1

JusThat

8 เหตุผล เลิกจ้างไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

กฎหมายกำหนดให้นายจ้างมีหน้าที่จ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้าง เมื่อมีการเลิกจ้างไม่ว่าจะเป็นเพราะสิ้นสุดสัญญาจ้าง เกษียณอายุ หรือโดนไล่ออกโดยไม่มีความผิด 6 ข้อตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 หรือถูกเลิกจ้างเพราะนายจ้างดำเนินกิจการต่อไปไม่ได้

หรือโดนไล่ออกโดยไม่มีความผิด 6 ข้อตามมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541

อ่านใหม่อีกที ในมาตรา 119 มีแค่ 6 เหตุผล แล้วทำไม JusThat บอกว่ามี 8 เหตุผลที่เลิกจ้างแล้วไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย อยากรู้ไหม ถ้าอยากรู้ว่าอีก 2 เหตุผลที่เหลือมาจากไหน ก็ลองอ่านต่อด้านล่างได้เลย

2 เหตุผล ยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 118

  1. ทำงานติดต่อกันไม่ถึง 120 วัน ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ในมาตรา 118 วรรค 1 (1) ลูกจ้างที่จะมีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชยในอัตราขั้นต่ำสุด คือ ลูกจ้างที่ทำงานติดต่อกันครบ 120 วัน แต่ไม่ครบ 1 ปี ดังนั้นลูกจ้างที่มีอายุงานติดต่อกันทุกช่วงไม่ครบ 120 วันจึงไม่มีสิทธิ์ได้รับค่าชดเชย
  2. เป็นลูกจ้างชั่วคราว ลูกจ้างโครงการเฉพาะในงานที่ไม่ใช่งานปกติในกิจการหรือการค้าของนายจ้าง ซึ่งลูกจ้างได้เซ็นหนังสือสัญญาจ้างแรงงานที่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอนไม่เกิน 2 ปี เอาไว้ตั้งแต่ตอนเริ่มจ้าง และมีการเลิกจ้างตามกำหนดระยะเวลานั้น ตามมาตรา 118 วรรคสาม ถึงวรรคสี่
Facebook
Twitter
LinkedIn

6 เหตุผล ยกเว้นการจ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119

  1. ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทําความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง เช่น ลักทรัพย์นายจ้าง ยักยอกทรัพย์นายจ้าง วางเพลิงสถานประกอบการ หมิ่นประมาทนายจ้างเป็นต้น
  2. จงใจทําให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เช่น จงใจสั่งสินค้าผิดทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย เป็นต้น
  3. ประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายอย่างร้ายแรง เช่น เปิดเตาทิ้งไว้แล้วลืมปิด จนเกิดเพลิงลุกไหม้สถานประกอบการ เป็นต้น
  4. ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน ระเบียบ หรือคําสั่งของนายจ้างอันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรม และนายจ้างต้องมีการทำหนังสือตักเตือนก่อน โดยหนังสือเตือนนั้นจะมีผลบังคับได้ไม่เกิน 1 ปีนับแต่วันที่ลูกจ้างทําผิด แต่ถ้าเป็นความผิดร้ายแรง นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนก่อนและสามารถเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้เลย
  5. ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลา 3 วันทํางานติดต่อกัน ไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหรือไม่ก็ตามโดยไม่มีเหตุอันสมควร
  6. ต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จําคุก แต่ถ้าความผิดที่ทำเป็นการทําโดยประมาทหรือความผิดลหุโทษ ต้องเป็นกรณีที่เป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายด้วย จึงจะเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยได้

ทั้งนี้ การเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยตามมาตรา 119 นี้ นายจ้างจำเป็นต้องทำหนังสือเลิกจ้างและระบุเหตุผลในการเลิกจ้างส่งไปให้ลูกจ้างด้วยนะ จึงจะสามารถนำเหตุผลในการเลิกจ้างนั้นไปอ้างเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยได้ ถ้านายจ้างไม่ทำหนังสือเลิกจ้างและไม่ระบุเหตุผล กรณีนี้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชยให้ลูกจ้างตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 118 วรรค 1 แม้ว่าลูกจ้างคนนั้นจะทำความผิดตามมาตรา 119 ข้อใดข้อหนึ่งจริง ๆ ก็ตาม

รู้หรือไม่?! คดีแบบนี้ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง 
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท 
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เช็คโอกาสชนะและค่าใช้จ่าย
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »