1

JusThat

เพิ่มกรณีนายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร คืออะไร

โดนนายจ้างยึดเงินไว้ไม่ยอมจ่ายให้ มีปัญหากับนายจ้างแล้วนายจ้างไม่ยอมจ่ายเงิน ถ้าเหตุผลของการไม่จ่ายเงินนั้น ไม่ใช่เหตุผลที่สมควร ลูกจ้างก็มีสิทธิเรียกเงินเพิ่มของเงินต้นที่ค้างจ่ายจากนายจ้างได้

นายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มให้ลูกจ้างถ้าเข้าข่ายตามนี้

  • จงใจไม่จ่ายเงินโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร
  • พ้นกำหนดจ่ายหรือคืนมาแล้ว 7 วัน 
Facebook
Twitter
LinkedIn

เงินอะไรบ้างที่ลูกจ้างสามารถเรียกและเงินเพิ่มได้

เงินที่ลูกจ้างจะสามารถเรียกเงินเพิ่ม 15% ทุกระยะเวลา 7 วันตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคสอง ได้นั้น จะต้องเป็นเงินที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง 

  • เงินประกันการทํางาน หรือเงินประกันความเสียหายในการทํางาน (มาตรา 10)
  • เงินค่าบอกกล่าวล่วงหน้า กรณีเลิกจ้างโดยไม่บอกกล่าวล่วงหน้า (มาตรา 17/1)
  • ค่าจ้าง (มาตรา 70)
  • ค่าทำงานล่วงเวลา (มาตรา 70)
  • ค่าทำงานในวันหยุด (มาตรา 70)
  • ค่าจ้าง 75% กรณีนายจ้างหยุดกิจการชั่วคราวโดยไม่ใช่เหตุสุดวิสัย (มาตรา 75)
  • ค่าชดเชยจากการเลิกจ้าง (มาตรา 118)
  • ค่าชดเชยพิเศษแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า หรือค่าชดเชยพิเศษ (มาตรา 120, 120/1, 121 และมาตรา 122)

หลักการนับเงินเพิ่มกรณีนายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินโดยปราศจากเหตุผลอันสมควร

การนับเงินเพิ่มแตกต่างจากการนับดอกเบี้ยผิดนัด เพราะเงินเพิ่มจะถูกนับเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลา 7 วันนับตั้งแต่วันครบกำหนดจ่ายหรือคืนเงิน โดยเงินเพิ่มจะถูกคิดในอัตรา 15% ทุกระยะเวลา 7 วัน ถ้าคิดเป็นอัตราต่อปีเงินเพิ่มนี้จะมีอัตราสูงถึง 782% ต่อปีเลยทีเดียว

ตัวอย่าง นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้าง 30,000 บาท ภายในวันที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2566 แต่ไม่จ่าย จึงถือว่านายจ้างผิดนัดจ่ายค่าจ้างในวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 และเงินเพิ่มจะถูกคิดเมื่อพ้นกำหนด 7 วันนับตั้งแต่วันครบกำหนดจ่าย (เริ่มนับวันที่ 30 – 6 ) คือ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 ในอัตรา 15% ทุกระยะเวลา 7 วัน แปลว่า นายจ้างต้องจ่ายเงินเพิ่มจำนวน 4,500 บาท ต่อ 7 วันให้ลูกจ้าง หรือคิดเป็นเงินเพิ่มจำนวน 234,642 บาทต่อปี 

แต่เห็นจำนวนเงินเยอะแบบนี้ก็ไม่ได้หมายความว่า ลูกจ้างจะสามารถไปฟ้องเรียกเงินเพิ่มจากนายจ้างได้ทุกคนนะ เพราะลูกจ้างจะต้องพิสูจน์ให้ได้ด้วยว่า นายจ้างจงใจไม่จ่ายเงินโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรจริง ๆ ถ้านายจ้างยังมีเหตุผลอยู่บ้าง เช่น ไม่จ่ายเงินเพราะไม่มีเงินจะจ่าย จ่ายเงินไม่ได้เพราะกิจการล้มละลาย แบบนี้ศาลอาจยังถือว่านายจ้างอย่างมีเหตุผลที่สมควรอยู่ ทำให้ลูกจ้างมีสิทธิ์ได้รับเงินต้นและดอกเบี้ยผิด แต่ไม่มีสิทธิ์ได้รับเงินเพิ่มจากนายจ้าง

ทั้งนี้ ลูกจ้างจะต้องเรียกเงินเพิ่มโดยบรรยายไปในคำฟ้อง และบันทึกคำขอไปในคำขอท้ายฟ้องให้เรียบร้อยตั้งแต่ยื่นฟ้องในศาลชั้นต้นเลยนะ ถ้าสามารถไกล่เกลี่ยกันได้โดยไม่ต้องสืบพยาน ลูกจ้างก็อาจจะได้รับเงินมาจำนวนหนึ่งตามที่ลูกจ้างและนายจ้างสามารถตกลงกันได้ 

และไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ศาลจะพิพากษาให้นายจ้างต้องจ่ายเงินอะไรบ้าง และลูกจ้างจะมีสิทธิ์ได้รับเงินอะไรบ้าง ถ้ามีฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาของศาลชั้นต้น ฝ่ายนั้นก็ยังสามารถยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ในปัญหาข้อกฎหมายได้ แต่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงไม่ได้

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »