รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
ในยุคที่ใครก็อยากจะออกมาเป็นฟรีแลนซ์มากกว่าเป็นลูกจ้าง เพราะการเป็นฟรีแลนซ์มีอิสระในการทำงานมากกว่า ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของใคร แต่ในหลายครั้งเราก็มักจะเห็นฟรีแลนซ์ซึ่งเป็นผู้รับจ้างทำของ ทำงานไม่ได้ตามที่ตกลงกัน ส่งมอบงานล่าช้ากว่ากำหนด หรือบ่ายเบี่ยงขอเลื่อนไปเรื่อย ๆ ถ้าเจอแบบนี้ผู้ว่าจ้างจะต้องจ่ายเงินให้ผู้รับจ้างหรือไม่ บทความนี้ JusThat จะช่วยคลายข้อสงสัย ถ้าพร้อมแล้วอ่านต่อด้านล่างได้เลย
กรณีผู้รับจ้างเริ่มทำงานช้ากว่าเวลาที่สมควร หรือส่งมอบงานช้ากว่ากำหนด หรือมีทีท่าว่าจะส่งมอบงานไม่ทันตามกำหนด กรณีนี้ผู้ว่าจ้างสามารถส่งโนติสบอกเลิกสัญญาผู้รับจ้างได้ โดยไม่ต้องรอให้ครบกำหนดตามสัญญาตาม ป.พ.พ.มาตรา 593 แต่มีข้อแม้ว่าความชักช้านั้นต้องเกิดจากผู้รับจ้างฝ่ายเดียวนะ ต้องไม่ใช่เพราะฝ่ายผู้ว่าจ้างที่ทำให้ช้า
มาตรา 593 ถ้าผู้รับจ้างไม่เริ่มทำการในเวลาอันควร หรือทำการชักช้า ฝ่าฝืนข้อกำหนดแห่งสัญญาก็ดี หรือทำการชักช้าโดยปราศจากความผิดของผู้ว่าจ้าง จนอาจคาดหมายล่วงหน้าได้ว่าการนั้นจะไม่สำเร็จภายในกำหนดเวลาที่ได้ตกลงกันไว้ก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะเลิกสัญญาเสียได้ มิพักต้องรอคอยให้ถึงเวลากำหนดส่งมอบของนั้นเลย
ตกลงว่าจะทำงานให้เสร็จและส่งมอบภายในสิ้นเดือน แต่พอถึงสิ้นเดือนแล้วก็ยังไม่มีงานมาให้ดู ทักแชทไปทวงก็แล้ว โทรไปตามก็แล้วงานก็ยังไม่โผล่มา แถมบางทียังอาจมีมาขอเบิกเงินล่วงหน้าอีก เจอแบบนี้ผู้ว่าจ้างก็ต้องใจแข็งหน่อย ต้องยืนยันไปเลยว่าส่งมอบงานมาก่อนแล้วค่อยเอาค่าจ้างไป ส่งมอบงานและแก้ปัญหาเสร็จตอนไหนก็ได้เงินตอนนั้น เพราะผู้ว่าจ้างมีสิทธิ์ชะลอการจ่ายค่าจ้างได้ ในกรณีที่มีการส่งมอบงานล่าช้า หรือส่งมอบงานที่มีปัญหา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 599
มาตรา 599 ในกรณีที่ส่งมอบเนิ่นช้าไปก็ดี หรือส่งมอบการที่ทำชำรุดบกพร่องก็ดี ผู้ว่าจ้างชอบที่จะยึดหน่วงสินจ้างไว้ได้ เว้นแต่ผู้รับจ้างจะให้ประกันตามสมควร
จ้างทำของ คือ การที่บุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจ้าง ตกลงจะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้อีกบุคคลหนึ่ง เรียกว่า ผู้ว่าจ้าง และผู้ว่าจ้างตกลงจะให้ค่าตอบแทนสำหรับความสำเร็จของงานนั้น แปลว่า เมื่อมีการตกลงกันแล้วสัญญาย่อมเกิดขึ้นระหว่างบุคคล 2 ฝ่าย คือ ผู้รับจ้างและผู้ว่าจ้าง ซึ่งต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่ต้องจ่ายหนี้ให้แก่กัน ผู้รับจ้างมีหน้าที่จ่ายหนี้ด้วยการทำสิ่งที่ตกลงกัน ผู้ว่าจ้างมีหน้าที่ชำระค่าตอบแทนตามที่ตกลงกัน
ดังนั้น เมื่อมีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่ทำหน้าที่ของตัวเอง คือ ไม่จ่ายหนี้ตามสัญญา หรือไม่ทำตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ จะถือว่าฝ่ายนั้นผิดสัญญา ทำให้อีกฝ่ายมีสิทธิ์เรียกร้องค่าเสียหายจากการผิดสัญญา และมีสิทธิ์ฟ้องคดีแพ่งต่อศาลได้ด้วยในกรณีที่ตกลงกันไม่ได้
รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp