1

JusThat

บังคับคดี เจ้าหนี้ตามยึดอายัดทรัพย์สินได้มากกว่า 10 ปี

อ่านหัวข้อแล้วรู้สึกขัดแย้งอยู่หรือเปล่า บังคับคดีได้เกิน 10 ปีมีที่ไหน แต่หัวข้อนี้ JusThat ไม่ได้เขียนผิดจริง ๆ นะ เพราะเจ้าหนี้สามารถตามบังคับคดี ยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้มากกว่า 10 ปีจริง ๆ 

โดยทั่วไปแล้วเรามักจะได้ยินประโยคที่ว่า “ถ้าชนะคดีแล้วลูกหนี้ไม่จ่าย เจ้าหนี้ต้องยึดทรัพย์สินลูกหนี้ภายใน 10 ปี ถ้าไม่อย่างนั้นจะถือว่าหมดสิทธิ์” “เจ้าหนี้บังคับคดีได้แค่ 10 ปี” ซึ่งทำให้เกิดความเข้าใจคลาดเคลื่อนว่าเจ้าหนี้ตามบังคับคดียึดหรืออายัดทรัพย์สินได้ภายในระยะเวลา 10 ปีเท่านั้น หลังจากครบ 10 ปีแล้วเจ้าหนี้จะไม่สามารถยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้อีก ทำให้มีคนคิดว่าแพ้คดีแล้วไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ใครจะทำไม แค่อดทนใช้ชื่อคนอื่นครบ 10 ปี หนี้ก็สูญแล้ว ซึ่งเป็นความเข้าใจผิดอย่างมาก 

เริ่มบังคับคดีภายใน 10 ปี เจ้าหนี้มีสิทธิตามยึดอายัดทรัพย์สินลูกหนี้ได้ตลอดไป

ความจริงแล้วแม้จะครบ 10 ปีแล้ว เจ้าหนี้ก็ยังตามบังคับคดีเพื่อยึดหรืออายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ และตามยึดอายัดได้ตลอดไปจนกว่าเจ้าหนี้จะได้รับชำระหนี้ครบถ้วน แต่มีเงื่อนไขว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องดำเนินการตามขั้นตอนการบังคับคดีให้ครบถ้วนภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง คือ ยื่นคำขอให้ศาลออกหมายบังคับคดี แจ้งให้เจ้าพนักงานบังคับคดีทราบว่าศาลได้ออกหมายบังคับคดี และแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษา

แปลว่าถ้าชนะคดีแล้วลูกหนี้ไม่จ่ายภายในระยะเวลาที่ศาลกำหนด เจ้าหนี้จะสามารถยื่นคำขอบังคับคดีและเริ่มต้นการบังคับคดีได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง จากนั้นเจ้าหนี้จะสามารถตามยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ตลอด อาจตามยึด 11 ปี 15 ปี 20 ปี หรือ 30 ปีก็ได้จนกว่าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะได้รับชำระหนี้ตามคำพิพากษาครบ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 274 

     มาตรา  274 ถ้าคู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ชำระหนี้ (ลูกหนี้ตามคำพิพากษา) มิได้ปฏิบัติตามคำบังคับที่ออกตามคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลทั้งหมดหรือบางส่วน คู่ความหรือบุคคลซึ่งเป็นฝ่ายชนะคดีหรือบุคคลที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ได้รับชำระหนี้ (เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา) ชอบที่จะร้องขอให้มีการบังคับคดีโดยวิธียึดทรัพย์สิน อายัดสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นตามบทบัญญัติแห่งภาคนี้ภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาหรือคำสั่ง และถ้าเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาได้ร้องขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินหรืออายัดสิทธิเรียกร้องใดไว้หรือได้ดำเนินการบังคับคดีโดยวิธีอื่นไว้บางส่วนแล้วภายในระยะเวลาดังกล่าว ก็ให้ดำเนินการบังคับคดีแก่ทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง หรือบังคับคดีโดยวิธีอื่นนั้นต่อไปจนแล้วเสร็จได้

     ถ้าคำพิพากษาหรือคำสั่งกำหนดให้ชำระหนี้เป็นงวด เป็นรายเดือน หรือเป็นรายปี หรือกำหนดให้ชำระหนี้อย่างใดในอนาคต ให้นับระยะเวลาสิบปีตามวรรคหนึ่งตั้งแต่วันที่หนี้ตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นอาจบังคับให้ชำระได้

     ถ้าสิทธิเรียกร้องตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นการให้ชำระเงิน ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง บุคคลซึ่งได้รับโอนหรือรับช่วงสิทธิตามคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นมีอำนาจบังคับคดีตามความในหมวด ๒ การบังคับคดีในกรณีที่เป็นหนี้เงิน หรือหมวด ๓ การบังคับคดีในกรณีที่ให้ส่งคืนหรือส่งมอบทรัพย์เฉพาะสิ่ง แล้วแต่กรณี โดยการร้องขอต่อศาลเพื่อเข้าสวมสิทธิเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต่อไป

Facebook
Twitter
LinkedIn

เจ้าหนี้ไม่ดำเนินการตามขั้นตอนการบังคับคดีภายใน 10 ปี ถือว่าหมดสิทธิบังคับคดี

ถ้าเจ้าหนี้ตามพิพากษาไม่ดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายเรื่องการบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง สิทธิบังคับคดีของเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาก็จะหมดไป เมื่อเจ้าหนี้ไม่รักษาสิทธิตัวเองหนี้ที่มีอยู่จะกลายเป็นหนี้สูญไปเลย เพราะเจ้าหนี้จะตามยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้เพื่อนำมาชำระหนี้ไม่ได้นั่นเอง

บังคับคดี ลูกหนี้ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย แต่ต้องหลบไปตลอดชีวิต

อย่างไรก็ตามการได้มาซึ่งสิทธิบังคับคดีนั้นเจ้าหนี้ต้องดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายให้ถูกต้องก่อน ถ้ามีหนี้ที่ครบกำหนดแล้วแต่ยังไม่ได้รับชำระจากลูกหนี้ ไม่ว่าจะเป็นหนี้กู้ยืมเงิน หนี้ค่าเช่าบ้าน เช่าคอนโด หนี้ค่าจ้างแรงงาน หนี้ค่าจ้างทำของ ค่านายหน้า เป็นต้น เจ้าหนี้สามารถส่งโนติสทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ แต่ถ้าส่งแล้วลูกหนี้ยังเพิกเฉยก็สามารถยื่นฟ้องคดีแพ่งต่อศาลได้ 

ถ้าเป็นคดีที่ไม่มีข้อยุ่งยาก การดำเนินคดีอาจจบที่การไกล่เกลี่ยและทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน ซึ่งจะทำให้เจ้าหนี้สามารถบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมได้ โดยต้องเริ่มต้นกระบวนการบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาผิดนัดชำระหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความ

แต่ถ้าไม่สามารถตกลงประนีประนอมกันได้ หรือเป็นคดีมีความยุ่งยากซับซ้อนจำเป็นต้องมีการสืบพยานเพื่อให้ศาลมีคำพิพากษา และเมื่อชนะคดีแล้วแต่ลูกหนี้ก็ยังไม่ยอมชำระหนี้ให้ เจ้าหนี้ก็ยังบังคับคดีได้โดยเริ่มต้นกระบวนการบังคับคดีภายใน 10 ปีนับแต่วันมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่ง 

เมื่อเจ้าหนี้เริ่มต้นกระบวนการบังคับคดีภายใน 10 ปีเรียบร้อยแล้ว เจ้าหนี้จะสามารถตามยึดอายัดทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ไปตลอดโดยไม่มีกำหนดระยะเวลา ถ้าลูกหนี้ยังคิดจะหลบ ไม่มี ไม่หนี ไม่จ่าย ฝ่ายลูกหนี้ก็คงต้องหลบไปตลอดชีวิตจนตาย แม้กระทั่งเมื่อตายแล้วก็ไม่สามารถทิ้งมรดกไว้ให้ทายาทได้ เพราะเจ้าหนี้ยังสามารถตามยึดทรัพย์สินจากกองมรดกได้นั่นเอง

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »