1

JusThat

พินัยกรรมทำง่าย ทำได้ด้วยตัวเอง

มีใครเคยได้ยินคำกล่าวทำนองว่า “ทรัพย์สมบัติทำให้คนฆ่ากันตายได้” บ้างไหม เมื่อไม่มีพินัยกรรมและทายาทโดยธรรมแบ่งมรดกกันไม่ลงตัวจึงต้องมีเรื่องขึ้นโรงขึ้นศาลกัน หรืออาจถึงขั้นญาติพี่น้องตัดขาดกันไปเลยก็มีตัวอย่างให้เห็นกันมาแล้ว และในบทความนี้ JusThat จะนำเสนอวิธีทำพินัยกรรมแบบธรรมดา ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1656 ที่ทุกคนสามารถทำได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง จะมีอะไรบ้าง ไปอ่านต่อด้านล่างกันเลย

พินัยกรรม คืออะไร

พินัยกรรม ภาษาอังกฤษ Testament คือ คำสั่งเสียของผู้ทำพินัยกรรมซึ่งเป็นเจ้ามรดก ที่ได้แสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์สิน หรือในการต่าง ๆ ที่จะทำให้มีผลบังคับตามกฎหมายหลังจากตนเองตายไปแล้ว ซึ่งเจ้ามรดกจะยกทรัพย์สินให้ใครเป็นจำนวนเท่าไหร่ก็ได้ตามที่เจ้ามรดกต้องการ โดยที่บุคคลผู้รับพินัยกรรมนั้นไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลในครอบครัว หรือเครือญาติเสมอไป อาจยกให้พ่อแม่ พี่น้อง เพื่อนที่คอยดูแลกัน คู่รักที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน สมาคม วัด มูลนิธิต่าง ๆ ก็ทำได้ โดยเรียกทายาทที่รับมรดกทางพินัยกรรมว่า “ทายาทโดยพินัยกรรม”

Facebook
Twitter
LinkedIn

ทำพินัยกรรมแบบธรรมดาด้วยตัวเอง ต้องทำยังไง

หากคุณมีอายุครบ 15 ปีบริบูรณ์แล้ว คุณก็สามารถทำพินัยกรรมด้วยตัวเองได้เลย โดยจะใช้วิธีเขียนด้วยลายมือ หรือพิมพ์เอาก็ได้ หรือจะให้คนอื่นเขียนหรือพิมพ์ให้ก็สามารถทำได้เหมือนกัน แต่ข้อความในพินัยกรรมนั้นจะต้องมาจากเจตนาของคุณคนเดียวไม่ใช่ของคนอื่นที่เป็นคนเขียนหรือพิมพ์ให้ โดยผู้เขียนหรือผู้พิมพ์จะต้องลงลายมือชื่อของตนเอง และระบุไว้ด้วยว่าเป็นผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ ถ้าบุคคลดังกล่าวเป็นพยานด้วย ก็ต้องระบุไว้ด้วยว่าเป็นพยาน โดยจะต้องมีพยานลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อหรือลายนิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรม 2 คน 

ทั้งนี้ ผู้ทำพินัยกรรมต้องระบุชื่อ นามสกุล ของผู้รับพินัยกรรม ซึ่งบุคคลนั้นต้องมีตัวตนอยู่จริง สืบทราบตัวได้แน่นอน และระบุรายการทรัพย์สินที่ต้องการยกให้ ต้องการยกให้เป็นจำนวนเท่าไหร่ ต้องแบ่งกันยังไง โดยระบุรายละเอียดเอาไว้ให้ชัดเจน และผู้ทำพินัยกรรมยังต้องระบุ วัน เดือน ปี พร้อมลงลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรม หรือพิมพ์ลายนิ้วมือของผู้ทำพินัยกรรมก็ได้ แต่จะใช้ตราประทับหรือเครื่องหมายแกงใดไม่ได้

พยาน ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์ รับมรดกโดยพินัยกรรมนั้นได้ไหม

อีกสิ่งหนึ่งที่จะพลาดไม่ได้เลย คือ พยาน ผู้เขียนหรือผู้พิมพ์(กรณีบุคคลอื่นเขียนหรือพิมพ์แทนผู้ทำพินัยกรรม) จะเป็นผู้รับมรดกตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้ ซึ่งรวมไปถึงคู่สมรสของบุคคลดังกล่าวด้วย ดังนั้นถ้าคุณกำลังคิดจะทำพินัยกรรมยกมรดกให้ใครสักคน JusThat ก็ต้องเตือนไว้ก่อนเลยว่า อย่าให้บุคคลผู้นั้นเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องในการทำพินัยกรรมเลยจะดีกว่า

พินัยกรรมจะเป็นโมฆะ ถ้ามี 1 ใน 7 สิ่งนี้

  1. ทำพินัยกรรมในขณะอายุยังไม่ครบ 15 ปีบริบูรณ์ 
  2. ไม่ได้ทำพินัยกรรมตามแบบ ทำพินัยกรรมขึ้นมาโดยขัดต่อบทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ 
  3. ตั้งเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้ทำพินัยกรรม หรือบุคคลภายนอกข้อกำหนด
  4. กำหนดตัวบุคคลผู้รับพินัยกรรม ที่ไม่ทราบตัวแน่นอน
  5. ระบุทรัพย์สินที่ยกให้ไม่ชัดเจน ไม่อาจทราบจำนวนที่แน่นอน
  6. ให้บุคคลใดบุคคลหนึ่งกำหนดส่วนทรัพย์สินมรดกให้มากน้อยได้ตามใจ
  7. ผู้ที่ถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถเป็นผู้ทำพินัยกรรม แต่ถ้าศาลยังไม่ได้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ พินัยกรรมจะเสียเปล่าต่อเมื่อพิสูจน์ได้ว่าทำพินัยกรรมในเวลาที่วิกลจริต

หากคดีลักษณะมีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »