รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
ในสังคมการทำงานที่มีการแข่งขันกันอยู่ตลอดเวลา นายทุน นายจ้างบางส่วนก็อยากได้แรงงานราคาถูกที่มีประสิทธิภาพสูง ทำงานได้ดีแต่ค่าจ้างไม่แพง บางที่จึงเลือกใช้การรับคนใหม่เข้ามาแทนที่คนเก่า ถ้าคนเก่าไม่ยอมออกก็ใช้วิธีบีบให้เซ็นใบลาออกเอง เช่น ลดค่าจ้าง เปลี่ยนตำแหน่ง สั่งย้ายสถานที่ทำงาน ลดจำนวนงานลงจนลูกจ้างรู้สึกไม่ดี หรือเพิ่มภาระงานจนลูกจ้างรับไม่ไหวจนต้องลาออกไปเอง เป็นต้น และบางองค์กรอาจมีการบังคับข่มขู่ให้ลูกจ้างเซ็นใบลาออกเองด้วย กรณีกดดันแล้วทุกวิธีแต่สุดท้ายลูกจ้างก็ไม่ยอมลาออก หรือหาวิธีบีบบังคับแล้ว แต่ลูกจ้างโต้แย้งไม่ยอมรับการเปลี่ยนสภาพการจ้าง
ในบทความนี้เป็นเรื่องของการเซ็นใบลาออกจากการถูกกดดัน บีบให้ลาออกจนทนไม่ไหว และการถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเอง แบบไหนเข้าข่ายการถูกเลิกจ้างและสามารถเรียกร้องค่าบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมได้ ถ้าพร้อมแล้วอ่านต่อด้านล่างได้เลย
โดยปกติแล้วเมื่อถูกบีบ ถูกกดดันให้ลาออกด้วยการลดค่าจ้าง ย้ายสถานที่ทำงาน ลดสวัสดิการ เปลี่ยนตำแหน่งในลักษณะที่ทำให้ลูกจ้างรับภาระหนักขึ้น ได้สิทธิประโยชน์น้อยลง เช่น เปลี่ยนจากตำแหน่งผู้จัดการไปเป็นพนักงานปฏิบัติการ ย้ายสถานที่ทำงานจากจังหวัดหนึ่งไปอีกจังหวัดหนึ่งเพื่อให้เดินทางลำบากขึ้น ลดค่าจ้างจาก 30,000 บาทต่อเดือน เป็น 27,000 บาทต่อเดือน เป็นต้น แบบนี้ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้าง
ถ้าลูกจ้างโต้แย้ง ไม่ยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง นายจ้างก็ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงหรือทำอะไรลูกจ้างได้ แต่ถ้าไม่มีการโต้แย้งและยอมทำตาม ยอมรับการเปลี่ยนแปลงนั้นแล้ว แบบนี้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยปริยาย ซึ่งลูกจ้างจะมาโต้แย้งทีหลังไม่ได้ และในกรณีมีหนังสือให้ลูกจ้างเซ็นยินยอมและได้เซ็นไปแล้วด้วยความสมัครใจ แบบนี้จะถือลูกจ้างยินยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง
ทีนี้ไม่ว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือไม่ก็ตาม ถ้าเกิดว่าลูกจ้างทำงานไปเรื่อย ๆ แล้วรู้สึกถูกกดดัน อาจมีการเพิ่มหรือลดภาระงาน กรณีลูกจ้างไม่ยินยอมให้เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง และสุดท้ายลูกจ้างเป็นฝ่ายทนไม่ไหวเองจนตัดสินใจลาออกด้วยตัวเอง อาจลาออกเพื่อรักษาสุขภาพจิตของตัวเองไว้ก่อน มีที่ใหม่ที่น่าจะดีกว่า ต้องการออกไปพักผ่อนแล้วค่อยเริ่มใหม่ หรือเหตุผลอื่น ๆ และลูกจ้างเป็นฝ่ายแจ้งเจตนาลาออกเอง ซึ่งอาจทำด้วยการบอกลาออกแบบปากเปล่า แจ้งลาออกผ่านไลน์แชท ส่งอีเมลลาออก หรือเขียนใบลาออกเองก็ได้
เมื่อการแสดงความต้องการสิ้นสุดสัญญาจากมาจากฝ่ายลูกจ้าง แบบนี้จะเท่ากับว่าลูกจ้างสมัครใจลาออกด้วยตัวเอง แปลว่าลูกจ้างจะไม่มีสิทธิได้ค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า ค่าชดเชย และค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
การถูกบังคับข่มขู่ให้เซ็นใบลาออกเองจนลูกจ้างเกิดความกลัว ตกอยู่ใต้อำนาจของนายจ้างจนยอมเซ็นใบลาออก โดยที่ลูกจ้างไม่ได้สมัครใจลาออกเอง ถือเป็นการลาออกโดยไม่เป็นธรรม ตามกฎหมายแล้วถือว่าการลาออกนั้นเป็นโมฆียะ (นิติกรรมที่อาจบอกเลิก หรือตกลงยินยอมในภายหลังได้ ถ้าบอกเลิกจะเป็นโมฆะ ถ้าตกลงยินยอมภายหลังนิติกรรมนั้นจะมีผลสมบูรณ์ใช้บังคับได้) เมื่อการลาออกเป็นโมฆียะ การสิ้นสุดสัญญาจ้างจึงเป็นการเลิกจ้างไม่ใช่การลาออก
ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เข้าข่ายเลิกจ้าง
เมื่อเป็นการเลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิดตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 119 และประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีให้ลูกจ้างออกจากงานทันที หรือให้ออกจากงานก่อนถึงวันจ่ายค่าจ้างงวดถัดไป เพราะการให้ออกจากงานแบบนี้เป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างที่ไม่ถูกต้องตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 17 วรรค 2 นายจ้างจึงต้องจ่ายค่าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามมาตรา 17 วรรค 3 หรือมาตรา 17/1 แล้วแต่กรณี
นอกจากนี้นายจ้างยังต้องจ่ายค่าชดเชยจากการเลิกจ้างให้ลูกจ้างด้วย กรณีลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบ 120 วันขึ้นไป โดยนายจ้างต้องจ่ายเงินเป็นจำนวนเท่าไหร่ สามารถคำนวนจำนวนเงินค่าชดเชยได้ตามอัตราที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 118 ได้เลย
และนายจ้างยังต้องจ่ายค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย กรณีนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร เลิกจ้างโดยลูกจ้างไม่มีความผิด ไม่มีความบกพร่องในการทำงาน โดยเงินส่วนนี้ต้องต้องคำนวนจากอายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทํางานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง สาเหตุการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ หรืออีกทางเลือกหนึ่งลูกจ้างอาจขอให้ศาลมีคำพิพากษาให้นายจ้างรับลูกจ้างกลับเข้าไปทำงานก็ได้ ซึ่งจะได้รับคำพิพากษาแบบไหนก็ขึ้นอยู่กับเรื่องราวของแต่ละคนตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 49
มาตรา 49 การพิจารณาคดีในกรณีนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าการเลิกจ้างลูกจ้างผู้นั้นไม่เป็นธรรมต่อลูกจ้าง ศาลแรงงานอาจสั่งให้นายจ้างรับลูกจ้างผู้นั้นเข้าทํางานต่อไปในอัตราค้าจ้างที่ได้รับในขณะที่เลิกจ้าง ถ้าศาลแรงงานเห็นว่าลูกจ้างกับนายจ้างไม่อาจทํางานร่วมกันต่อไปได้ ให้ศาลแรงงานกําหนดจํานวนค่าเสียหายให้นายจ้างชดใช้ให้แทนโดยให้ศาลคํานึงถึง อายุของลูกจ้าง ระยะเวลาการทํางานของลูกจ้าง ความเดือดร้อนของลูกจ้างเมื่อถูกเลิกจ้าง มูลเหตุแห่งการเลิกจ้าง และเงินค่าชดเชยที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับ ประกอบการพิจารณา
ข้อควรรู้
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp