1

JusThat

ทวงหนี้ยุค 4.0 อย่างไรให้ถูกต้องตามพ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ.2558

ด้วยความต้องการเข้าถึงแหล่งเงินทุน สำหรับผู้มีรายได้น้อยหรือไม่อยู่ในหลักเกณฑ์ที่จะกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินในระบบได้ จำเป็นต้องหันไปกู้ยืมหนี้นอกระบบ ซึ่งอาจนำมาสู่การทวงหนี้โหด พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 จึงถูกนำมาบังคับใช้เพื่อให้มีการทวงถามหนี้ที่เหมาะสม และกําหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการทวงถามหนี้ให้อยู่ในขอบเขตที่เป็นธรรมกับทั้งตัวเจ้าหนี้และลูกหนี้ 

 

ผู้ทวงถามหนี้คือใคร ? ทวงหนี้แบบไหนมีความผิดอะไรบ้าง ? กฎหมายนี้บังคับใครกับใคร ? ทวงแบบไหนที่ไม่นับเป็นการทวง ? เราได้นำมารวบรวมไว้ในบทความแล้ว ถ้าพร้อมแล้วก็ไปต่อที่หัวข้อต่อไปเลย

พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ คืออะไร

พระราชบัญญัติการทวงถามหนี้ พ.ศ. 2558 หรือภาษาอังกฤษ Debt Collection Act, B.E. 2558 (2015) ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม พ.ศ. 2558 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2558 เป็นต้นมา โดยมีคณะกรรมการกำกับการทวงถามหนี้ ทำหน้าที่ออกประกาศหรือคำสั่งต่าง ๆ พิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์คําสั่งให้ชําระค่าปรับทางปกครอง และสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนการประกอบธุรกิจการทวงถามหนี้ เป็นต้น

และผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้ต้องจดทะเบียนตามกฎหมายให้ถูกต้องด้วยนะ หากเป็นทนายความจะต้องจดทะเบียนที่สภาทนายความให้ถูกต้องด้วย

วิธีทวงหนี้แบบถูกผิดกฎหมายตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้

ใครบ้างที่อยู่ภายใต้บังคับของ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้

“ผู้ทวงถามหนี้” ตามมาตรา 3 ใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ หมายถึงเจ้าหนี้ทั้งในระบบและเจ้าหนี้นอกระบบ ไม่ว่าหนี้นั้นจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตาม หากเป็นหนี้ที่เกิดจากการค้าหรือธุระปกติจะต้องอยู่ใต้บังคับของ พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ 

  1. บุคคลที่ปล่อยเงินกู้ สินเชื่อเป็นการค้าปกติ
  2. ผู้ประกอบธุรกิจตามกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้บริโภค
  3. ผู้ที่จัดให้มีการเล่นการพนันเป็นปกติ
  4. เจ้าหนี้ที่มีสิทธิ์รับชำระหนี้จากการค้าปกติ หรือธุระปกติ
  5. ผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ ข้อ 1 – 4 และผู้รับมอบอำนาจช่วง
  6. ผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้
  7. ผู้รับมอบอำนาจจากผู้ประกอบธุรกิจทวงถามหนี้

“ผู้ให้สินเชื่อ” คือ บุคคลที่ให้สินเชื่อเป็นทางการค้าปกติ หรือบุคคลซึ่งรับซื้อหรือรับโอนสินเชื่อต่อไปทุกทอด เช่น ธนาคาร เจ้าหนี้ปล่อยเงินกู้นอกระบบ ผู้ให้บริการสินเชื่อ บัตรเครดิต ไฟแนนซ์ เป็นต้น

สินเชื่อ คือ สินเชื่อที่ให้แก่บุคคลธรรมดาโดยการให้กู้ยืมเงิน การให้บริการบัตรเครดิต การให้เช่าซื้อ การให้เช่าแบบลิสซิ่ง และสินเชื่อในรูปแบบอื่นที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน

“ลูกหนี้” คือ ลูกหนี้ที่เป็นบุคคลธรรมดา และผู้ค้ำประกันที่เป็นบุคคลธรรมดา

“ธุรกิจทวงถามหนี้” คือ การรับจ้างทวงถามหนี้ทั้งโดยตรงและโดยอ้อมเป็นปกติธุระ แต่ไม่รวมถึงการทวงถามหนี้ของทนายความที่ดำเนินการแทนลูกความของตัวเอง

ทวงหนี้ได้วันละ 1 ครั้ง ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้

การโทรศัพท์ไปทวงหนี้ที่กู้ยืมเงินกัน แชททางไลน์ แชทผ่านFacebook ไปหาถึงหน้าบ้าน ไม่ว่าจะทวงหนี้แบบไหนก็จะต้องไม่เป็นการรบกวนลูกหนี้จนเกินไป ซึ่งมีการกำหนดหลักเกณฑ์ไว้ใน พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ มาตรา 9 ดังนี้

  • สถานที่ติดต่อ: จะต้องเป็นสถานที่ที่ลูกหนี้ระบุไว้เพื่อการทวงหนี้ แต่หากติดต่อไม่ได้ให้ติดต่อตามภูมิลำเนา ถิ่นที่อยู่ หรือสถานที่ทำงานของลูกหนี้
  • เวลาที่ติดต่อ: วันจันทร์-ศุกร์ ระหว่าง 8.00 น.- 20.00 น. และวันหยุดราชการ 08.00 น.-18.00 น.
  • ความถี่:  ไม่เกิน 1 ครั้ง/วัน
  • เป็นผู้รับมอบอำนาจ : ต้องแจ้งชื่อ นามสกุล หน่วยงานของตัวเองและของเจ้าหนี้ จำนวนหนี้ ถ้าทวงถามต่อหน้าต้องมีหนังสือมอบอำนาจทวงหนี้มาแสดงด้วย
กู้ยืมเงิน เจ้าหนี้ต้องทำ ลูกหนี้ต้องรู้

โทรไม่รับ แชทไม่อ่าน ไม่นับเป็นการทวงหนี้ตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้

ทุกครั้งที่เจ้าหนี้ติดต่อลูกหนี้แล้วลูกหนี้รับรู้ว่ามีการทวงเงิน และมีการทวงถามอย่างชัดเจนจึงจะนับเป็นการทวงถามหนี้ 1 ครั้ง ถ้าหากเจอแบบนี้ยังไม่นับเป็นการทวงหนี้ 

  • โทรไปไม่รับ
  • แชทไปไม่อ่าน
  • รับสายแล้วกดวาง
  • ไม่กดวางแต่คุยเรื่องอื่น
  • ไปหาไม่เจอ

ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.การทวงถามหนี้ มีโทษอย่างไร

การทวงหนี้ต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนของลูกหนี้ และลูกหนี้ทุกคนมีสิทธิขั้นพื้นฐานตามกฎหมาย จึงต้องมีการกำหนดวิธีการทวงหนี้ที่เป็นธรรมให้ชัดเจน พร้อมทั้งมีการกำหนดโทษไว้ด้วย

มาตรา 34 โทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท สำหรับผู้ที่

  • ทวงหนี้นอกเวลา ทวงหนี้เกินวันละ 1 ครั้ง 
  • ทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดเพื่อให้ได้ข้อมูลติดต่อลูกหนี้
  • ติดต่อบุคคลอื่นแต่ไม่แจ้งชื่อ นามสกุล และเจตนาว่าต้องการสอบถามข้อมูลติดต่อลูกหนี้
  • รับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้แต่ไม่แสดงหนังสือมอบอำนาจรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ ไม่ออกใบเสร็จรับชำระหนี้ให้ลูกหนี้
  • เรียกเก็บค่าธรรมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้เกิน 1,000 บาท สำหรับลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างสะสม
  • เรียกเก็บค่าธรรมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้เกิน 50 บาทต่อรอบการทวงหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระ 1 งวด
  • เรียกเก็บค่าธรรมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้เกิน 100 บาทต่อรอบการทวงหนี้ สำหรับลูกหนี้ที่มีหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป หรือ 
  • เรียกเก็บค่าธรรมหรือค่าใช้จ่ายในการทวงหนี้เกิน 400 บาทต่อรอบการทวงหนี้ สำหรับลูกหนี้ประเภทเช่าซื้อรถยนต์ ที่มีหนี้ค้างชำระตั้งแต่ 2 งวดขึ้นไป
  • เสนอ จูงใจให้ลูกหนี้ออกเช็ค ทั้งที่รู้อยู่แล้วว่าลูกหนี้ไม่สามารถชำระได้

