รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
คุณผู้อ่านเคยสงสัยกันไหมว่า
ถ้าคุณซื้อภาพวาดมา 1 ภาพ ลิขสิทธิ์ภาพวาดจะเป็นของคุณหรือเปล่า ?
หรือลิขสิทธิ์จะยังเป็นของศิลปินที่วาดภาพขึ้นมา ?
แล้วถ้าคุณไปจ้างศิลปินให้วาดภาพให้ ลิขสิทธิ์จะเป็นของคุณหรือของศิลปินผู้วาด ?
หรือในกรณีที่คุณวาดภาพขึ้นมาในฐานะลูกจ้าง ลิขสิทธิ์จะเป็นของคุณหรือของนายจ้าง ?
บทความนี้ JusThat มีคำตอบ
“ลิขสิทธิ์” และ “กรรมสิทธิ์” เป็นสิทธิ์คนละแบบและความเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ไม่เหมือนความเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ ดังนั้น จะเอาสิทธิ์สองอย่างนี้มาอ้างแทนกันไม่ได้นะ
ลิขสิทธิ์ คือ สิทธิแต่เพียงผู้เดียวที่จะกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับงานที่ผู้สร้างสรรค์ได้ริเริ่มโดยการใช้สติปัญญาความรู้ ความสามารถ และความวิริยะอุตสาหะของตนเองในการสร้างสรรค์ โดยไม่ลอกเลียนงานของผู้อื่น
ลิขสิทธิ์เป็นทรัพย์สินทางปัญญารูปแบบหนึ่งที่เน้นคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของผู้ถือลิขสิทธิ์ ไม่ให้ใครมาลอกเลียน ทำซ้ำ ดัดแปลง เผยแพร่ ใช้ในทางการค้าโดยไม่รับอนุญาตจากเจ้าของลิขสิทธิ์ โดยที่งานสร้างสรรค์นั้นต้องเป็นงาน 9 ประเภทตามกฎหมายลิขสิทธิ์ แลผู้สร้างสรรค์จะได้รับความคุ้มครองทันทีที่สร้างสรรค์ขึ้นมาโดยไม่ต้องจดทะเบียนใด ๆ
กรรมสิทธิ์ คือ ความเป็นเจ้าของทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336
กรรมสิทธิ์จะคุ้มครองสิทธิของเจ้าของในการที่จะยึดถือ ห้ามไม่ให้ใครยุ่งเกี่ยวกับทรัพย์สิน ไม่ให้ใครมาทำให้เสียหาย บุบสลาย หรือแย่งเอาทรัพย์สินนั้นไป ว่ากันง่าย ๆ ก็คือ พอได้กรรมสิทธิ์มาแล้วของสิ่งนั้นก็จะเป็นสมบัติส่วนตัวของผู้ถือกรรมสิทธิ์นั่นเอง
ดังนั้น ผู้ที่ครอบครองผลงานอยู่อาจเป็นทั้งเจ้าของกรรมสิทธิ์และเจ้าของสิขสิทธิ์ หรือเป็นเจ้าของสิทธิอย่างใดอย่างหนึ่ง หรืออาจมีแค่สิทธิครอบครองแต่ไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิใด ๆ เลยใน 2 อย่างนี้ก็ได้
การซื้อขายผลงานลิขสิทธิ์ ตามปกติแล้วคนซื้อจะได้กรรมสิทธิ์ของชิ้นงานที่ซื้อไป เช่น ซื้อภาพวาด 1 ภาพ คนซื้อก็ได้กรรมสิทธิ์ภาพวาด 1 ภาพที่ซื้อไป ซื้อเสื้อผ้าแบรนด์เนม 1 ตัว คนซื้อก็ได้กรรมสิทธิ์เสื้อผ้าชิ้นที่ซื้อไป เป็นต้น
โดยที่ลิขสิทธิ์ยังเป็นของผู้สร้างสรรค์หรือของผู้ถือลิขสิทธิ์เดิม ดังนั้น เจ้าของลิขสิทธิ์จะทำสินค้าแบบเดิมออกมาจำหน่ายอีกกี่ชิ้นก็ได้ หรือจะเอาผลงานที่ว่าไปดัดแปลงเป็นอย่างอื่นเพิ่มเติมก็ได้ เช่น เอาภาพวาดไปสกรีนใส่เสื้อ เอาลายบนเสื้อผ้าไปทำเป็นลายบนกระเป๋า เป็นต้น
แต่ยังมีการซื้อขายงานลิขลิทธิ์อีกรูปแบบหนึ่งที่คนซื้อจะได้ทั้งกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ไปด้วย นั่นก็คือ “การขายขาด” ซึ่งผู้ซื้อจะได้ไปทั้งกรรมสิทธิ์และลิขสิทธิ์ โดยที่ผู้สร้างสรรค์จะหมดใช้ผลงานอันมีลิขสิทธิ์ที่ขายขาดนั้นไปตลอด
ทั้งนี้ ในบางกรณีก็อาจมีการตกลงกันให้คนซื้อสามารถใช้สิทธิ์ตามที่เจ้าของลิขสิทธิ์อนุญาตได้ โดยไม่ต้องขายขาด เช่น การซื้อขายภาพบนเว็บไซต์ Stock ต่าง ๆ ที่จะมีการให้สิทธิ์ผู้ซื้อสามารถนำภาพไปใช้ได้ตามขอบเขตที่เจ้าของผลงานอนุญาต และเจ้าของผลงานก็ยังสามารถขายผลงานให้กับคนอื่น ๆ ได้อีก เป็นต้น
สำหรับการจ้างทำของที่เป็นผลงานสร้างสรรค์ตามกฎหมายว่าด้วยลิขสิทธิ์นั้น ผู้ที่ได้เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ผลงานที่สร้างขึ้นคือ ผู้ว่าจ้าง ยกเว้นว่าคู่สัญญาจะตกลงกันอย่างอื่น ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 10
เช่น A รับจ้างออกแบบมาสคอตให้ B ลิขสิทธิ์ในผลงานจะเป็นของ B และกรรมสิทธิ์ผลงานก็จะเป็นของ B ด้วย แปลว่า A จะไม่มีสิทธิ์ใด ๆ ในผลงานนั้นอีกต่อไป แต่ถ้า A กับ B ตกลงกันว่าให้ถือลิขสิทธิ์ร่วมกัน แบบนี้ A ก็จะสามารถใช้สิทธิ์ในผลงานนั้นได้ตามที่ตกลงกันไว้
สำหรับผลงานที่ถูกสร้างขึ้นในขณะที่ผู้สร้างสรรค์เป็นลูกจ้าง ถ้าไม่มีการทำหนังสือตกลงกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรให้นายจ้างเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือถือลิขสิทธิ์ร่วมกัน ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นจะเป็นของลูกจ้างคนเดียว แต่นายจ้างจะสามารถนำผลงานไปเผยแพร่ได้ตามขอบเขตของวัตถุประสงค์ในการจ้างงานที่ตกลงกันไว้ ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 9
เช่น D สั่งให้ O ที่เป็นลูกจ้างออกแบบหน้าปกหนังสือ ลิขสิทธิ์ในผลงานออกแบบจะเป็นของ O แต่ผลงานที่ทำขึ้นมาแล้วเป็นกรรมสิทธิ์ของ D
ดังนั้น O จะทำลาย ทำให้งานออกแบบนั้นเสียหายไม่ได้ แต่ O สามารถเอาผลงานออกแบบนั้นไปต่อยอด ทำเป็นอย่างอื่นได้ตามที่ใจต้องการ
แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่มีการทำหนังสือสัญญากันว่าให้ D เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือถือลิขสิทธิ์ร่วมกัน D ก็จะทำทุกอย่างได้ตามที่ตกลงกันไว้ในสัญญานั้น
การละเมิดลิขสิทธิ์เป็นความผิดต่อส่วนตัว เจ้าของลิขสิทธิ์จึงต้องรีบแจ้งความร้องทุกข์ เพื่อดำเนินคดีอาญาคนทำความผิดภายใน 3 เดือนนับแต่รู้เรื่องและรู้ตัวคนทำความผิด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 96 แต่ถ้าเคยแจ้งความไว้แล้วคดีไม่คืบหน้า ก็สามารถยื่นฟ้องคดีอาญาได้ภายในกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 95
ส่วนการยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาล จะต้องยื่นฟ้องภายใน 3 ปีนับตั้งแต่วันที่รู้เรื่องการละเมิดและรู้ตัวผู้ทำละเมิด แต่ต้องไม่เกิน 10 ปีนับแต่วันที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์นั้น
เช่น M ละเมิดลิขสิทธิ์ O วันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2560 และ O รู้เรื่องว่า M ละเมิดลิขสิทธิ์ ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2565 O จะต้องยื่นฟ้องคดีแพ่งภายในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ. 2568
แต่ถ้า O รู้เรื่องว่า M ละเมิดลิขสิทธิ์ ในวันที่ 20 มกราคม พ.ศ.2568 กรณีนี้ O จะต้องยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลภายในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ.2570
จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp