รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
ทำงานร่วมกันก็ย่อมมีการกระทบกระทั่งกันบ้าง แต่ปัญหาเล็ก ๆ ที่ไม่รับการแก้ไข หรือไม่ถูกใจเจ้านายหรือหัวหน้างานก็อาจก่อให้เกิดความต้องการไล่พนักงานลาออกให้พ้น ๆ แต่จะทำอย่างไรได้ ในเมื่อบีบให้ลาออกด้วยวิธีทั่วไป เช่น ให้งานยาก ๆ จับผิด ทวงบุญคุณ ไม่พูดคุยด้วย เย็นชาใส่ แต่พนักงานก็ยังทำงานได้ปกติไม่ยอมลาออกซะที และพนักงานก็ไม่ได้ทำความผิดอะไรตามมาตรา 119 พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน 2541
หากไล่ออกก็ต้องจ่ายค่าชดเชย หรืออาจต้องจ่ายค่าบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าเสียหายจากการเลิกจ้างไม่เป็นธรรมด้วย เมื่อคิดดูแล้วการเก็บพนักงานไว้ยิ่งนานเท่าไหร่เงินที่ต้องจ่ายก็มากขึ้นเท่านั้น จึงใช้วิธีที่โหดร้ายมากขึ้นนั่นก็คือ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างเพื่อบีบให้พนักงานทนไม่ไหวจนยอมเขียนใบลาออกด้วยตัวเอง
การเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง คือ การเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญของสัญญาจ้าง หรือข้อตกลงระหว่างลูกจ้างและนายจ้าง เช่น เปลี่ยนแปลงกำหนดจ่ายเงินเดือนแบบถาวร เปลี่ยนแปลงอัตราค่าจ้าง โยกย้ายตำแหน่งงาน เปลี่ยนแปลงวันทำงานจาก 5 วันเป็น 6 วันต่อสัปดาห์ เปลี่ยนจากรายวันเป็นรายเดือน เปลี่ยนจากรายเดือนเป็นตามผลงาน เปลี่ยนแปลงสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างจะได้รับ เป็นต้น
นายจ้างมีอำนาจบังคับบัญลูกจ้าง แต่นายจ้างเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณกับลูกจ้างเองฝ่ายเดียวไม่ได้ เพราะกฎหมายกำหนดให้นายจ้างต้องยื่นข้อเสนอและให้ลูกจ้างยินยอมด้วยจึงจะเปลี่ยนแปลงได้ ตามหลักสัญญาผูกพันคู่สัญญาต้องยึดถือและปฏิบัติตาม ( pacta sunt servanda )
แต่ถ้าเป็นการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น เป็นการเปลี่ยนแปลงที่เป็นประโยชน์กับลูกจ้าง เช่น ประกาศจ่ายเงินในวันลาป่วยจาก 30 วันต่อปี เป็น 60 วันต่อปี แบบนี้นายจ้างทำเองฝ่ายเดียวได้เลย กฎหมายไม่ได้ห้ามแต่ยังอนุญาตให้ทำได้ด้วย ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 20 ที่ระบุไว้ว่า
“เมื่อข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างมีผลใช้บังคับแล้ว ห้ามมิให้นายจ้าง ทําสัญญาจ้างแรงงานกับลูกจ้างขัดหรือแย้งกับข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง เว้นแต่สัญญาจ้างแรงงานน้ันจะเป็นคุณแก่ลูกจ้างยิ่งกว่า”
นายจ้างลดเงินเดือนพนักงานโดยพละการนั้นเป็นเรื่องที่ผิด! แล้วจะทำอะไรได้บ้างล่ะ
เจอแบบนี้หลายคนก็คงเซ็งหรือจิตตกไปเลย แต่ช้าก่อนเพราะยังมีคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ดูแลเรื่องนี้อยู่
ฟ้องศาลด้วยตัวเองได้ ไม่ต้องจ้างทนาย!
JusThat บริการฟ้องด้วยตัวเอง
ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท
ประหยัดค่าทนายความได้หลายหมื่นบาท
รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์
พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ
รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp
Bangkok, Thailand
Line @justhatapp