มาตรา 39 โทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่

  • ทวงหนี้กับบคคลอื่นนอกจากลูกหนี้และบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้
  • เปิดเผยหนี้ให้คนอื่นนอกจากบุคคลที่ลูกหนี้ระบุไว้รับรู้ ยกเว้นการบอกข้อมูลเท่าที่จำเป็นกับสามี ภรรยา บุพการี หรือผู้สืบสันดานของลูกหนี้ 
  • ส่งเอกสารทวงหนี้แบบเปิดผนึก แสดงข้อความ/โลโก้บนจดหมาย ที่สื่อว่าเป็นการทวงหนี้
  • พูดจา ใช้ภาษาดูหมิ่นลูกหนี้ 
มาตรา 40 โทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 300,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่
  • ส่งเอกสารทวงหนี้โดยแอบอ้างว่ามาจากสำนักกฎหมาย-ทนายความ
  • ทำให้ลูกหนี้เชื่อว่าจะถูกดำเนินคดี ยึด อายัดทรัพย์หรือเงินเดือน

มาตรา 41 โทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือปรับไม่เกิน 500,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ สำหรับผู้ที่

  • ส่งเอกสารแอบอ้างศาล หน่วยงานรัฐเพื่อทวงหนี้ 
  • ข่มขู่ ใช้ความรุนแรง ทำให้เกิดความเสียหายแก่ร่างกาย ทรัพย์สินและชื่อเสียงของลูกหนี้และผู้อื่น

ทวงหนี้แล้วไม่ได้ ต้องใช้กฎหมายเข้าช่วย

สำหรับเจ้าหนี้แล้วการได้เงินคืนเป็นเรื่องที่ดีที่สุด หากลูกหนี้ยอมจ่ายก็ไม่จำเป็นต้องทวงถามบ่อยให้เกิดความบาดหมางกัน แต่หากส่งโนติสไปแล้ว โทรทวงก้แล้ว ไปพบหน้าก็แล้ว ลูกหนี้ก็ไม่ยอมจ่าย จะทำร้ายร่างกาย ทรัพย์สิน คุกคาม ขู่เข็ญเพื่อให้ได้รับชำระหนี้ก็มีความผิดตามกฎหมาย อาจถูกดำเนินคดีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญาเลยก็ได้ การฟ้องศาลเพื่อให้ลูกหนี้เข้าไกล่เกลี่ยชำระหนี้ หรือเพื่อให้ศาลพิพากษาให้ลูกหนี้จ่ายหนี้ให้ ก็เป็นสิทธิของเจ้าหนี้ที่สามารถทำได้เช่นกัน

รู้หรือไม่?! ยื่นฟ้องต่อศาลโดยตรงได้ จะทำให้เรื่องถึงชั้นศาลได้เร็วขึ้น
JusThat ค่าบริการปรึกษาเริ่มต้น 1,500 บาท บริการส่งฟ้องทั้งคดีแพ่งและอาญา

  1. แอดไลน์ @justhatapp
  2. เริ่มต้นทำแบบประเมิน
  3. หากต้องการ ส่งฟ้องได้ทันที
Line-Chat-Portrait

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท

รู้ไว้ใช่ว่า เงินประกันชีวิตไม่ใช่มรดก ไม่ตกทอดสู่ทายาท ตั้งแต่คลอดออกมาและอยู่รอดเป็นทารก คนคนนั้นจะมีสภาพเป็นบุคคล เมื่อมีสภาพบุคคลแล้วจะมีกองทรัพย์

Read More »

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล

พยานหมาย ทำอย่างไรเมื่อได้รับหมายให้ไปเป็นพยานศาล อย่าเพิ่งตกใจ ถ้าคุณได้รับหมายเรียกให้ไปเป็นพยานศาล JusThat ได้นำข้อมูล หลักการปฏิบัติตัวในฐานะพยานศ

Read More »

รับช่วงสิทธิ คืออะไร

รับช่วงสิทธิ คืออะไร รับช่วงสิทธิ คืออะไร มีความสัมพันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้อย่างไร JusThat จะพาไปหาคำตอบและทำความเข้าใจไปพร้อม ๆ กันในบทความนี้เลย

Read More »