1

JusThat

บังคับจำนอง ได้เงินไม่พอชำระหนี้
เจ้าหนี้จะเรียกให้ลูกหนี้จ่ายหนี้ส่วนที่เหลือ ได้หรือไม่

การฟ้องบังคับจำนองเป็นสิ่งที่เจ้าหนี้มีสิทธิ์ดำเนินการได้ เมื่อลูกหนี้ผู้จำนองผิดนัดชำระหนี้ และเจ้าหนี้ได้ส่งโนติสไปบอกกล่าวให้ลูกหนี้ชำระหนี้แล้ว แต่ลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ภายในเวลาที่เจ้าหนี้กำหนดตามโนติส ซึ่งระยะเวลาส่วนนี้อาจมากหรือน้อยก็ได้ แต่ต้องไม่น้อยกว่า 60 วันตามที่กฎหมายกำหนด และจะเริ่มนับระยะเวลาตั้งแต่วันที่ลูกหนี้ได้รับโนติสบอกกล่าวให้ชำระหนี้

เมื่อมีการฟ้องบังคับจำนองไปแล้ว ลูกหนี้เองก็ยังสามารถไปเจรจาขอประนีประนอมยอมความกับเจ้าหนี้ได้ จะเอาเงินก้อนไปจ่ายให้เจ้าหนี้ก็ได้ แต่ถ้าไม่ทำอะไรเลยก็คงต้องรอศาลพิพากษาสั่งให้ยึดทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด เพื่อให้เจ้าหนี้ผู้รับจำนองได้รับชำระหนี้ต่อไป

แต่ก็อาจมาเกิดปัญหาตรงที่ว่า เมื่อนำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดไปแล้วกลับได้เงินไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษา กรณีนี้เจ้าหนี้จะต้องทำยังไง จะเรียกให้ลูกหนี้ผู้จำนองชำระหนี้ส่วนที่เหลือได้ไหม ถ้าคุณอยากรู้ก็มาหาคำตอบไปพร้อม ๆ กับ JusThat ในบทความนี้เลย

บังคับจำนอง ได้เงินไม่พอชำระหนี้ ลูกหนี้ไม่ต้องชำระหนี้ส่วนที่เหลือ

อ่านหัวข้อแล้วอ่านใหม่ อ่านกี่ครั้งก็อ่านไม่ผิด เพราะกฎหมายกำหนดไว้ว่า เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 733

     มาตรา 733 ถ้าเอาทรัพย์จำนองหลุดและราคาทรัพย์สินนั้นมีประมาณต่ำกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่ก็ดี หรือถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้างชำระกันอยู่นั้นก็ดี เงินยังขาดจำนวนอยู่เท่าใดลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในเงินนั้น

เช่น A เป็นเจ้าหนี้ B จำนวน 500,000 บาท และนำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดได้เงิน 350,000 บาท ซึ่งไม่พอชำระหนี้ ยังขาดอีก 150,000 บาท แบบนี้ B ก็ไม่ต้องรับผิดชอบชำระหนี้ส่วนที่เหลือ 150,000 บาทให้กับ A และ A จะไปฟ้องคดีแพ่งต่อศาลเพื่อให้ B ชำระหนี้ส่วนที่เหลืออีกไม่ได้ เป็นต้น

Facebook
Twitter
LinkedIn

แต่ลูกหนี้ต้องรับผิด ถ้ามีข้อตกลงในสัญญาว่า ลูกหนี้จะต้องรับผิดในเงินที่ขาดจำนวนอยู่ภายหลังขายทอดตลาด

แม้กฎหมายจะกำหนดไว้ว่า ถ้าได้นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาด แล้วได้เงินมาชำระหนี้ให้กับเจ้าหนี้ไม่พอ ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดในส่วนที่ขาดอยู่ แต่ก็ไม่ตัดสิทธิคู่สัญญาที่จะทำสัญญายกเว้นข้อกฎหมายดังกล่าวนี้ได้ แปลว่า คู่สัญญาสามารถตกลงทำสัญญาให้ลูกหนี้ต้องรับผิดชอบหนี้ส่วนที่เหลือหลังขายทอดตลาดได้นั่นเอง

เช่น B กู้ยืมเงิน C จำนวน 1 ล้านบาทและนำบ้านพร้อมที่ดินไปจำนองไว้ เพื่อเป็นหลักประกันการชำระหนี้กับ C โดยทำข้อตกลงกันไว้ว่า B จะต้องรับผิดชำระหนี้ในเงินส่วนที่เหลือ หาก C นำทรัพย์จำนองออกขายทอดตลาดแล้วได้เงินไม่พอชำระหนี้ ซึ่งจะทำให้ C สามารถเรียกให้ B ชำระหนี้ส่วนที่เหลือได้ เป็นต้น

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »