1

JusThat

บิดานอกกฎหมาย
มีสิทธิแค่ไหนในการรับมรดกลูก

เปิดประตูสู่โลกของมรดก บทความนี้ JusThat ขอเล่าเกี่ยวกับสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมของบิดานอกกฎหมาย แม้จะเป็นพ่อแท้ ๆ ตามสายเลือด หรืออยู่กินกับแม่อย่างเปิดเผยและดูแลเลี้ยงดูลูก ให้การศึกษาลูก แต่เมื่อลูกตายจากไป บิดานอกกฎหมายจะได้รับมรดกของลูกหรือไม่ บทความนี้มีคำตอบ

บิดานอกกฎหมาย ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมผู้มีสิทธิรับมรดกลูก

โดยปกติแล้วทั้งบุตรนอกกฎหมายและบิดานอกกฎหมายต่างก็ไม่มีสิทธิหน้าที่ตามกฎหมายต่อกัน พ่อไม่มีหน้าที่เลี้ยงดูลูก ลูกก็ไม่มีหน้าที่เลี้ยงดูพ่อ และลูกจะฟ้องเรียกค่าเลี้ยงดูจากพ่อก็ไม่ได้ด้วย ว่ากันง่าย ๆ ก็คือต่างคนต่างอยู่ได้เลย แต่มนุษย์เราไม่ได้ใช้ชีวิตเป็นเส้นตรงขนาดนั้น บางคนอาจไม่จดทะเบียนรับรองบุตร แต่มีการรับรองโดยพฤตินัยแทน คือ ส่งเสียอุปการะเลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล ยกย่องเป็นลูกออกหน้าออกตา ซึ่งการรับรองโดยพฤตินัยนี้เองที่ทำให้บุตรนอกกฎหมายมีสิทธิรับมรดกของบิดานอกกฎหมายที่ให้การรับรอง

บิดานอกกฎหมาย ไม่มีสิทธิ์รับมรดกของบุตรนอกกฎหมายในฐานะทายาทโดยธรรม
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1627 มีการกำหนดให้บุตรนอกกฎหมาย หรือที่เรียกกันว่า ลูกนอกสมรส ที่บิดาให้การรับรองมีฐานะเป็นผู้สืบสันดานตามมาตรา 1629 เหมือนลูกที่เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรองแล้วจึงมีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 และมีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งมรดกเท่ากับบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย แม้ว่าพ่อจะเป็นบิดานอกกฎหมายของลูกก็ตาม

     มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

แต่ในทางกลับกันพ่อที่เป็นบิดานอกกฎหมายจะไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกในฐานะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 เพราะทายาทโดยธรรมลำดับที่ 2 ตามมาตรา 1629 ต้องเป็นมารดาและบิดาที่ชอบด้วยกฎหมายเท่านั้น

     มาตรา 1629 ทายาทโดยธรรมมีหกลำดับเท่านั้น และภายใต้บังคับแห่งมาตรา 1630 วรรค 2 แต่ละลำดับมีสิทธิได้รับมรดกก่อนหลังดังต่อไปนี้ คือ

        (1) ผู้สืบสันดาน

        (2) บิดามารดา

        (3) พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน

        (4) พี่น้องร่วมบิดาหรือร่วมมารดาเดียวกัน

        (5) ปู่ ย่า ตา ยาย

        (6) ลุง ป้า น้า อา

        คู่สมรสที่ยังมีชีวิตอยู่นั้นก็เป็นทายาทโดยธรรม ภายใต้บังคับของบทบัญญัติพิเศษแห่งมาตรา 1635

สรุปได้ว่า บุตรนอกกฎหมายจะมีสิทธิรับมรดกของบิดาในฐานะทายาทโดยธรรมได้กรณีเดียวเท่านั้น คือ ต้องเป็นบุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรอง ถ้าไม่มีการรับรองจะไม่มีสิทธิได้มรดกในฐานะทายาทโดยธรรม ส่วนพ่อที่เป็นบิดานอกกฎหมายไม่มีสิทธิรับมรดกของลูกในฐานะทายาทโดยธรรมทุกกรณี

Facebook
Twitter
LinkedIn

ทำยังไงให้บิดานอกกฎหมายได้รับมรดก

แม้ว่าบิดานอกกฎหมายรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรมไม่ได้ แต่มีอีกช่องทางหนึ่งที่สามารถทำได้ คือ การรับมรดกในฐานะทายาทโดยพินัยกรรม ซึ่งลูกจะต้องทำพินัยกรรมไว้ก่อนเสียชีวิต แต่มีข้อห้าม คือ ในระหว่างทำพินัยกรรมพ่อต้องไม่รู้เห็น ไม่เป็นพยาน และไม่เป็นผู้เขียนพินัยกรรม เพราะไม่อย่างนั้นพ่อจะหมดสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยพินัยกรรมทันที

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »