กู้ยืมเงิน หรือ
(จ) ได้กู้ยืมเงินจากผู้ให้กู้ยืมเงินเกิน 10 คนซึ่งมีจํานวนเงินกู้ยืมรวมกันตั้งแต่ 5,000,000 บาทขึ้นไป อันมิใช่การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงิน และ
(2) ผู้นั้น
(ก) จ่าย หรือโฆษณา ประกาศ แพร่ข่าว หรือตกลงว่าจะจ่ายผลประโยชน์ตอบแทน ให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยสูงสุดที่สถาบันการเงินตามกฎหมายว่าด้วยดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืมของสถาบันการเงินจะพึงจ่ายได้ หรือ
(ข) ไม่ยอมปฏิบัติตามคําสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 7 (1) (2) หรือ (3) หรือกิจการของผู้นั้นตามที่ผู้นั้นได้ให้ข้อเท็จจริงต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ตามมาตรา 7 ไม่ปรากฏหลักฐานพอที่จะเชื่อได้ว่า เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายให้แก่ผู้ให้กู้ยืมเงินทั้งหลาย
ผู้นั้นต้องระวางโทษเช่นเดียวกับผู้กระทําความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนตามมาตรา 4 ทั้งนี้เว้นแต่ผู้นั้นจะสามารถพิสูจน์ได้ว่า กิจการของตนหรือของบุคคลที่ตนอ้างถึงนั้น เป็นกิจการที่ให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียงที่จะนํามาจ่ายตามที่ตนได้กล่าวอ้าง หรือหากกิจการดังกล่าวไม่อาจให้ผลประโยชน์ตอบแทนพอเพียง ก็จะต้องพิสูจน์ได้ว่ากรณีดังกล่าวได้เกิดขึ้นเนื่องจากสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจที่ผิดปกติอันไม่อาจคาดหมายได้หรือมีเหตุอันสมควรอย่างอื่น
มาตรา 12 ผู้ใดกระทําความผิดตามมาตรา 4 หรือมาตรา 5 ต้องระวางโทษจําคุก ตั้งแต่ 5 ปีถึง 10 ปีและปรับตั้งแต่ 500,000 บาทถึง 1,000,000 บาท และปรับอีกไม่เกินวันละ 10,000 บาท ตลอดเวลาที่ยังฝ่าฝืนอยู่
และยังอาจมีความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม หรือทำให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
มาตรา 343 ถ้าการกระทำความผิดตามมาตรา 341 ได้กระทำด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จต่อประชาชน หรือด้วยการปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแก่ประชาชน ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ถ้าการกระทำความผิดดังกล่าวในวรรคแรก ต้องด้วยลักษณะดังกล่าวในมาตรา 342 อนุมาตราหนึ่งอนุมาตราใดด้วย ผู้กระทำต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงเจ็ดปี 6 เดือน – 7 ปี และปรับตั้งแต่ 10,000 – 140,000 บาท
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้ปรึกษาทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
3 สิ่งต้องรู้ ก่อนหมดตัวเพราะไปค้ำประกันให้คนอื่น ว่าด้วยเรื่องการค้ำประกัน เป็นปกติที่เจ้าหนี้ต้องการให้มีคนค้ำประกัน กรณีลูกหนี้ไม่มีทรัพย์สินที่มีม
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp