1

JusThat

เช่าชุดไม่คืน อ้างจ่ายมัดจำแล้ว เจ้าของชุดดำเนินคดีได้ทั้งทางแพ่งและอาญา

ปัจจุบันการเช่าชุดเที่ยวคาเฟ เช่าชุดเที่ยวทะเล เช่าชุดไปถ่ายรูป หรือเช่าชุดแต่งงาน ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ เพราะไม่ต้องเสียเงินไปกับการซื้อชุดที่ใส่แค่ไม่กี่ครั้ง แต่ปัญหาหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้กับร้านค้าให้เช่าชุดเหล่านี้ก็คือ ลูกค้าเช่าชุดไม่คืน เอาชุดไปใช้งานแล้วไม่ยอมส่งคืน โดยอ้างว่าจ่ายมัดจำไปแล้วก็เอาค่ามัดจำไปแทนค่าชุดเลยสิ ส่วนชุดนี้ฉันขอเพราะคุณได้มัดไปแล้ว

เจอแบบนี้จะประจานในกลุ่มให้เช่าเลยก็กลัวจะโดนข้อหาหมิ่นประมาท หรือหนักกว่านั้นอาจโดนดำเนินคดีข้อหาหมิ่นประมาทโดยการโฆษณาได้ ถ้าโพสต์ประจานแบบเปิดเผยต่อสาธารณะให้ทุกคนเห็นได้ ในเมื่อประจานก็ไม่ได้แล้วกฎหมายมีทางออกอะไรให้ผู้ให้เช่าบ้าง แค่อ่านบทความนี้ไม่เกิน 3 นาทีคุณจะได้ตอบจาก JusThat 

เช่าชุดไม่คืน แค่ริบมัดจำไม่ได้หมายความจะจบกัน

ก่อนอื่นเราต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับเงินมัดก่อน เงินมัดจำ ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Earnest Money คือเงินวางไว้เป็นหลักฐานเบื้องต้นว่ามีการทำสัญญากันขึ้นแล้ว และเพื่อเป็นหลักประกันว่าจะปฏิบัติตามสัญญาเท่านั้น

เมื่อถึงกำหนดแล้วแต่ลูกค้าเช่าชุดไปแล้วไม่คืนทางผู้ให้เช่าจึงสามารถริบมัดจำได้ แต่ไม่ได้หมายความว่ายึดมัดจำไปแล้วหน้าที่คืนชุดของผู้เช่าจะหมดไปนะ เพราะการยึดมัดจำเกิดขึ้นเนื่องจากผู้เช่าทำผิดหน้าที่ของตัวเอง ผู้เช่า(ลูกค้า)จึงยังต้องคืนชุดให้กับร้านเช่าชุด และยังมีหน้าที่ชำระค่าเช่าชุดที่ค้างอยู่ให้กับผู้ให้เช่าอีกด้วย

ทั้งนี้การริบมัดจำนั้นไม่ได้ทำให้สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายของผู้ให้เช่าหมดไป ดังนั้นผู้ให้เช่าจึงสามารถเรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้นจากการเสียโอกาสทางธุรกิจ หรือความเสียอื่น ๆ จากผู้เช่าชุดที่เช่าชุดไม่คืนได้และสามารถเรียกค่าปรับตามที่ตกลงกันไว้ได้ด้วย

สรุปได้ว่าเมื่อมีลูกค้าเช่าชุดไปแล้วไม่คืน ผู้ให้เช่าจะมีสิทธิเรียกร้องทางแพ่งดังนี้

  1. เรียกให้อีกฝ่ายคืนชุด
  2. ริบมัดจำที่วางไว้ในวันทำสัญญา
  3. เรียกให้อีกฝ่ายจ่ายค่าเช่าชุดที่ค้างอยู่ (ถ้ามี) 
  4. เรียกให้อีกฝ่ายจ่ายค่าเสียหายที่เกิดขึ้น (ถ้ามี)
  5. เรียกให้อีกฝ่ายจ่ายเบี้ยปรับ (ค่าปรับ) ที่ตกลงกันไว้ แต่ถ้าไม่ได้ตกลงให้มีค่าปรับไว้ตั้งแต่แรก ผู้ให้เช่าจะเรียกค่าปรับไม่ได้นะ

อย่างไรก็ตามสิทธิเรียกร้องที่ JusThat กล่าวมานั้นเป็นการเรียกร้องในทางแพ่ง ถ้าไม่สามารถพูดคุยตกลงกันได้หรือส่งโนติสแล้ว ทำทุกอย่างผู้เช่าก็ไม่ยอมคืน ไม่ยอมจ่ายเงินตามที่เรียกไป ทางผู้ให้เช่าจะต้องยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีต่อไป 

Facebook
Twitter
LinkedIn

เช่าชุดไม่คืน การดำเนินคดีอาญาข้อหายักยอกทรัพย์

นอกจากสิทธิเรียกร้องทางแพ่งแล้ว ผู้ให้เช่ายังสามารถดำเนินคดีอาญาตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 352 กับผู้เช่าที่เช่าชุดไม่คืนในข้อหายักยอกทรัพย์ได้อีกด้วย โดยการแจ้งความร้องทุกข์ภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำความผิด เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีกับผู้ทำความผิด ถ้าตกลงกันไม่ได้และไม่มีการถอนแจ้งความ รวมทั้งพยานหลักฐานมีความรัดกุมมากพอ อัยการก็จะเป็นผู้ฟ้องศาลในลำดับถัดไป

ทั้งนี้คดียักยอกทรัพย์ถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา เมื่อผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์และอัยการสั่งฟ้องแล้ว อัยการก็สามารถเรียกราคาของชุดเช่าคืนให้ผู้เสียหายได้ด้วย เพราะข้อหายักยอกทรัพย์จัดอยู่ใน 9 ข้อหาที่อัยการมีหน้าที่เรียกทรัพย์สินคืนให้ หรือเรียกร้องให้อีกฝั่งจ่ายเงินแทนราคาให้ได้เท่าราคาของทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่อัยการจะเรียกเงินค่าเสียหายอื่น ๆ และดอกเบี้ยแทนผู้เสียหายไม่ได้  ถ้าผู้เสียหายต้องการเรียกค่าเสียหายอื่น ๆ และดอกเบี้ย ก็สามารถเอาผลคดีอาญามาเรียกค่าเสียหายและดอกเบี้ยในทางแพ่งได้

แต่ถ้าไม่อยากแจ้งความร้องทุกข์ก็ต้องรีบฟ้องคดีอาญาเองภายใน 3 เดือนเช่นกัน เพราะข้อหายักยอกทรัพย์เป็นความผิดอาญาอันยอมความได้ จึงต้องนับอายุความตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 96 ซึ่งกำหนดอายุความไว้ 3 เดือน 

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »