1

JusThat

รู้หรือไม่ พยาน และผู้เขียนพินัยกรรม
รับมรดกตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้

พินัยกรรมเป็นนิติกรรมอย่างหนึ่ง ที่เจ้ามรดกได้แสดงเจตนาไว้ก่อนตาย โดยระบุไว้ในพินัยกรรมว่า ต้องการยกมรดกส่วนใดให้ทายาทโดยพินัยกรรมคนใดบ้าง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจมีตามมา เช่น ทายาทโดยธรรมแบ่งมรดกกันไม่ลงตัวจนเกิดเป็นปัญหาครอบครัว ญาติ พี่น้องทะเลาะกันเอง

การทำพินัยกรรมนี้ เจ้ามรดกจะทำขึ้นเองโดยการเขียนเองด้วยลายมือ หรือให้ผู้อื่นเขียนให้ หรือไปแจ้งต่อนายอำเภอ ผู้อำนวยการเขตให้บันทึกพินัยกรรม(เอกสารฝ่ายเมือง) หรือเขียนขึ้นเป็นพินัยกรรมลับและปิดผนึกซองนำไปมอบไว้กับนายอำเภอ ผู้อำนวยการเขต หรือสั่งเสียพินัยกรรมด้วยวาจาในเวลาคับขัน เช่น ใกล้เสียชีวิต มีโรคระบาด อยู่ในภาวะสงคราม ก็สามารถทำได้(ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1663) แต่ต้องมีพยานรู้เห็นในการทำพินัยกรรมนั้นอย่างน้อย 2 คนในการทำพินัยกรรมทุกแบบ

     มาตรา 1656  พินัยกรรมนั้น จะทำตามแบบดังนี้ก็ได้ กล่าวคือต้องทำเป็นหนังสือลงวัน เดือน ปี ในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมต้องลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนนั้นต้องลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อของผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น

     การขูดลบ ตก เติม หรือการแก้ไขเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นซึ่งพินัยกรรมนั้นย่อมไม่สมบูรณ์ เว้นแต่จะได้ปฏิบัติตามแบบอย่างเดียวกับการทำพินัยกรรมตามมาตรานี้

ผู้ทำพินัยกรรม ผู้เขียนพินัยกรรม พยานในพินัยกรรม คือใคร

ผู้ทำพินัยกรรม คือ เจ้ามรดก 

ผู้เขียนพินัยกรรม คือ ผู้บันทึกพินัยกรรม เช่น B เป็นเจ้ามรดกและเขียนพินัยกรรมเอง หรือ C เป็นผู้เขียนพินัยกรรมให้ P ผู้เป็นเจ้ามรดก เป็นต้น

พยานในพินัยกรรม คือ พยานที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในการทำพินัยกรรม เช่น M กับ O เซ็นชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมให้ B หรือ C เซ็นชื่อเป็นพยานในพินัยกรรมร่วมกับพยานคนอื่น และเป็นผู้เขียนพินัยกรรมให้ P เป็นต้น

     มาตรา 1671  เมื่อบุคคลใดนอกจากผู้ทำพินัยกรรมเป็นผู้เขียนข้อความแห่งพินัยกรรม บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียน ถ้าบุคคลนั้นเป็นพยานด้วย ให้เขียนข้อความระบุว่าตนเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนเช่นเดียวกับพยานอื่น ๆ

จะเห็นได้ว่า ผู้เขียนพินัยกรรมเป็นพยานในพินัยกรรม หรือเป็นผู้ทำพินัยกรรมเอง หรือเป็นเฉพาะผู้เขียนพินัยกรรมก็ได้ แต่ผู้ทำพินัยกรรมจะเป็นพยานในพินัยกรรมของตัวเองไม่ได้ 

Facebook
Twitter
LinkedIn

ผู้เขียนพินัยกรรม และพยานในพินัยกรรม ไม่มีสิทธิรับทรัพย์มรดกในฐานะทายาทตามพินัยกรรม

ถ้าผู้เขียนพินัยกรรมไม่ใช่ผู้ทำพินัยกรรม เช่น A เขียนพินัยให้ B แบบนี้ A จะเป็นทายาทผู้รับทรัพย์มรดกของ B ไม่ได้ ส่วนพยานในพินัยกรรมผู้ไม่มีสิทธิรับทรัพย์มรดก คือ ผู้ที่ลงลายมือชื่อเป็นพยานในพินัยกรรม ซึ่งอาจเป็นผู้เขียนพินัยกรรมด้วยก็ได้ 

     มาตรา 1653  ผู้เขียน หรือพยานในพินัยกรรมจะเป็นผู้รับทรัพย์ตามพินัยกรรมนั้นไม่ได้

     ให้ใช้บทบัญญัติในวรรคก่อนบังคับแก่คู่สมรสของผู้เขียนหรือพยานในพินัยกรรมด้วย

     พนักงานเจ้าหน้าที่ซึ่งได้จดข้อความแห่งพินัยกรรมที่พยานนำมาแจ้งตามมาตรา 1663 ให้ถือว่าเป็นผู้เขียนพินัยกรรมตามความหมายแห่งมาตรานี้

     มาตรา 1705  พินัยกรรมหรือข้อกำหนดพินัยกรรมนั้น ถ้าได้ทำขึ้นขัดต่อบทบัญญัติแห่งมาตรา 1652, 1653, 1656, 1657, 1658, 1660, 1661 หรือ 1663 ย่อมเป็นโมฆะ

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »