1

JusThat

ข้อห้ามที่ท้าวแชร์ต้องรู้ก่อนตั้งวงเล่นแชร์ ถ้าไม่อยากทำผิดกฎหมาย

การเล่นแชร์ เป็นสิ่งที่อยู่คู่สังคมไทยมานาน คนที่ร่วมวงกันก็มักเป็นคนใกล้ชิด เพื่อนสนิท มิตรสหายที่คุ้นเคยกัน ทำการเข้าร่วมวงเพื่อหาทุนไปใช้จ่ายตามที่ตัวเองต้องการ โดยมีท้าวแชร์เป็นคนคอยรวบรวมเงินกองกลอง และส่งให้กับคนที่เปียร์แชร์หรือประมูลแชร์ได้

ซึ่งการเล่นแชร์ก็เป็นที่นิยมของผู้คนทุกแวดวงสังคม เพราะการเล่นแชร์ทำให้คนเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่าย บางคนอาจไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน หรือไม่อยากพึ่งพาเจ้าหนี้เงินกู้นอกระบบที่ดอกเบี้ยโหด จึงใช้วิธีการร่วมวงแชร์ เข้าเปียแชร์ ประมูลแชร์ เพื่อหาเงินทุนไปใช้จ่ายตามความจำเป็นของตัวเอง

หากใครอยากตั้งวงแชร์ก็ต้องรู้จัก พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ซึ่งใช้บังคับท้าวแชร์หรือนายวงแชร์โดยเฉพาะ หากมีการทำผิดก็จะมีโทษตามกฎหมายด้วยนะ และข้อห้ามที่ว่าคืออะไร ฝ่าฝืนแล้วท้าวแชร์จะได้รับโทษอย่างไร JusThat มีคำตอบ พร้อมแล้วอ่านต่อด้านล่างได้เลย

หลัก 6 ข้อ ของการเล่นแชร์แบบถูกกฎหมาย

เล่นแชร์ คืออะไร

การเล่นแชร์ ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 มีความหมายว่า การลงหุ้นเป็นจำนวนเงินและตามวาระที่กำหนดแล้วประมูลว่าจะให้ดอกเบี้ยเท่าไร ผู้ลงหุ้นที่ให้ดอกเบี้ยสูงสุดจะได้รับเงินก่อน เวียนไปจนครบจำนวนผู้เล่น เรียกการลงหุ้นเช่นนั้นว่าเล่นแชร์

การเล่นแชร์ ในทางกฎหมาย มีนิยามตามมาตรา 4 ว่า การที่บุคคลตั้งแต่สามคนขึ้นไปตกลงกันเป็นสมาชิกวงแชร์ โดยแต่ละคนมีภาระที่จะส่งเงินหรือทรัพย์สินอื่นใด รวมเข้าเป็นทุนกองกลางเป็นงวด ๆ เพื่อให้สมาชิกวงแชร์หมุนเวียนกันรับทุนกองกลางแต่ละงวดนั้นไปโดยการประมูลหรือโดยวิธีอื่นใด และให้หมายความรวมถึงการรวมทุนในลักษณะอื่นตามที่กำหนดในกฎกระทรวงด้วย

พูดง่าย ๆ ว่าการเล่นแชร์ก็คือการลงทุนเพื่อออมเงิน โดยลูกแชร์แต่ละคนจะนำเงินของตัวเองมารวมเป็นทุนกองกลาง เมื่อได้ทุนกองกลางแล้วก็จะมีการประมูลหรือเปียร์แชร์ คนที่ประมูลได้ก็จะได้เงินในรอบนั้นไป เมื่อถึงรอบใหม่ก็นำเงินมารวมกันอีก ส่วนคนที่เคยประมูลได้เงินไปแล้วก็นำเงินทุนมาลงพร้อมดอกเบี้ยที่เคยตกลงกันไว้ และประมูลวนไปจนครบวง  

การเล่นแชร์ของแต่ละวงจึงมีวิธีประมูลแชร์หรือเปียร์แชร์แตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับข้อตกลงของท้าวแชร์และลูกแชร์ในวงว่าจะใช้วิธีใดในการประมูลเงินกองกลางออกไป บางวงก็ใช้วิธีจ่ายตามลำดับไปเรื่อย ๆ บางวงใช้วิธีประมูลด้วยดอกเบี้ย ใครให้ดอกเบี้ยสูงสุดก็ได้เงินกองกลางในงวดนั้นไป เป็นต้น

ข้อห้ามในการตั้งวงแชร์

ห้ามนิติบุคคลเป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ ตามมาตรา 5 ผู้ที่จะเป็นท้าวแชร์ได้ต้องเป็นบุคคลธรรมดาเท่านั้น นิติบุคคลนี้รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญที่ไม่ได้จดทะเบียนด้วยนะ  

หากฝ่าฝืนต้องระวางโทษปรับตั้งแต่ 1 เท่าถึง 3 เท่าของทุนกองกลางแต่ละงวดของทุกวงแชร์ แต่ไม่ต่ำกว่า 200,000 บาท และจะถูกศาลสั่งให้หยุดดำเนินการเป็นนายวงแชร์หรือการจัดให้มีการเล่นแชร์ ตามมาตรา 16

บุคคลธรรมดาก็คือคนทั่วไป สามารถเป็นท้าวแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์ได้ แต่วงแชร์ที่ตั้งขึ้นต้องอยู่ในหลักเกณฑ์ของ มาตรา 6 ด้วยนะ

  1. ห้ามท้าวแชร์จัดให้มีการเล่นแชร์มากกว่า 3 วงในเวลาเดียวกัน ต้องมีวงใดวงหนึ่งเล่นจบก่อนจึงจะตั้งอีกวงขึ้นได้
  2. ห้ามท้าวแชร์รับลูกแชร์รวมกันทุกวงเกิน 30 คน แปลว่า 1 วงจะมี 30 คนก็ได้ แต่จะไปตั้งวงเพิ่มหรือรับเพิ่มไม่ได้แล้วนะ เพราะสมาชิกครบ 30 คนแล้ว ถ้าจะตั้งเพิ่มก็ต้องรอให้วงแรกจบก่อน แล้วตั้งใหม่โดยลดจำนวนสมาชิกในแต่ละวงลง เช่น วงที่ 1 มี 20 คน วงที่ 2 มี 10 คน เป็นต้น 
  3. ห้ามท้าวแชร์จัดให้มีทุนกองกลางรวมกันทุกวงเกิน 300,000 บาท ต่องวด
  4. ห้ามท้าวแชร์รับผลประโยชน์อื่นจากวงแชร์ นอกจากการรับเงินกองกลางไปใช้โดยไม่ต้องเสียดอกเบี้ย 

หากใครฝ่าฝืนต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 17

เมื่อมีวงแชร์แล้ว ความรับผิดชอบของท้าวแชร์ก็ตามมาเป็นหางว่าว หากมีสมาชิกไม่ยอมจ่ายเงินเข้ากองกลาง ท้าวแชร์ก็ต้องรับผิดชอบแทน หรือมีคนใจมายื่นมาเข้ามาช่วยก็สามารถทำได้ 

แต่ห้ามนิติบุคคลสัญญาว่าจะรับผิดชอบแทนท้าวแชร์ ตามบทบัญญัติในมาตรา 8 ห้ามมิให้นิติบุคคลสัญญาว่าจะใช้เงินหรือทรัพย์สินอื่นใดแทนนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ หากฝ่าฝืนจะต้องโดนโทษปรับไม่เกิน 200,000 บาท ตามมาตรา 18

และสิ่งสำคัญคือห้ามผู้ใดก็ตามโฆษณาเชิญชวนประชาชนเข้ามาร่วมเล่นแชร์ ซึ่งมีบัญญัติไว้ในมาตรา 9 หากฝ่าฝืนต้องโดนโทษปรับไม่เกิน 50,000 บาท ตามมาตรา 19

เนื่องจาก พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 ตราขึ้นมาเพื่อบังคับใช้กับท้าวแชร์หรือนายวงแชร์เท่านั้น ไม่ได้บังคับใช้กับลูกแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ ดังนั้น หากท้าวตั้งวงเล่นแชร์ผิดกฎหมาย ฝ่าฝืนพ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 และเกิดความเสียหายขึ้น ท้าวแชร์ผิดสัญญาหรือสมาชิกในวงไม่จ่ายเงินตามกำหนด ซึ่งเป็นการผิดสัญญาทางแพ่ง ลูกแชร์ก็ยังมีสิทธิเรียกร้องให้ท้าวแชร์รับผิดชอบได้ตามกฎหมายนะ

มาตรา 7 ว่า บทบัญญัติในมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »