เช่าสินสอด ถือเป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน
เช่าสินสอด เป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน “จะแต่งงานทั้งทีไม่มีสินสอดได้ยังไง” “แค่เอาสินสอดมาวางพอเป็นพิธี แต่งเสร็จแล้วพ่อแม่จะคื
การเล่นแชร์เป็นทางเลือกหนึ่งในการเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายที่สุด การตั้งวงเล่นแชร์จึงมีอยู่ทั่วไป และมีคนใกล้ชิด เพื่อน คนรู้จักที่คุ้นเคยกันเข้าร่วมวงแชร์ แต่ก็มีข้อห้ามในการตั้งวงเล่นแชร์ ตามพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ.2534 มาตรา 6
ห้ามบุคคลธรรมตั้งวงแชร์หรือจัดให้มีการเล่นแชร์โดย
ใครกำลังเล่นวงแชร์ที่เข้าข่ายละเมิดกฎหมายอยู่ ก็คงสงสัยว่าหากเผลอตัวไปเล่นแล้วเกิดปัญหาวงแชร์ล้ม ท้าวแชร์หนี ลูกแชร์ในวงไม่ส่งเงิน โดนท้าวแชร์หลอก จะสามารถดำเนินคดีเพื่อเรียกร้องเงินคืนมาได้ไหม บทความนี้ JusThat มีคำตอบ
เนื่องจากเมื่อก่อนไม่มีการควบคุมการเล่นแชร์ ทำให้มีนายทุน นิติบุคคล คนทั่วไปตั้งวงแชร์ได้อย่างอิสระ สร้างความเสียหายให้กับประชาชนและเกิดผลกระทบกับเศรษฐกิจ จึงมีการประกาศใช้ พ.ร.บ.การเล่นแชร์ พ.ศ.2534 เพื่อควบคุมเหล่านายทุน นิติบุคคล และท้าวแชร์
และพระราชบัญญัติการเล่นแชร์ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 ใช้บังคับกับท้าวแชร์เท่านั้น ไม่เกี่ยวกับลูกแชร์หรือสมาชิกวงแชร์ หากเป็นท้าวแชร์ทำผิดกฎหมายก็ต้องได้รับโทษตามกฎหมาย คือจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งเป็นความผิดที่ยอมความไม่ได้ ถ้าถูกดำเนินคดีแล้วต้องขึ้นศาลให้ศาลพิพากษาว่าจะปรับหรือลงโทษอย่างไร
มาตรา 7 บทบัญญัติในมาตรา 6 ไม่กระทบกระเทือนถึงการที่สมาชิกวงแชร์จะฟ้องคดีหรือใช้สิทธิเรียกร้องเอากับนายวงแชร์หรือผู้จัดให้มีการเล่นแชร์
แปลว่า ถ้าเผลอเข้าร่วมวงเล่นแชร์ที่ผิดกฎหมายและวงแชร์ล้ม ไม่สามารถเล่นแชร์กันต่อไปได้ ท้าวแชร์ต้องรับผิดชอบไปเรียกเก็บเงินจากสมาชิกที่เอาเงินไปแล้วมาคืนให้คนที่ยังไม่ได้เงินจนครบ หรือท้าวแชร์ฉ้อโกงลูกแชร์ก็สามารถดำเนินคดีอาญากับท้าวแชร์ฐานฉ้อโกงได้
การเล่นแชร์เป็นสัญญาที่เกิดจากการตกลงของผู้เล่นในวงแชร์ ที่ตกลงกันว่าจะส่งเงินเข้ากองกลางในแต่ละงวด และผู้ที่ประมูลหรือเปียแชร์ได้จะได้เงินกองกลางในงวดนั้นไป โดยลูกแชร์จะจ่ายเงินให้ท้าวแชร์เพื่อรวบรวมไปให้คนที่ประมูลแชร์ได้
เมื่อมีการเล่นแชร์กันจริง เปียร์แชร์ได้เงินจริงแต่ต่อมาเกิดปัญหาจนวงแชร์ล้ม สัญญาวงแชร์ที่มีต่อกันก็สิ้นสุดลง ทั้งท้าวแชร์(นายวงแชร์)และลูกแชร์ที่เป็นคู่สัญญากันจึงต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งกลับไปอยู่ในฐานะเดิมก่อนที่จะมีการเล่นแชร์ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 391 วรรค 1 ทำให้ลูกแชร์ที่ประมูลเงินได้แล้วต้องคืนเงินให้กับคนอื่น ๆ ที่ยังไม่ได้ประมูลเงินกองกลางไป โดยท้าวแชร์ยังมีหน้าที่รับผิดชอบในการคืนเงินให้ลูกแชร์ที่เหลืออยู่ จนกว่าลูกแชร์แต่ละคนจะได้รับเงินคืนจนครบตามสิทธิของตัวเอง
หากลูกแชร์ได้รับเงินคืนไม่ครบ ท้าวแชร์จะต้องรับผิดชอบคืนเงินให้ลูกแชร์ที่เหลือ ซึ่งเป็นการรับผิดทางแพ่ง และการเล่นแชร์กฎหมายไม่ได้กำหนดรูปแบบของสัญญาเอาไว้ ถึงแม้จะเป็นสัญญาปากเปล่า ไม่มีหนังสือสัญญาเป็นลายลักษณ์อักษรก็สามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ซึ่งการผิดสัญญาเราต้องฟ้องเป็นคดีแพ่ง เพื่อเรียกเงินคืนมา
มาตรา 391 เมื่อคู่สัญญาฝ่ายหนึ่งได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาแล้ว คู่สัญญาแต่ละฝ่ายจำต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งได้กลับคืนสู่ฐานะดังที่เป็นอยู่เดิม แต่ทั้งนี้จะให้เป็นที่เสื่อมเสียแก่สิทธิของบุคคลภายนอกหาได้ไม่
ส่วนเงินอันจะต้องใช้คืนในกรณีดังกล่าวมาในวรรคต้นนั้น ท่านให้บวกดอกเบี้ยเข้าด้วย คิดตั้งแต่เวลาที่ได้รับไว้
ส่วนที่เป็นการงานอันได้กระทำให้และเป็นการยอมให้ใช้ทรัพย์นั้น การที่จะชดใช้คืน ท่านให้ทำได้ด้วยใช้เงินตามควรค่าแห่งการนั้น ๆ หรือถ้าในสัญญามีกำหนดว่าให้ใช้เงินตอบแทน ก็ให้ใช้ตามนั้น
การใช้สิทธิเลิกสัญญานั้นหากระทบกระทั่งถึงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายไม่
โกงในที่นี้คือ “การฉ้อโกง” การหลอกเอาเงิน ทำให้เข้าใจผิด ทำให้หลงผิด แล้วเขาก็เอาเงินไป เราจึงจะแจ้งความในคดีฉ้อโกงได้
การฉ้อโกงธรรมดา ตามมาตรา 341 มีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 60,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และมีอายุความ 3 เดือน นับแต่รู้ว่ามีการทำผิดและรู้ตัวคนทำ แต่ถ้าแจ้งความไว้แล้วคดีไม่คืบหน้าก็จะมีอายุความ 10 ปี เราจะรอให้ตำรวจดำเนินการและให้อัยการสั่งฟ้องหรือจะนำคดีไปฟ้องศาลด้วยตัวเองภายใน 10 ปีก็ได้
หากเป็นการฉ้อโกงประชาชน ตามมาตรา 343 จะเป็นความผิดอาญาแผ่นดินยอมความไม่ได้ มาอายุความ 10 ปี มีโทษขั้นต่ำจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา
เช่าสินสอด เป็นการเช่าทรัพย์หรือกู้ยืมเงิน “จะแต่งงานทั้งทีไม่มีสินสอดได้ยังไง” “แค่เอาสินสอดมาวางพอเป็นพิธี แต่งเสร็จแล้วพ่อแม่จะคื
นิติบุคคล คือใคร ในทางกฎหมายเราจะแบ่งบุคคลออกได้ 2 แบบ คือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และสำหรับบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับนิติบุคคล นิติบุ
บุคคลธรรมดา คือใคร ในทางกฎหมายเราจะแบ่งบุคคลออกได้ 2 แบบ คือ 1. บุคคลธรรมดา 2. นิติบุคคล และสำหรับบทความนี้ JusThat จะพาทุกคนมารู้จักกับบุคคลธรรมดา บุ
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp