1

JusThat

การรับมรดกแทนที่ คืออะไร

การรับมรดกแทนที่ คือ การที่ผู้สืบสันดานโดยตรงของทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกเข้าไปรับมรดกแทนที่ เนื่องจากทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกตายก่อนเจ้ามรดก หรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนที่เจ้ามรดกตาย เช่น พ่อของปิงปองตายก่อนย่า ปิงปองจึงรับมรดกของย่าแทนที่พ่อของตัวเอง หรือแม่ของลินดาถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนยายตาย ลินดาจึงรับมรดกของยายแทนที่แม่ของตัวเอง เป็นต้น

การเข้ารับมรดกแทนที่ คือ การที่ผู้สืบสันดานเข้ารับมรดกแทนที่ทายาทที่ตายไปก่อนหรือถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย

เพื่อให้เข้าใจมากยิ่งขึ้น JusThat จะพาทุกคนย้อนกลับไปที่จุดเริ่มต้นของการรับมรดกกันก่อนนั้นก็คือ “เจ้ามรดก” หรือ “ผู้ตาย” เมื่อมีใครคนใดคนหนึ่งตายจากไป ทั้งทรัพย์สิน สิทธิ หน้าที่และความรับผิดของผู้ตายจะกลายเป็นกองมรดกตกทอดสู่ทายาท ซึ่งอาจเป็นทายาทโดยธรรม หรือทายาทโดยพินัยกรรมก็ได้แล้วแต่กรณี โดยมีผู้ตายเป็น “เจ้ามรดก” ของกองมรดกที่ตกทอดสู่ทายาท

ซึ่งมีทายาทโดยธรรมอยู่ทั้งหมด 6 ลำดับ และ 1 คู่สมรส ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1629 คือ

     ลำดับที่ 1 ผู้สืบสันดาน

     ลำดับที่ 2 มารดาและบิดาชอบด้วยกฎหมาย

     ลำดับที่ 3 พี่น้องแท้ ๆ 

     ลำดับที่ 4 พี่น้องต่างบิดา หรือต่างมารดา (คนละพ่อหรือคนละแม่)

     ลำดับที่ 5 ปู่ ย่า ตา ยาย

     ลำดับที่ 6 ลุง ป้า น้า อา

โดยการแบ่งมรดกระหว่างทายาทโดยธรรมจะต้องเป็นไปตามลำดับที่ 1 และ 2 ถึง 6 ตามหลักญาติสนิทตัดญาติห่าง (ป.พ.พ. มาตรา 1630) คือ ถ้าทายาทลำดับที่ 1 หรือ 2 ยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับแทนที่ทายาทลำดับที่ 1 ทายาทลำดับที่ 3 – 6 จะไม่มีสิทธิรับมรดก 
แต่ถ้าไม่มีทายาทลำดับที่ 1 และ 2 และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ทายาทลำดับที่ 1 กรณีนี้ทายาทลำดับที่ 3 จะมีสิทธิรับมรดก แต่ทายาทลำดับที่ 4 – 6 ไม่มีสิทธิรับมรดก ทายาทลำดับที่ 4 จะมีสิทธิรับมรดกก็ต่อเมื่อไม่มีทายาทลำดับที่ 1-3 และไม่มีผู้รับมรดกแทนที่ทายาทลำดับที่ 1 หรือ 3

และที่ JusThat ต้องใช้ “1 และ 2 ถึง 6” นั่นก็เป็นเพราะว่า พ่อและแม่ของเจ้ามรดกมีสิทธิรับมรดกเหมือนลูกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1630 วรรค 2

     มาตรา 1630  ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณี ในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1630 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

     แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามาดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

แปลว่า ถ้าเจ้ามรดกมีลูกและพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ ลูกและพ่อแม่ของเจ้ามรดกจะมีสิทธิได้ส่วนแบ่งมรดกเท่ากัน แต่ถ้าลูกตายก่อนแล้วแต่มีหลานและพ่อแม่ยังมีชีวิตอยู่ กรณีนี้หลานและพ่อแม่ของเจ้ามรดกอาจได้ส่วนแบ่งมรดกไม่เท่ากัน เพราะการเข้ารับมรดกของหลานเป็นการเข้ารับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่ของตัวเอง (แทนที่ลูกของเจ้ามรดก) ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1631 หลานจึงมีสิทธิได้ส่วนแบ่งมรดกจากส่วนแบ่งมรดกที่พ่อหรือแม่ของตัวเองมีสิทธิได้รับเท่านั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639

     มาตรา 1631  ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่

Facebook
Twitter
LinkedIn

เฉพาะผู้สืบสันดานของทายาทลำดับที่ 1 3 4 และ 6 เท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่ของตัวเอง

เพราะผู้สืบสันดานของทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 (พ่อแม่ของเจ้ามรดก) คือ 1.ตัวเจ้ามรดกเอง ซึ่งไม่สามารถรับมรดกของตัวเองได้อยู่แล้ว 2.พี่น้องของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 3 และ 4 อยู่แล้ว 

และผู้สืบสันดานของทายาทโดยธรรมลำดับที่ 5 คือ 1.พ่อแม่ของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 อยู่แล้ว และ 2.ลุง ป้า น้า อาของเจ้ามรดก ซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 6 อยู่แล้ว

กฎหมายจึงห้ามไม่ให้มีการรับมรดกแทนที่ทายาทลำดับที่ 2 และ 5 ตามมาตรา 1641 และให้มีการรับมรดกแทนที่ทายาทลำดับที่ 1 3 4 และ 6 เท่านั้น ตามมาตรา 1639

     มาตรา 1639  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (1) (3) (4) หรือ (6) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้าบุคคลนั้นมีผู้สืบสันดานก็ให้ผู้สืบสันดานรับมรดกแทนที่ ถ้าผู้สืบสันดานคนใดของบุคคลนั้นถึงแก่ความตายหรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกเช่นเดียวกัน ก็ให้ผู้สืบสันดานของผู้สืบสันดานนั้นรับมรดกแทนที่ และให้มีการรับมรดกแทนที่กันเฉพาะส่วนแบ่งของบุคคลเป็นราย ๆ สืบต่อกันเช่นนี้ไปจนหมดสาย

     มาตรา 1641  ถ้าบุคคลใดซึ่งจะเป็นทายาทตามมาตรา 1629 (2) หรือ (5) ถึงแก่ความตาย หรือถูกกำจัดมิให้รับมรดกก่อนเจ้ามรดกตาย ถ้ามีทายาทในลำดับเดียวกันยังมีชีวิตอยู่ ก็ให้ส่วนแบ่งทั้งหมดตกได้แก่ทายาทนั้นเท่านั้น ห้ามมิให้มีการรับมรดกแทนที่กันต่อไป

เฉพาะผู้สืบสันดานโดยตรงเท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่ของตัวเอง

ผู้สืบสันดาน คือ บุตรชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาใด้รับรองแล้ว และบุตรบุญธรรม 

     มาตรา 1627  บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้นให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน เหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

    มาตรา 1643  สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันนั้นได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรง ผู้บุพการีหามีสิทธิดังนั้นไม่

สำหรับผู้สืบสันดานโดยตรงนั้น กฎหมายไม่ได้กำหนดไว้ว่าใครคือผู้สืบสันดานโดยตรงบ้าง แต่มีบรรทัดฐานว่า ผู้สืบสันดานโดยตรง หมายถึง ผู้สืบสันดานที่สืบสายเลือดแท้ ๆ ตามแนวคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540 และ 773/2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2495/2540  

     ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1643  ที่กำหนดให้สิทธิที่จะรับมรดกแทนที่กันได้เฉพาะแก่ผู้สืบสันดานโดยตรงนั้น  หมายความถึงผู้สืบสันดานโดยสายโลหิตอันแท้จริงเท่านั้น  ส่วนบุตรบุญธรรม แม้ ป.พ.พ. มาตรา 1627  จะให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายก็ตาม  ก็หมายความเพียงว่า  บุตรบุญธรรมเป็นทายาทโดยธรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629(1)  และมีสิทธิได้รับมรดกของผู้รับบุตรบุญธรรมเท่านั้น  หามีผลทำให้บุตรบุญธรรมมสิทธิรับมรดกแทนที่ผู้รับบุตรบุญธรรมด้วยไม่  เพราะไม่ใช่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรงตาม ป.พ.พ. มาตรา 1643  ดังนั้น  เมื่อผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ซึ่งเป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับเจ้ามรดก และ จ. ถึงแก่ความตายไปก่อนเจ้ามรดกแล้ว  เช่นนี้  ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิรับมรดกของเจ้ามรดกแทนที่ จ. ได้  เพราะผู้ร้องไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงของ จ. ผู้ร้องจึงไม่ใช่ทายาทหรือผู้มีส่วนได้เสียในทรัพย์มรดกของเจ้ามรดกในอันที่จะร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดกรมรดกของเจ้ามรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1713

จากฎีกาข้างต้น จะเห็นว่าบุตรบุญธรรมไม่ใช่ผู้สืบสันดานโดยตรงที่มีสิทธิรับมรดกแทนที่พ่อแม่บุญธรรม มีแต่บุตรชอบด้วยกฎหมาย และบุตรนอกกฎหมายที่บิดาใด้รับรองแล้วเท่านั้นที่เป็นผู้สืบสันดานโดยตรง และรับมรดกแทนที่ได้

แต่บุตรของบุตรบุญธรรมสามารถรับมรดกแทนที่บุตรบุญธรรมได้ เช่น A เป็นบุตรบุญธรรมของ D  แน่นอนว่า A เป็นผู้สืบสันดานของ D และมีสิทธิรับมรดกของ D ในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 

ดังนั้นถ้า A มีลูก 2 คน คือ B เป็นลูกแท้ ๆ และเป็นลูกชอบด้วยกฎหมาย กับ C เป็นลูกบุญธรรม และ A ตายก่อน D จะมีเฉพาะ B เท่านั้นที่มีสิทธิรับมรดกของ D แทนที่ A ส่วน C ไม่มีสิทธิรับมรดกแทนที่ A แต่มีสิทธิรับมรดกของ A เหมือนที่ A มีสิทธิรับมรดกของ D ในฐานะบุตรบุญธรรมซึ่งเป็นผู้สืบสันดานผู้มีสิทธิรับมรดก

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »