1

JusThat

ผู้สืบสันดาน คือใคร

ผู้สืบสันดาน คือ ทายาท แต่ทายาทไม่ได้มีแต่ผู้สืบสันดาน เพราะทายาทแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ทายาทโดยธรรมและทายาทโดยพินัยกรรม ซึ่งทายาทโดยธรรมแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือทายาทโดยธรรมที่เป็นญาติ 6 ลำดับ และทายาทโดยธรรมที่เป็นคู่สมรส และในทายาทโดยธรรม 6 ลำดับ มีทายาทโดยธรรมที่เป็นผู้สืบสันดานอยู่ลำดับที่ 1 ซึ่งแบ่งออกเป็น ผู้สืบสันดานชั้นลูก ผู้สืบสันดานชั้นหลาน ผู้สืบสันดานชั้นเหลน ผู้สืบสันดานชั้นโหลน และต่อไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะสุดสาย

ในบทความนี้ JusThat จะกล่าวถึงแต่ผู้สืบสันดานชั้นบุตร หรือ ลูก เพราะผู้สืบสันดานชั้นบุตรเป็นชั้นที่ใกล้ชิดสนิทกับเจ้ามรดกมากที่สุด ลูกจึงเป็นผู้ที่มีสิทธิได้รับมรดกก่อนทายาทลำดับอื่นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1629 โดยการใช้หลัก “ญาติสนิทตัดญาติห่าง” ตามมาตรา 1630 และมีสิทธิได้รับมรดกก่อนผู้สืบสันดานชั้นถัดลงไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 1631

     มาตรา 1630 ตราบใดที่มีทายาทซึ่งยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่ยังไม่ขาดสาย แล้วแต่กรณี ในลำดับหนึ่ง ๆ ที่ระบุไว้ในมาตรา 1629 ทายาทผู้ที่อยู่ในลำดับถัดลงไปไม่มีสิทธิในทรัพย์มรดกของผู้ตายเลย

     แต่ความในวรรคก่อนนี้มิให้ใช้บังคับในกรณีเฉพาะที่มีผู้สืบสันดานคนใดยังมีชีวิตอยู่ หรือมีผู้รับมรดกแทนที่กัน แล้วแต่กรณี และมีบิดามารดายังมีชีวิตอยู่ ในกรณีเช่นนั้นให้บิดามารดาได้ส่วนแบ่งเสมือนหนึ่งว่าเป็นทายาทชั้นบุตร

     มาตรา 1631 ในระหว่างผู้สืบสันดานต่างชั้นกันนั้น บุตรของเจ้ามรดกอันอยู่ในชั้นสนิทที่สุดเท่านั้นมีสิทธิรับมรดก ผู้สืบสันดานที่อยู่ในชั้นถัดลงไปจะรับมรดกได้ก็แต่โดยอาศัยสิทธิในการรับมรดกแทนที่

แต่ถ้าลูกเกิดเสียชีวิตไปก่อนพ่อหรือแม่(เจ้ามรดก) แบบนี้ลูกของลูก(หลาน)จึงจะมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่พ่อหรือแม่ของตัวเอง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1639 และกรณีลูกเสียชีวิตหรือถูกกำจัดโดยที่ยังแบ่งมรดกไม่เสร็จ แบบนี้ลูกของลูก(หลาน)จึงจะมีสิทธิรับมรดกโดยการสืบมรดก ตามมาตรา 1629 หรือมาตรา 1607 แล้วแต่กรณี

ผู้สืบสันดานชั้นบุตร ผู้มีสิทธิรับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม

สำหรับผู้สืบสันดานชั้นบุตร หรือ ลูก แบ่งออกได้อีก 3 ประเภท คือ บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย บุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรอง และบุตรบุญธรรม

บุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย

กรณีแม่เป็นเจ้ามรดก ลูกเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายและเป็นทายาทโดยธรรมลำดับที่ 1 ของแม่ผู้ให้กำเนิดเสมอ  

กรณีพ่อเป็นเจ้ามรดกต้องดูว่าลูกเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ คือ พ่อต้องจดทะเบียนสมรสกับแม่ หรือเคยสมรสกับแม่ไม่เกิน 310 วันก่อนลูกเกิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 1536 หรือจดทะเบียนรับรองบุตร จดทะเบียนสมรสกับแม่หลังลูกเกิด หรือศาลสั่งให้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1547  ถ้าลูกเป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายลูกจะเป็นทายาทโดยธรรมด้วย แต่ถ้าไม่ใช่บุตรโดยชอบด้วยกฎหมายจะไม่ถือเป็นทายาทโดยธรรม ยกเว้นมีการรับรองบุตรโดยพฤตินัย

     มาตรา 1536  เด็กเกิดแต่หญิงขณะเป็นภริยาชายหรือภายในสามร้อยสิบวันนับแต่วันที่การสมรสสิ้นสุดลง ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของชายผู้เป็นสามี หรือเคยเป็นสามี แล้วแต่กรณี

     ให้นำความในวรรคหนึ่งมาใช้บังคับแก่บุตรที่เกิดจากหญิงก่อนที่ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลแสดงว่าการสมรสเป็นโมฆะ หรือภายในระยะเวลาสามร้อยสิบวันนับแต่วันนั้น

     มาตรา 1547 เด็กเกิดจากบิดามารดาที่มิได้สมรสกัน จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายต่อเมื่อบิดามารดาได้สมรสกันในภายหลังหรือบิดาได้จดทะเบียนว่าเป็นบุตรหรือศาลพิพากษาว่าเป็นบุตร

บุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรอง

ลูกเป็นบุตรนอกกฎหมายของพ่อ พ่อก็เป็นบิดานอกกฎหมายของลูกเช่นกัน โดยปกติแล้วทั้งบิดานอกกฎหมายและบุตรนอกกฎหมายต่างก็ไม่มีสิทธิและหน้าที่ต่อกัน ลูกไม่จำเป็นต้องดูแลพ่อ พ่อไม่จำเป็นต้องดูแลเลี้ยงดูลูก ลูกไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของพ่อ และพ่อไม่ใช่ทายาทโดยธรรมของลูกเช่นกัน ว่าง่าย ๆ คือ ต่างคนต่างอยู่ได้เลย

ยกเว้นกรณีที่พ่อให้การรับรองโดยพฤตินัย คือ ส่งเสียเลี้ยงดู ให้ใช้นามสกุล เซ็นเอกสารรับรองต่าง ๆ แสดงออกว่าเป็นพ่อและลูกอย่างเปิดเผย เชิดชูว่าเป็นลูกออกหน้าออกตา กรณีนี้จะถือเป็นข้อยกเว้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 1627 ที่กำหนดให้บุตรนอกกฎหมายที่บิดารับรองแล้วเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ดังนั้น บุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรองจึงมีสิทธิ์รับมรดกในฐานะทายาทโดยธรรม

     มาตรา 1627 บุตรนอกกฎหมายที่บิดาได้รับรองแล้วและบุตรบุญธรรมนั้น ให้ถือว่าเป็นผู้สืบสันดานเหมือนกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมาย ตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายนี้

Facebook
Twitter
LinkedIn

บุตรบุญธรรม

บุตรบุญธรรมเป็นผู้สืบสันดานเหมือนบุตรนอกกฎหมายที่บิดาให้การรับรองและบุตรโดยชอบด้วยกฎหมาย ตามมาตรา 1627 แปลว่า บุตรบุญธรรมมีฐานะเป็นทายาทโดยธรรมเหมือนกัน และมีสิทธิ์ได้ส่วนแบ่งมรดกเท่ากับพี่น้องทุกคน แต่พ่อหรือแม่ผู้รับบุตรบุญธรรมต้องจดทะเบียนรับบุตรบุญธรรมให้ถูกต้องตามกฎหมายด้วย การรับบุตรบุญธรรมจึงจะสมบูรณ์ ถ้าไม่มีการจดทะเบียนแต่รับมาเลี้ยงเฉย ๆ แบบนี้กฎหมายไม่ถือเป็นผู้สืบสันดาน ไม่ใช่ทายาทโดยธรรมที่มีสิทธิ์รับมรดก

     มาตรา 1598/27 การรับบุตรบุญธรรมจะสมบูรณ์ต่อเมื่อได้ จดทะเบียนตามกฎหมาย แต่ถ้าผู้จะเป็นบุตรบุญธรรมนั้นเป็นผู้เยาว์ ต้องปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการรับเด็กเป็นบุตรบุญธรรมก่อน

จะเห็นได้ว่า?! คดีลักษณะนี้มีความซับซ้อน
เราแนะนำให้เลือกใช้ทนายความที่มีประสบการณ์
หมดกังวลปัญหาทนายความทิ้งคดี
เช็คค่าใช้จ่ายได้ตั้งแต่ต้นจนจบโดย JusThat 

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. ส่งหลักฐานให้ทนายความ
  3. เช็คแนวทางและค่าใช้จ่ายฟรี!
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »