1

JusThat

ข้อดี ของการมีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือเก็บไว้กับตัว

จะเป็นเจ้าหนี้ให้คนอื่นกู้ยืมเงิน ต้องคิดให้ดี และลดความเสี่ยงไว้เสมอด้วยการทำหลักฐานกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ 

หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ คืออะไร

หลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือจะอยู่ในรูปแบบใดก็ได้ แต่ต้องเป็นลายลักษณ์อักษร มีข้อความการตกลงกู้ยืมเงินกัน ระบุจำนวนชัดเจน และมีการตกลงกันว่าจะใช้คืนให้กัน และมีลายมือชื่อของผู้กู้ยืมเป็นสำคัญด้วย โดยอาจมีการกำหนดดอกเบี้ยไว้หรือไม่ก็ได้ จะกำหนดระยะเวลาคืนเงินไว้หรือไม่ก็ได้ จะมีพยานลงชื่อร่วมด้วยหรือไม่ก็ได้ แต่ถ้าคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งที่ลงชื่ออ่านไม่ออก เขียนไม่ได้ ลงลายมือชื่อไม่เป็น กรณีนี้จะต้องมีพยาน 2 คนลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ หรือเครื่องหมายแกงได หรือตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่คู่สัญญาฝ่ายนั้นทำลงในหลังสือด้วย 

แปลว่า ถ้ามีคู่สัญญาฝ่ายใดลงลายมือชื่อไม่เป็น ต้องมีพยาน 2 คนที่ลงลายมือชื่อเป็นผู้ลงลายมือชื่อรับรองลายพิมพ์นิ้วมือ หรือเครื่องหมายแกงได หรือตราประทับ หรือเครื่องหมายอื่น ๆ ที่คู่สัญญาฝ่ายนั้นทำลงในหลังสือ

เช่น A ตกลงให้ B กู้ยืมเงินผ่านแชทไลน์ จำนวน 50,000 บาท และ B ตกลงว่าจะใช้เงินคืน หรือ Me ตกลงให้ You กู้ยืมเงินจำนวน 100,000 บาท และมีการทำหนังสือสัญญาลงลายมือชื่อของ Me และพิมพ์ลายนิ้วมือของ You ลงบนสัญญา และมีพยานลงลายมือชื่อไว้ในสัญญา 2 คน เป็นต้น 

รู้หรือไม่

  • กู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 บาท ต้องทำสัญญากู้ยืมเงิน หรือทำหนังสือเป็นหลักฐานกู้ยืมเงินลงลายมือชื่อลูกหนี้ หรือมีแชทกู้ยืมเงินเป็นหลักฐาน จึงจะฟ้องคดีแพ่งเพื่อเรียกเงินคืนจากลูกหนี้ได้ 
  • กู้ยืมเงินน้อยกว่า 2,000 บาท ไม่จำเป็นต้องหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ไม่ต้องทำสัญญา ไม่ต้องมีแชทกู้ยืมเงินก็ฟ้องเรียกเงินคืนได้

     มาตรา 653 การกู้ยืมเงินกว่าสองพันบาทขึ้นไปนั้น ถ้ามิได้มีหลักฐานแห่งการกู้ยืมเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ยืมเป็นสำคัญ จะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่
     ในการกู้ยืมเงินมีหลักฐานเป็นหนังสือนั้น ท่านว่าจะนำสืบการใช้เงินได้ต่อเมื่อมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างใดอย่างหนึ่งลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดงหรือเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนแล้ว หรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว

Facebook
Twitter
LinkedIn

มีหลักฐานการกู้ยืมเงินเป็นหนังสือ ดียังไง

นอกจากจะไปฟ้องร้องบังคับคดีสำหรับการกู้ยืมเงินมากกว่า 2,000 ให้ลูกหนี้จ่ายเงินได้แล้ว ทั้งเจ้าหนี้และลูกหนี้จะไม่สามารถยกเหตุผลอื่นขึ้นอ้างแทนข้อความในหนังสือนั้นด้วย เพราะกฎหมายได้ห้ามคู่ความสืบพยานบุคคลแก้ไขเปลี่ยนแปลงข้อความในพยานเอกสาร ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ซึ่งจะใช้ในกรณีที่กฎหมายกำหนดให้นิติกรรมนั้นต้องมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือ เช่น การกู้ยืมเงินกันมากกว่า 2,000 ขึ้นไป

แต่ถ้าเป็นการกู้ยืมเงินกันที่น้อยกว่า 2,000 บาท กรณีนี้จะใช้ ป.วิ.แพ่ง มาตรา 94 มาบังคับไม่ได้ เพราะกฎหมายไม่ได้บังคับว่าต้องมีการทำหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิด ดังนั้นคู่ความจึงสามารถสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสารที่ทำไว้ได้นั่นเอง

ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง

     มาตรา 94 เมื่อใดมีกฎหมายบังคับให้ต้องมีพยานเอกสารมาแสดง ห้ามมิให้ศาลยอมรับฟังพยานบุคคลในกรณีอย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้ แม้ถึงว่าคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งจะได้ยินยอมก็ดี

                    (ก) ขอสืบพยานบุคคลแทนพยานเอกสาร เมื่อไม่สามารถนำเอกสารมาแสดง

                    (ข) ขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อได้นำเอกสารมาแสดงแล้วว่า ยังมีข้อความเพิ่มเติม ตัดทอน หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารนั้นอยู่อีก

     แต่ว่าบทบัญญัติแห่งมาตรานี้ มิให้ใช้บังคับในกรณีที่บัญญัติไว้ในอนุมาตรา (2)  แห่งมาตรา 93 และมิให้ถือว่าเป็นการตัดสิทธิคู่ความในอันที่จะกล่าวอ้างและนำพยานบุคคลมาสืบประกอบข้ออ้างว่า พยานเอกสารที่แสดงนั้นเป็นเอกสารปลอมหรือไม่ถูกต้องทั้งหมด หรือแต่บางส่วน หรือสัญญาหรือหนี้อย่างอื่นที่ระบุไว้ในเอกสารนั้นไม่สมบูรณ์ หรือ คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตีความหมายผิด

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »